ตำบลมะม่วงสองต้น
หน้าตา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตำบลมะม่วงสองต้น | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Mamuang Song Ton |
พิกัด: 8°24′10.8″N 99°57′24.5″E / 8.403000°N 99.956806°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | เมืองนครศรีธรรมราช |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 19.105 ตร.กม. (7.376 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[2] | |
• ทั้งหมด | 5,500 คน |
• ความหนาแน่น | 287.88 คน/ตร.กม. (745.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 800114 |
องค์การบริหารส่วนตำบลมะม่วงสองต้น | |
---|---|
คำขวัญ: ชุมชนน่าอยู่ มุ่งสู่คุณธรรม นำการศึกษา พัฒนาด้านอาชีพ | |
พิกัด: 8°24′10.8″N 99°57′24.5″E / 8.403000°N 99.956806°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | เมืองนครศรีธรรมราช |
การปกครอง | |
• นายก | ปราโมทย์ สวนประพัฒน์ |
รหัส อปท. | 06800118 |
ที่อยู่ที่ทำการ | ตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 |
โทรศัพท์ | 0 7531 0550 |
เว็บไซต์ | www |
มะม่วงสองต้น เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 4 กิโลเมตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลมะม่วงสองต้น
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มริมสันทราย ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ในหมู่บ้านถูกน้ำท่วมขัง มีลักษณะเป็นพรุ มีเพียงบางแห่งซึ่งเป็นที่ดอน แต่โดยทั่วไปสภาพภูมิประเทศทั้งสองลักษณะกระจัดกระจายและปะปนกันจนมองไม่ค่อยเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน บางแห่งเป็นเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำมีน้ำท่วมในฤดูฝน ดินส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อละเอียดหรือดินเหนียว บางแห่งพบดินเนื้อหยาบ ขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุต้นกำเนิดดิน และลักษณะตะกอนที่ถูกน้ำจากคลองท่าดีพัดมาทับถม
อาณาเขตติดต่อ
[แก้]ตำบลมะม่วงสองต้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโพธิ์เสด็จ (ติดกับเขตเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับในเมือง (ติดกับเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลไชยมนตรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
หมู่บ้าน
[แก้]ตำบลมะม่วงสองต้นแบ่งออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านในฉาง
- หมู่ที่ 2 บ้านนาสำโรง
- หมู่ที่ 3 บ้านต้นยาง
- หมู่ที่ 4 บ้านสมอชัย
- หมู่ที่ 5 บ้านสามดอน
- หมู่ที่ 6 บ้านคลองลาว
ที่มาของชื่อหมู่บ้าน
[แก้]- 1. บ้านในฉาง ได้มาจากสภาพการใช้พื้นที่ของหมู่บ้านเป็นที่ทำนาและเก็บข้าวเปลือก ไว้ในฉางเพื่อเป็นคลังหรือเสบียงอาหารของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ช่วงรัชกาลที่ 2-3)
- 2. บ้านนาสำโรง ภูมิประเทศของบ้านนาสำโรงเป็นที่ราบลุ่มซึ่งในสมัยโบราณก่อนจะเกิดสันดอนทรายเหมาะสำหรับการทำนาจึงเรียกว่า นาสำโรง
- 3. บ้านต้นยาง เป็นหมู่บ้านที่ 3 ของตำบลมะม่วงสองต้น เป็นหมู่บ้านที่มีต้นยางนาชุกชุม จึงเรียกว่าบ้านตนยาง
- 4. บ้านสมอชัย
- 5. บ้านสามดอน ภูมิประเทศของบ้านสามดอนเป็นที่ลุ่มริมสันทราย ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ในหมู่บ้านถูกน้ำท่วมขัง มีลักษณะเป็นพรุ มีเพียงบางแห่งซึ่งเป็นที่ดอนอยู่สามแห่ง จึงเรียกว่าบ้านสามดอน
- 6. บ้านคลองลาว ในหมู่บ้านมีลำน้ำสองสาย สายหนึ่งเป็นลำน้ำธรรมชาติ คือ คลองท่าดีซึ่งไหลมาจากบ้านคีรีวงอำเภอลานสกา ผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน และกลายเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างบ้านคลองลาวกับบ้านต้นยาง ส่วนอีกสายหนึ่งคือคลองส่งน้ำชลประทานของโครงการชลประทานคลองท่าดี ทำให้หมู่บ้านมีคลองไหลผ่าน จึงเรียกหมู่บ้านว่า บ้านคลองยาว
สาธารณสุข
[แก้]- อนามัยตำบลมะม่วงสองต้น
การศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนประถมศึกษา
- โรงเรียนวัดม่ะม่วงสองต้น
- โรงเรียนวัดราษฎร์ประดิษฐ์
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองลาว
ศาสนสถาน
[แก้]- วัด ตำบลมะม่วงสองต้นมีทั้งหมด 3 วัด คือ
- วัดมะม่วงสองต้น (วัดร้าง)
- วัดราษฎร์ประดิษฐ์
- วัดเตาปูน
- มัสยิด
- มัสยิดนูรุลฮูดา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนตำบลมะม่วงสองต้น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-28. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ตำบลมะม่วงสองต้น". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)