ข้ามไปเนื้อหา

ตุ๊กแกบิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตุ๊กแกบิน
ตัวอย่างของตุ๊กแกบินหางแผ่น (P. kuhli)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Lacertilia
อันดับฐาน: Gekkota
วงศ์: Gekkonidae
วงศ์ย่อย: Gekkoninae
สกุล: Ptychozoon
Kuhl & van Hasselt, 1822
ชนิด
8 ชนิด (ดูในเนื้อหา)

ตุ๊กแกบิน (อังกฤษ: Flying geckos, Parachute geckos, Gliding geckos) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในอันดับ Squamata ในวงศ์ตุ๊กแกและจิ้งจก (Gekkonidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ptychozoon

ลักษณะ

[แก้]

มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับจิ้งจกในสกุล Hemidactylus หรือจิ้งจกบ้าน แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย มีจุดเด่น คือ มีแผ่นหนังระหว่างนิ้วเท้าและมีแผ่นหนังด้านข้างลำตัว ใช้สำหรับในการร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่ง ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า ด้วยการแผ่กางแผ่นหนังทั้งหมดออกและลงสู่เป้าหมายด้วยมุมที่น้อยกว่า 40° โดยสามารถร่อนได้ไกลถึง 200 ฟุต หรือ 60 เมตร

ถิ่นที่อยู่

[แก้]

ตุ๊กแกบิน อาศัยอยู่ในป่าดิบและบริเวณที่มนุษย์อยู่อาศัย ส่วนใหญ่พบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของไทย ไปจรดถึงแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย แต่ก็มีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ในภาคเหนือ[1] รวมถึงที่ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในภาคตะวันออก[2] และพื้นที่ป่าสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในภาคอีสานของไทยด้วย[3] ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินแมลงเป็นอาหารหลัก

การจำแนก

[แก้]

พบทั้งสิ้น 8 ชนิด

พบในประเทศไทย 4 ชนิด [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เรื่องเล่าเช้านี้". ช่อง 3. 22 October 2014. สืบค้นเมื่อ 22 October 2014.[ลิงก์เสีย]
  2. "ชาวบ้านฮือฮาพบจิ้งจกประหลาด หางคล้ายม้าน้ำ-จระเข้ ลำตัวมีปีก". ผู้จัดการออนไลน์. 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 2017-07-28.[ลิงก์เสีย]
  3. กันยา, กีรติ; เตาะกระโทก, อภิรัตน์; สายรัมย์, พิทักษ์ (2013-04-19). "ตุ๊กแกบินลายสามแถบ". สวนสัตว์นครราชสีมา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-24. สืบค้นเมื่อ 2017-07-28.
  4. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 118 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  5. "Ptychozoon". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  6. "เทียบตุ๊กแกบินที่พบในประเทศไทย". สยามเอนซิส.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ptychozoon ที่วิกิสปีชีส์