ตำบลเกาะพระทอง
ตำบลเกาะพระทอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Ko Phra Thong |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พังงา |
อำเภอ | คุระบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 159.53 ตร.กม. (61.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 1,001 คน |
• ความหนาแน่น | 6.27 คน/ตร.กม. (16.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 82150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 820603 |
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง | |
---|---|
พิกัด: 9°08′59.7″N 98°17′45.5″E / 9.149917°N 98.295972°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พังงา |
อำเภอ | คุระบุรี |
จัดตั้ง | • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลเกาะพระทอง) • 2540 (อบต.เกาะพระทอง) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 159.53 ตร.กม. (61.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,001 คน |
• ความหนาแน่น | 6.27 คน/ตร.กม. (16.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06820603 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 67 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 82150 |
เว็บไซต์ | kohprathong |
เกาะพระทอง เป็นหนึ่งในสี่ตำบลของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดพังงา มีพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติ 3 อุทยาน และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 เขต ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน[2][3] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์[4][5] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง (เตรียมการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ) และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลเกาะพระทองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลคุระ ตำบลแม่นางขาว และตำบลบางวัน (อำเภอคุระบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลเกาะคอเขา (อำเภอตะกั่วป่า)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
ประวัติ
[แก้]ตำบลเกาะพระทองตั้งอยู่ในอำเภอคุระบุรี มีเกาะพระทองเป็นเกาะหลักซึ่งมีพื้นที่ 96.608 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพังงา มีชุมชน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านปากจก บ้านทุ่งดาบ และบ้านแป๊ะโย้ย เกาะพระทองเกิดจากซากปะการังทับถมกันมาอย่างยาวนานล้านปี จนกระทั่งกลายเป็นเกาะที่มีสภาพภูมิประเทศที่แปลกตาที่มีลักษณะค่อนข้างแบนราบเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเกาะแห่งนี้ ทิศตะวันออกเป็นแนวป่าโกงกาง ทิศตะวันตกเป็นหาดทราย ตั้งขึ้นเป็นตำบลเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2465[6] ขณะนั้นขึ้นการปกครองกับอำเภอเกาะคอเขา จังหวัดตะกั่วป่า ต่อมาได้ยุบจังหวัดตะกั่วป่าเข้ากับจังหวัดพังงา[7] ทำให้ท้องที่ตำบลเกาะพระทองย้ายขึ้นกับจังหวัดพังงา
ใน พ.ศ. 2481 จังหวัดพังงาได้สั่งยุบอำเภอเกาะคอเขาลงเป็นกิ่งอำเภอ[8] และย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไปอยู่บนแผ่นดินใหญ่ในเขตตำบลคุระ[9] และเปลี่ยนชื่อเป็น "กิ่งอำเภอคุระบุรี"[10] และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอคุระบุรีในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518[11] ท้องที่ตำบลเกาะพระทองจึงมีฐานะเป็นตำบลลำดับที่ 3 ของอำเภอคุระบุรีจนถึงปัจจุบัน นอกจากเกาะพระทอง ในพื้นที่ตำบลยังเป็นที่ตั้งของหมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน จนชาวโลกยกย่องให้หมู่เกาะแห่งนี้มีความงดงามติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลเกาะพระทองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านทุ่งดาบ | (Ban Thung Dap) | ||
หมู่ที่ 2 | บ้านท่าแป๊ะโย้ย | (Ban Tha Pae Yoi) | ||
หมู่ที่ 3 | บ้านเกาะระ | (Ban Ko Ra) | ||
หมู่ที่ 4 | บ้านปากจก | (Ban Pak Chok) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลเกาะพระทองมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทองทั้งหมด เดิมเป็นสภาตำบลเกาะพระทองที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[12] และมีประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทองในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[13] โดยมีผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2540 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศไทย
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลเกาะพระทองประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 1,001 คน แบ่งเป็นชาย 521 คน หญิง 480 คน (เดือนธันวาคม 2564)[14] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอคุระบุรี
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[15] | พ.ศ. 2563 [16] | พ.ศ. 2562[17] | พ.ศ. 2561[18] | พ.ศ. 2560[19] | พ.ศ. 2559[20] | พ.ศ. 2558[21] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปากจก | 423 | 417 | 403 | 394 | 386 | 375 | 391 |
ท่าแป๊ะโย้ย | 300 | 308 | 311 | 307 | 319 | 312 | 311 |
ทุ่งดาบ | 181 | 183 | 187 | 195 | 197 | 182 | 183 |
เกาะระ | 97 | 101 | 100 | 106 | 108 | 106 | 92 |
รวม | 1,001 | 1,009 | 1,001 | 1,002 | 1,010 | 975 | 977 |
อุทยานแห่งชาติ
