ตำบลสระ
ตำบลสระ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Sa |
วัดท่าฟ้าใต้ อยู่ที่บ้านฟ้าสีทอง ตำบลสระ จังหวัดพะเยา บนเส้นทางสายปง-เชียงม่วน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2311 โดยครูธรรมเสนา และพ่อเฒ่าแสนอัฐิ ผู้นำชาวไทลื้อซึ่งอพยพมาจากสิบสองปันนา | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา |
อำเภอ | เชียงม่วน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 354.00 ตร.กม. (136.68 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 6,042 คน |
• ความหนาแน่น | 17.06 คน/ตร.กม. (44.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 56160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 560403 |
องค์การบริหารส่วนตำบลสระ | |
---|---|
พิกัด: 18°55′38.8″N 100°13′24.0″E / 18.927444°N 100.223333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา |
อำเภอ | เชียงม่วน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 354.00 ตร.กม. (136.68 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 6,042 คน |
• ความหนาแน่น | 17.06 คน/ตร.กม. (44.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06560403 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 161 หมู่ที่ 4 ถนนเชียงม่วน-พะเยา ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา 56160 |
เว็บไซต์ | www |
สระ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เป็นที่ตั้งของวัดท่าฟ้าใต้ ซึ่งสร้างตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลสระ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปง และตำบลขุนควร อำเภอปง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับสะเนียน อำเภอเมืองน่าน และตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง (จังหวัดน่าน)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง (จังหวัดน่าน) และตำบลเชียงม่วน ตำบลบ้านมาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้
ประวัติ
[แก้]ตำบลสระ เป็นตำบลที่มีตำนานว่า เมื่อปี พ.ศ. 2343 (ประมาณ 70–80 ปีก่อน พ.ศ. 2427) คือ ประมาณ 135 ปีมาแล้ว (2552) มีเรื่องเล่าว่าเจ้าเมืองน่านและเจ้าเมืองพะเยา มีการติดต่อค้าขายกัน โดยใช้เส้นทางจากจังหวัดน่าน-บ้านสวด ถึงเชียงม่วนและต่อไปอำเภอดอกคำใต้ โดยเมื่อเดินทางสมัยนั้นในบริเวณเขตอำเภอเชียงม่วนจะต้องข้ามแม่น้ำยมและหยุดพักอีก 1 คืน และได้สำรวจพบว่าด้านตะวันตกของแม่น้ำยมสามารถสร้างที่พักอาศัยและเพาะปลูกได้จึงขออนุญาตจากเจ้าเมืองน่านมาตั้งบ้านสร้างเมือง เริ่มแรกมีประมาณกว่าสิบหลังคาเรือน
เดิมพื้นที่ตำบลสระ มีชื่อว่า "ตำบลเมืองสระ"[2] เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านม่วง (อำเภอปง) จังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 กระทรวงมหาดไทยได้ยุบรวมพื้นที่ตำบลเนื่องจากมีตำบลมากเกินไป โดยยุบรวมพื้นที่ตำบลเมืองสระเข้ากับตำบลเชียงม่วน และในอีก 7 ปีต่อมา ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองหมู่ที่ 5-7 ของตำบลเชียงม่วน ออกมาตั้งเป็นตำบลสระ[3] อีกครั้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน ปีเดียวกัน ตำบลสระมีฐานะเป็นตำบลสระ อำเภอปง จังหวัดน่าน
ในวันที่ 30 ธันวาคม 2495 ทางกระทรวงมหาดไทยได้มีเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดแพร่ โดยโอนพื้นที่อำเภอปง (ยกเว้นตำบลสะเอียบและตำบลสวด) จังหวัดน่าน มาขึ้นการปกครองกับจังหวัดเชียงราย[4] ตำบลสระจึงย้ายการปกครองจากจังหวัดน่านเดิม มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย
ต่อมาทางราชการได้แยกพื้นที่ตำบลสระ และตำบลเชียงม่วน ออกจากการปกครองของอำเภอปง ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงม่วน[5] และยกฐานะเป็นอำเภอเชียงม่วนในปี พ.ศ. 2517[6] ตำบลสระจึงมีฐานะเป็นตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2520 ทางราชการได้แยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา[7] จึงมีฐานะเป็นตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
"สระ" คือกิริยาที่มนุษย์ใช้คนข้าว ชุมชนในท้องถิ่นนิยมบริโภคข้าวเหนียวเมื่อข้าวสุกแล้วนำมาใส่ภาชนะที่เรียกว่ากั๊วะ แล้วคนเพื่อให้ข้าวเย็นลง มีเรื่องเล่าว่าเมื่อปู่ฟ้าโง้มหนึ้งข้าวแล้วปลดปง ลง ณ เมืองปง แล้วจึงนำข้าวมา สระ ลงบนภาชนะสำหรับคนข้าวของชนในท้องถิ่น ณ ตำบลบ้านสระ แล้วนำมา สวด คือกิริยาที่นำข้าวมาใส่กระติบจนเต็มแล้วเอามือปาดให้เสมอกัน ณ บ้านสวด เป็นต้น
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลสระแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านท่าฟ้าเหนือ | (Ban Tha Fa Nuea) | หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชียงม่วน | |||
หมู่ 2 | บ้านท่าฟ้าใต้ | (Ban Tha Fa Tai) | หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชียงม่วน | |||
หมู่ 3 | บ้านสระ | (Ban Sa) | หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชียงม่วน | |||
หมู่ 4 | บ้านสระใต้ | (Ban Sa Tai) | - | |||
หมู่ 5 | บ้านทุ่งหนอง | (Ban Thung Nong) | - | |||
หมู่ 6 | บ้านท่าฟ้าหล่าย** | (Ban Tha Fa Lai) | - | |||
หมู่ 7 | บ้านฟ้าใหม่ | (Ban Fa Mai) | - | |||
หมู่ 8 | บ้านราษฎร์พัฒนา | (Ban Rat Phatthana) | - | |||
หมู่ 9 | บ้านนาบัว | (Ban Na Bua) | - | |||
หมู่ 10 | บ้านเหล่าพัฒนา | (Ban Lao Phatthana) | - | |||
หมู่ 11 | บ้านฟ้าสีทอง | (Ban Fa Si Thong) | - | |||
หมู่ 12 | บ้านสระกลาง | (Ban Sa Klang) | - | |||
หมู่ 13 | บ้านห้วยก้างปลา | (Ban Huai Kang Pla) | - |
**ในวันที่ 17 กันยายน 2558 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 6 บ้านหล่าย ตำบลสระ เป็น หมู่ 6 บ้านท่าฟ้าหล่าย[8]
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลสระ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลสระ ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[9] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสระในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[10] จนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 336–341. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๙๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (77 ก): 1440–1441. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2595
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอนตาล อำเภอชาติตระการ อำเภอภูเรือ อำเภอเคียนซา อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอน้ำยืน พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (54 ง): (ฉบับพิเศษ) 30-33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19. วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอนตาล อำเภอชาติตระการ อำเภอภูเรือ อำเภอเคียนซา อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอน้ำยืน พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (54 ง): (ฉบับพิเศษ) 30-33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19. วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
- ↑ "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (98 ง): 141. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 164–165. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539