ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลสิงห์ (อำเภอไทรโยค)

พิกัด: 14°01′21.4″N 99°15′34.2″E / 14.022611°N 99.259500°E / 14.022611; 99.259500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลสิงห์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sing
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
ประเทศไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอไทรโยค
พื้นที่
 • ทั้งหมด87.00 ตร.กม. (33.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด5,313 คน
 • ความหนาแน่น61.07 คน/ตร.กม. (158.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71150
รหัสภูมิศาสตร์710203
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์
อบต.สิงห์ตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี
อบต.สิงห์
อบต.สิงห์
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์
พิกัด: 14°01′21.4″N 99°15′34.2″E / 14.022611°N 99.259500°E / 14.022611; 99.259500
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอไทรโยค
จัดตั้ง • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลสิงห์)
 • 30 มกราคม 2539 (อบต.สิงห์)
พื้นที่
 • ทั้งหมด87.00 ตร.กม. (33.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด5,313 คน
 • ความหนาแน่น61.07 คน/ตร.กม. (158.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06710209
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 15 หมู่ที่ 1 ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150
เว็บไซต์www.singsaiyok.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สิงห์ เป็น 1 ใน 7 ตำบลของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์และโบราณสถานเมืองครุฑ ที่ได้รับอิทธิพลจากขอมเพียงแห่งเดียวทางภาคตะวันตกของประเทศไทย และมีทางรถไฟสายมรณะผ่านพื้นที่โดยมีสถานีสำคัญคือ สถานีรถไฟท่ากิเลน

ปราสาทเมืองสิงห์
สถานีรถไฟท่ากิเลน

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลสิงห์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ

[แก้]

เมืองสิงห์เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่แท้จริงชื่อเมืองสิงห์ได้ปรากฏขึ้นในศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1700-1800) แล้ว ในศิลาจารึกหลักนั้นได้กล่าวถึงชื่อเมืองต่าง ๆ ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่ง ศรีชัยสิงห์บุรี คือเมืองสิงห์ อันเป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองสิงห์[ต้องการอ้างอิง] โดยพระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองสิงห์ขึ้นมาใหม่ โดยมีฐานะเป็นเพียงเมืองด่านเล็กที่มีเจ้าเมืองปกครองและขึ้นอยู่กับเมืองกาญจนบุรี แต่เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่กันดาร เจ้าเมืองจึงไม่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่แต่ทว่าไปที่บ้านโป่งและส่งหมวดลาดตระเวนไปคอยตรวจตราเป็นประจําเจ้าเมือง จะขึ้นไปบัญชาการที่เมืองนี้กรณีฉุกเฉินบางครั้งบางคราวเท่านั้น ต่อมาเมื่อถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามแก่เจ้าเมืองที่ครองเมืองด่านเล็ก ๆ ตามลําน้ําแควน้อยใหม่ทั้งหมด เช่น พระราชทานนามเจ้าเมืองไทรโยคว่า พระนิโครธาภิโยค พระราชทานนามเจ้าเมืองตะกั่วป่าว่าพระชินดิษฐบดี ส่วนเจ้าเมืองสิงห์ได้รับพระราชทานนามว่าพระสมิงสิงห์บุรินทร์ เมืองสิงห์ดํารงฐานะเป็นเมืองด่านเรื่อยมาจนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ เมืองสิงห์จึงได้ลดฐานะลงเป็น "ตำบลเมืองสิงห์"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 จากตำบลเมืองสิงห์เป็นตำบลชื่อ "ตำบลแม่กระบาล" เป็น 1 ใน 3 ตำบลที่อำเภอไทรโยค ต่อมาไทรโยคได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2449 ขึ้นกับอำเภอสังขละบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอทองผาภูมิ)[2][3] ในปี พ.ศ. 2467 ได้ยุบอำเภอสังขละบุรีลงเป็นกิ่งและตั้งอำเภอวังกะขึ้นแทน จึงให้โอนกิ่งอำเภอไทรโยคไปขึ้นกับอำเภอวังก (ปัจจุบันคืออำเภอสังขละบุรี)[4] และให้ที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยคมาที่ตำบลแม่กระบาล

จนถึงปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอวังกะ จากตำบลแม่กระบาล ไปตั้งที่บ้านวังโพ ตำบลลุ่มสุ่ม ในท้องที่กิ่งเดียวกันและโอนพื้นที่ตำบลแม่กระบาล จากอำเภอเมืองกาญจนบุรี มาขึ้นกิ่งอำเภอไทรโยค และโอนย้ายกิ่งอำเภอไทรโยค ของอำเภอวังกะ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี[5] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อตำบลแม่กระบาล เป็น "ตำบลสิงห์"[6] เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงของท้องที่

ตำบลสิงห์มีพื้นที่ขนาดกว้างขวางมาก จึงมีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นตำบลต่าง ๆ โดยวันที่ พ.ศ. 2518 ทางราชการได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยโอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านบ้องตี้บน ตำบลสิงห์ ไปขึ้นกับตำบลลุ่มสุ่ม และตั้งเป็นหมู่ 5 บ้านบ้องตี้บน ของตำบลลุ่มสุ่ม[7] และแยกตั้งเป็น "ตำบลบ้องตี้" ในปี พ.ศ. 2519[8] และวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ได้แยกพื้นที่หมู่ 2 บ้านท่ามะเดื่อ หมู่ 3 บ้านยางโทน หมู่ 5 บ้านหินดาด และหมู่ 10 บ้านหนองศรีมงคล (เดิม) ของตำบลสิงห์ จัดตั้งเป็น "ตำบลศรีมงคล"[9]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลสิงห์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านปากกิเลน (Ban Pak Kilen)
หมู่ที่ 2 บ้านวังสิงห์ (Ban Wang Sing)
หมู่ที่ 3 บ้านหนองปลาไหล (Ban Nong Pla Lai)
หมู่ที่ 4 บ้านหนองปรือ (Ban Nong Pruea)
หมู่ที่ 5 บ้านพุไม้แดง (Ban Phu Mai Daeng)
หมู่ที่ 6 บ้านท่าตาเสือ (Ban Tha Ta Suea)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่ตำบลสิงห์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิงห์ทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลสิงห์ที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[10] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[11]

ประชากร

[แก้]

พื้นที่ตำบลสิงห์ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 5,313 คน แบ่งเป็นชาย 2,666 คน หญิง 2,647 คน (เดือนธันวาคม 2565)[12] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอไทรโยค

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[13] พ.ศ. 2564 [14] พ.ศ. 2563[15] พ.ศ. 2562[16] พ.ศ. 2561[17] พ.ศ. 2560[18] พ.ศ. 2559[19]
ปากกิเลน 1,308 1,308 1,325 1,317 1,309 1,323 1,325
พุไม้แดง 1,110 1,070 1,052 988 879 620 602
วังสิงห์ 938 935 934 924 914 922 892
หนองปรือ 849 852 857 873 879 889 892
ท่าตาเสือ 685 686 676 682 690 694 678
หนองปลาไหล 423 426 420 402 408 411 425
รวม 5,313 5,277 5,264 5,186 5,079 4,859 4,814

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ และย้ายอำเภอสังขละบุรีมาตั้งที่เมืองท่าขนุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (53): 1332. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2449
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ ย้ายที่ว่าการอำเภอสังขละมาตั้งที่ท่าขนุน คงเรียงว่าอำเภอสังขละและที่ว่าการอำเภอสังขละเดิม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่ากิ่งอำเภอวังกะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (5): 92. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
  4. "ประกาศ เรื่อง จัดการเปลี่ยนแปลงอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 75–76. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2467
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค และเปลี่ยนแปลงเขตต์อำเภอและเขตต์ตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1912–1913. วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479
  6. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 354–363. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (24 ง): 343–344. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (140 ง): 3131–3133. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2475–2481. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  19. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.