[แก้]- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี) ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน เป็นหมู่เกาะแรกแห่งน่านน้ำทะเลอันดามันของไทยที่ไม่อยู่ติดกับชายทะเลฝั่งไทย อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า ทางเหนือติดกับหมู่เกาะคริสตีของประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ เกาะกลาง เกาะรีและ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือ กองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524[4][5] เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ หรือ 128 [ตารางกิโลเมตร ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2525[2][3] และคำว่า สิมิลัน เป็นภาษามลายูแปลว่า "เก้า" หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเรย์ ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ
รายชื่อเกาะในเขตตำบล
[แก้]ตำบลเกาะพระทองมีเกาะหลักคือเกาะพระทอง ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 96.608 ตารางกิโลเมตร และเกาะเล็ก ๆ อีก 31 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง (เตรียมการ) ทุกเกาะมีพื้นที่รวม 159.537 ตารางกิโลเมตร[22]
ที่ | ชื่อเกาะ | ตำบล | พื้นที่
(ตร.กม.)[23] |
หน่วยงานรับผิดชอบ[23] |
---|---|---|---|---|
1 | ลูกตุ้ม | เกาะพระทอง | 0.007 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
2 | ห้างสูง | เกาะพระทอง | 0.009 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง |
3 | พ่อตา | เกาะพระทอง | 0.032 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
4 | ไชยา | เกาะพระทอง | 0.033 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง |
5 | กลาง | เกาะพระทอง | 0.034 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
6 | ปาหยัน | เกาะพระทอง | 0.043 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
7 | กลาง | เกาะพระทอง | 0.045 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
8 | รังนก | เกาะพระทอง | 0.055 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
9 | หอย | เกาะพระทอง | 0.058 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
10 | กลอย | เกาะพระทอง | 0.066 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
11 | อำพัน | เกาะพระทอง | 0.080 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
12 | ห้า | เกาะพระทอง | 0.097 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
13 | กลาง | เกาะพระทอง | 0.132 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
14 | ถ้วย | เกาะพระทอง | 0.157 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
15 | สต๊อร์ค | เกาะพระทอง | 0.163 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ |
16 | บอน | เกาะพระทอง | 0.202 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
17 | ปาจุมบา | เกาะพระทอง | 0.323 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ |
18 | ชาด | เกาะพระทอง | 0.407 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
19 | ปายู | เกาะพระทอง | 0.416 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
20 | บางปิหลัง | เกาะพระทอง | 0.490 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง |
21 | ตอรินลา | เกาะพระทอง | 0.598 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ |
22 | บางู | เกาะพระทอง | 0.672 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
23 | ปายัง | เกาะพระทอง | 0.708 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
24 | เมียง | เกาะพระทอง | 0.712 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
25 | หูยง | เกาะพระทอง | 0.977 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
26 | ตาชัย | เกาะพระทอง | 1.400 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
27 | สิมิลัน | เกาะพระทอง | 3.789 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน |
28 | สุรินทร์ใต้ | เกาะพระทอง | 8.761 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ |
29 | ทุ่งทุ | เกาะพระทอง | 9.134 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
30 | สุรินทร์เหนือ | เกาะพระทอง | 14.190 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ |
31 | ระ | เกาะพระทอง | 19.139 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
32 | พระทอง | เกาะพระทอง | 96.608 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (123 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-21. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2525
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา พ.ศ. ๒๕๔๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (65 ก): 21–23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2541
- ↑ 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (112 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-9. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
- ↑ 5.0 5.1 "พระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (31 ก): 36–38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 521. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2465
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1840–1842. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2481
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะคอเขา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (116 ง): 2935. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2507
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2511
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (166 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดพังงา". สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 23.0 23.1 "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)