ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศติมอร์-เลสเต

พิกัด: 8°33′S 125°34′E / 8.55°S 125.56°E / -8.55; 125.56
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ติมอร์เลสเต)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต

República Democrática de
Timor-Leste
(โปรตุเกส)
Repúblika Demokrátika
Timór-Leste
(เตตุน)
คำขวัญ"เอกภาพ การกระทำ ความก้าวหน้า"
(โปรตุเกส: Unidade, Acção, Progresso;
เตตุน: Unidade, Asaun, Progresu)
ที่ตั้งของติมอร์-เลสเต
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดิลี
8°33′S 125°34′E / 8.55°S 125.56°E / -8.55; 125.56
ภาษาราชการ
ภาษาประจำชาติ
ภาษาปฏิบัติการ
ศาสนา
(สำมะโน ค.ศ. 2015)[1]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี[2]
ฌูแซ รามุช-ออร์ตา
ตาอูร์ มาตัน รูอัก
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช 
คริสต์ศตวรรษที่ 16
• ประกาศเอกราช
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1976
25 ตุลาคม ค.ศ. 1999
• ฟื้นฟูเอกราช
20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002
พื้นที่
• รวม
15,007[3] ตารางกิโลเมตร (5,794 ตารางไมล์) (อันดับที่ 154)
น้อยมาก
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
1,340,513 (อันดับที่ 153)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2015
1,183,643[4]
78 ต่อตารางกิโลเมตร (202.0 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
5.315 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4,031 ดอลลาร์สหรัฐ[5]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
1.920 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
1,456 ดอลลาร์สหรัฐ[5]
จีนี (ค.ศ. 2014)Steady 28.7[6]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)ลดลง 0.606[7]
ปานกลาง · อันดับที่ 141
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐb (USD)
เขตเวลาUTC+9 (TLT)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+670
รหัส ISO 3166TL
โดเมนบนสุด.tlc
เว็บไซต์
timor-leste.gov.tl
  1. "ภาษาประจำชาติ" อีก 15 ภาษาได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ
  2. นอกจากนี้ยังใช้เหรียญเซ็งตาวู
  3. .tp ยกเลิกการใช้แล้ว

ติมอร์-เลสเต,[8] ตีโมร์-แลชต์[8] (โปรตุเกส: Timor-Leste, ออกเสียง: [tiˈmoɾ ˈlɛʃtɨ]) หรือ ติมอร์ตะวันออก (เตตุน: Timór Lorosa'e)[9] มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยตีโมร์-แลชต์ (โปรตุเกส: República Democrática de Timor-Leste;[10] เตตุน: Repúblika Demokrátika Timór-Leste)[9][11] เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[12] ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย

แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า ตีโมร์-แลชต์ ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส มีดอกไม้ประจำชาติคือดอกกุหลาบ

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ชายฝั่งทาซิโตลู

ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา ของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเทศบาลโอเอกูซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย

ภูมิอากาศ

[แก้]

ประเทศติมอร์-เลสเตมีเพียงสองฤดูเช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝนและฤดูร้อน ภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อาณานิคมโปรตุเกส

[แก้]

ดินแดนติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520)

การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราช

[แก้]
การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย

ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 ริมทะเลกรุงดิลี โดยผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายชานานา กุฌเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2548

[แก้]

ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์-เลสเตเมื่อเดือนเมษายน พ. หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์-เลสเต 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง

การต่อสู้อันรุนแรงทหารที่สนับสนุนรัฐบาลกับทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549[13] แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์-เลสเต ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิมและกบฏติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ[14][15] ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารมายังติมอร์-เลสเตเพื่อปราบปรามความไม่สงบ[16][17]

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรตีลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน[18] เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี[19] ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[20]

การปกครอง

[แก้]

ปัจจุบันประเทศติมอร์-เลสเตมีการปกครองในระบอบของประชาธิปไตย แต่ด้วยความที่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และการรุกรานจากประเทศอื่น เพื่อให้การดำเนินการในติมอร์ตะวันออกเป็นไปโดยสงบ องค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของในติมอร์ตะวันออก (United Nation Mission of Support in East Timor: UNMISET) เป็นหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ในติมอร์-เลสเตให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่แสดงเขตเทศบาลต่าง ๆ ของติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเตแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เทศบาล (โปรตุเกส: município; เตตุน: munisípiu) ดังนี้

