ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลเชียงงา

พิกัด: 15°03′35.2″N 100°32′23.2″E / 15.059778°N 100.539778°E / 15.059778; 100.539778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเชียงงา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Chiang Nga
อดีตสถานีรถไฟห้วยแก้ว
ประเทศไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอบ้านหมี่
พื้นที่
 • ทั้งหมด16.04 ตร.กม. (6.19 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,485 คน
 • ความหนาแน่น177.43 คน/ตร.กม. (459.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15110
รหัสภูมิศาสตร์160620
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงงา
อบต.เชียงงาตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี
อบต.เชียงงา
อบต.เชียงงา
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงงา
พิกัด: 15°03′35.2″N 100°32′23.2″E / 15.059778°N 100.539778°E / 15.059778; 100.539778
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอบ้านหมี่
พื้นที่
 • ทั้งหมด16.04 ตร.กม. (6.19 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด2,846 คน
 • ความหนาแน่น177.43 คน/ตร.กม. (459.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06160603
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 59 หมู่ 7 ตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110
เว็บไซต์www.chiangnga.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงงา เป็นตำบลในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายเหนือผ่าน โดยเป็นที่ตั้งของอดีตสถานีรถไฟห้วยแก้ว และยังเป็นที่ตั้งของวัดเชียงงาสง่างามสร้างโดยชาวไทยพวนที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[2][3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลเชียงงา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[4]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสายห้วยแก้ว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านหมี่ และตำบลโพนทอง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลสนามแจง และตำบลมหาสอน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลไผ่ใหญ่

ประวัติ

[แก้]

เชียงงา เป็นตำบลของอำเภอบ้านหมี่ ต่อมาทางจังหวัดลพบุรีได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ตำบลและหมู่บ้านภายในเขตอำเภอบ้านหมี่ พ.ศ. 2489 ได้แยกพื้นที่หมู่ 11 บ้านคลองสุทธาวาส, หมู่ 12 บ้านท่าตะโก ของตำบลเชียงงา กับหมู่ 7 บ้านห้วยแก้ว, หมู่ 8 บ้านเขาสว่างวงษ์, หมู่ 12 บ้านหมวดศิลา ของตำบลโพนทอง และหมู่ 1 บ้านเขาสาริกา, หมู่ 10 บ้านทุ่งสาธารณ์, หมู่ 11 บ้านแหลมช้างตาย ของตำบลบางพึ่ง รวม 8 หมู่บ้าน ไปตั้งเป็น ตำบลสนามแจง[5]

นอกจากนี้ยังได้โอนพื้นที่หมู่ 13–15 (ในขณะนั้น) ของตำบลเชียงงา ไปขึ้นกับตำบลสายห้วยแก้ว[5]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลเชียงงาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านกลาง
  • หมู่ที่ 2 บ้านวัดโบสถ์
  • หมู่ที่ 3 บ้านราษฎร์ธานี
  • หมู่ที่ 4 บ้านราษฎร์ธานี
  • หมู่ที่ 5 บ้านโพนทอง
  • หมู่ที่ 6 บ้านโพนทอง
  • หมู่ที่ 7 บ้านวัดโบสถ์
  • หมู่ที่ 8 บ้านเชียงงา
  • หมู่ที่ 9 บ้านเชียงงา
  • หมู่ที่ 10 บ้านสว่างอารมณ์

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลเชียงงาเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเชียงงา ในปี พ.ศ. 2517[6] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลเชียงงามี 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 16.04 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,474 คน และ 867 ครัวเรือน[7] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเชียงงาอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงงา[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "วัดเชียงงาสง่างาม". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  3. กรมศิลปากร. "วัดเชียงงาสง่างาม" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2566. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 60 ง): 61–107. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (59 ง): 1378–1379. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2489
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  7. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539