  1. กอวาลีมา
  2. ดิลี
  3. เบาเกา
  4. โบโบนารู
  5. มานาตูตู
  6. มานูฟาฮี
  7. ลีกีซา
  8. เลาเต็ง
  9. วีเกเก
  10. เอร์เมรา
  11. โอเอกูซี
  12. ไอนารู
  13. ไอเลอู

เศรษฐกิจ

[แก้]
ตลาดในโลสปาโลส

สถานการณ์เศรษฐกิจ

[แก้]

ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์-เลสเตที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การทำประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์-เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติงานในติมอร์-เลสเต

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]
ท่าอากาศยานประธานาธิบดีนีกูเลา ลูบาตู

เส้นทางคมนาคม

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติประธานาธิบดีนีกูเลา ลูบาตู (Aeroporto Internacional Presidente Nicolau Lobato) เป็นสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียวในติมอร์-เลสเต และท่าเรือติมอร์และท่าเรือดิลี ท่าเรือสำคัญของประเทศ

การศึกษา

[แก้]

การศึกษาของติมอร์-เลสเตเป็นไปตามโครงสร้าง 6-3-3 มีระดับการศึกษาตั้งแต่ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย ทั้งนี้รัฐได้จัดสวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เยาวชนในระดับประถมศึกษา (EDUCATION POLICY AND DATA CENTER, 2012)

ประชากร

[แก้]
งานแต่งงานของชาวติมอร์เชื้อสายจีนแคะ ปี ค.ศ. 2006

ภาษา

[แก้]

ภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์-เลสเต คือ ภาษาเตตุน ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ศาสนา

[แก้]
รูปปั้นพระแม่มารีของศาสนาคริสต์ในกรุงดิลี
ศาสนา จำนวนศาสนิก[21] ร้อยละ
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 191 96.5 %
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ 16,616 คน 2.2 %
นับถือผี/ไสยศาสตร์ 5,883 คน 0.8 %
ศาสนาอิสลาม 616 0.3 %
ศาสนาพุทธ 700000 0.06 %
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 191 คน 0.02 %
อื่น ๆ 616 คน 0.08 %
รวม 741,530 คน 100.00 %

ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศติมอร์-เลสเตนับถือศาสนาคริสต์ โดยแยกเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายโรมันคาทอลิก มีศาสนิกกว่าร้อยละ 96 ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์นั้นมีร้อยละ 2.2 มีส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบซุนนี นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอื่น ๆ[21]

วัฒนธรรม

[แก้]

ประชาชนชาวติมอร์-เลสเตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์-เลสเตนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์-เลสเตนั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nationality, Citizenship, and Religion". Government of Timor-Leste. 25 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2019. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  2. Shoesmith, Dennis (March–April 2003). "Timor-Leste: Divided Leadership in a Semi-Presidential System". Asian Survey. 43 (2): 231–252. doi:10.1525/as.2003.43.2.231. ISSN 0004-4687. OCLC 905451085. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10. The semi-presidential system in the new state of Timor-Leste has institutionalized a political struggle between the president, Xanana Gusmão, and the prime minister, Mari Alkatiri. This has polarized political alliances and threatens the viability of the new state. This paper explains the ideological divisions and the history of rivalry between these two key political actors. The adoption of Marxism by Fretilin in 1977 led to Gusmão's repudiation of the party in the 1980s and his decision to remove Falintil, the guerrilla movement, from Fretilin control. The power struggle between the two leaders is then examined in the transition to independence. This includes an account of the politicization of the defense and police forces and attempts by Minister of Internal Administration Rogério Lobato to use disaffected Falintil veterans as a counterforce to the Gusmão loyalists in the army. The December 4, 2002, Dili riots are explained in the context of this political struggle.
  3. "East Timor Geography". www.easttimorgovernment.com.
  4. "Population by Age & Sex". Government of Timor-Leste. 25 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  5. 5.0 5.1 "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org. สืบค้นเมื่อ 4 May 2019.
  6. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  8. 8.0 8.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  9. 9.0 9.1 "tetun.org". tetun.org.
  10. "Constituição da República Democrática de Timor" (PDF). Government of Timor-Leste. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
  11. "Konstituisaun Repúblika Demokrátika Timór-Leste" (PDF). Government of Timor-Leste. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
  12. CIA (29 November 2012). "East and Southeast Asia:Timor-Leste". The World Factbook. Washington, DC:Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 16 December 2012.
  13. http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5012640.stm
  14. http://www.smh.com.au/news/world/australia-cant-find-timor-leaders/2006/05/25/1148524816847.html
  15. http://www.rte.ie/news/2006/0525/easttimor.html
  16. http://www.iol.co.za/index.php?set_id=1&click_id=3&art_id=qw1148547965206B254
  17. http://www.rte.ie/news/2006/0525/easttimor.html
  18. http://www.smh.com.au/news/world/timor-pm-likely-to-resign-tomorrow/2006/06/21/1150845238271.html
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-09. สืบค้นเมื่อ 2006-07-11.
  20. http://www.abc.net.au/news/newsitems/200607/s1681879.htm
  21. 21.0 21.1 "Statistisches Amt Timor-Leste Census 2004". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Cashmore, Ellis (1988). Dictionary of Race and Ethnic Relations. New York: Routledge. ASIN B000NPHGX6
  • Charny, Israel W. Encyclopedia of Genocide Volume I. Denver: Abc Clio.
  • Dunn, James (1996). East Timor: A People Betrayed. Sydney: Australian Broadcasting Corporation.
  • Durand, Frédéric (2006). East Timor: A Country at the Crossroads of Asia and the Pacific, a Geo-Historical Atlas. Chiang Mai: Silkworm Books. ISBN 9749575989.
  • Groshong, Daniel J (2006). Timor-Leste: Land of Discovery. Hong Kong: Tayo Photo Group. ISBN 988987640X.
  • Gunn, Geoffrey C. (1999). Timor Loro Sae: 500 years. Macau: Livros do Oriente. ISBN 972-9418-69-1.
  • แม่แบบ:HD of East Timor
  • Hägerdal, Hans (2012), Lords of the Land, Lords of the Sea; Conflict and Adaptation in Early Colonial Timor, 1600–1800. Oapen.org
  • Kingsbury, Damien; Leach, Michael (2007). East Timor: Beyond Independence. Monash Papers on Southeast Asia, no 65. Clayton, Vic: Monash University Press. ISBN 9781876924492.
  • Hill, H; Saldanha, J, บ.ก. (2002). East Timor: Development Challenges for the World's Newest Nation. London: Palgrave Macmillan UK. ISBN 978-0-333-98716-2.
  • Leach, Michael; Kingsbury, Damien, บ.ก. (2013). The Politics of Timor-Leste: Democratic Consolidation After Intervention. Studies on Southeast Asia, no 59. Ithaca, NY: Cornell University, Southeast Asia Program Publications. ISBN 9780877277897.
  • Levinson, David. Ethnic Relations. Denver: Abc Clio.
  • Molnar, Andrea Katalin (2010). Timor Leste: Politics, History, and Culture. Routledge Contemporary Southeast Asia series, 27. London; New York: Routledge. ISBN 9780415778862.
  • Rudolph, Joseph R. Encyclopedia of Modern Ethnic Conflicts. Westport: Greenwood P, 2003. 101–106.
  • Shelton, Dinah. Encyclopedia of Genocide and Crimes Against Humanity. Thompson Gale.
  • Taylor, John G. (1999). East Timor: The Price of Freedom. Australia: Pluto Press. ISBN 978-1-85649-840-1.
  • Viegas, Susana de Matos; Feijó, Rui Graça, บ.ก. (2017). Transformations in Independent Timor-Leste: Dynamics of Social and Cultural Cohabitations. London: Routledge. ISBN 9781315534992.
  • East Timor: a bibliography, a bibliographic reference, Jean A. Berlie, launched by PM Xanana Gusmão, Indes Savantes editor, Paris, France, published in 2001. ISBN 978-2-84654-012-4, ISBN 978-2-84654-012-4.
  • East Timor, politics and elections (in Chinese)/ 东帝汶政治与选举 (2001–2006): 国家建设及前景展望, Jean A. Berlie, Institute of Southeast Asian Studies of Jinan University editor, Jinan, China, published in 2007.
  • Mats Lundahl and Fredrik Sjöholm. 2019. The Creation of the East Timorese Economy. Springer.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป