ตำบลพืชอุดม
ตำบลพืชอุดม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Phuet Udom |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปทุมธานี |
อำเภอ | ลำลูกกา |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 25 ตร.กม. (10 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[2] | |
• ทั้งหมด | 4,021 คน |
• ความหนาแน่น | 160.84 คน/ตร.กม. (416.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 12150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 130608 |
พืชอุดม เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณเขตแดนระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองขุดชลประทานหลายสายไหลผ่าน ได้แก่ คลองสิบสาม คลองสิบสี่ และคลองหกวาสายล่าง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่อ้อยและไร่หญ้า) ประมง (เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง) ค้าขาย และทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการของเอกชน[1]
ประวัติ
[แก้]เดิมพื้นที่ตําบลพืชอุดมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลลำไทร จนกระทั่งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศตั้งและกำหนดเขตตำบลในอำเภอลำลูกกา โดยแยกพื้นที่หมู่บ้าน 9 หมู่บ้านทางด้านตะวันออกของตำบลลำไทรออกมาจัดตั้งเป็น ตำบลพืชอุดม และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม ปีเดียวกัน[3] ตำบลใหม่นี้ได้ชื่อมาจากชื่อวัดพืชอุดมซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดราษฎร์ศรัทธาราม" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพืชอุดม" เนื่องจากบริเวณวัดและพื้นที่ใกล้เคียงมีไม้ผล ไม้ดอก และพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์[4]
ตําบลพืชอุดมทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพืชอุดมซึ่งได้รับการยกฐานะจากเดิมที่เป็นสภาตำบลพืชอุดมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539[5]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลพืชอุดมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของอำเภอลำลูกกา ห่างจากตัวอำเภอเป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร[1] มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบึงคอไห (อำเภอลำลูกกา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบึงศาล ตำบลชุมพล (อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก) และตำบลบึงน้ำรักษ์ (อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงคลองสิบสอง (เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลลำไทร (อำเภอลำลูกกา)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ตำบลพืชอุดมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่[1]
- หมู่ที่ 1 บ้านธนารัตน์หรือบ้านคลองสิบสี่
- หมู่ที่ 2 บ้านอุดมสุขหรือบ้านคลองสิบสี่
- หมู่ที่ 3 บ้านศิริพัฒนาหรือบ้านคลองสิบสี่
- หมู่ที่ 4 บ้านอุดมพัฒนาหรือบ้านพืชอุดม
- หมู่ที่ 5 บ้านคลองสิบสาม
- หมู่ที่ 6 บ้านนิเทศพัฒนาหรือบ้านคลองสิบสาม
- หมู่ที่ 7 บ้านคลองสิบสามพัฒนาหรือบ้านคลองสิบสาม
- หมู่ที่ 8 บ้านสมบูรณ์พัฒนาหรือบ้านพืชอุดม
- หมู่ที่ 9 บ้านพืชอุดม
การคมนาคม
[แก้]เส้นทางสายสำคัญที่ใช้สัญจรภายในพื้นที่ตำบลพืชอุดมและเชื่อมต่อกับตำบลอื่น ๆ ได้แก่
- ถนนลำลูกกา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312 สายสนามกีฬาธูปะเตมีย์–คลอง 16)
- ทางหลวงชนบท ปท.3012 สายแยกทางหลวงหมายเลข 305 (กม.ที่ 30+950) – บ้านหนองจอก
- ทางหลวงชนบท ปท.3035 สายแยกทางหลวงหมายเลข 305 (กม.ที่ 31+800) – คลองแสนแสบ
- ทางหลวงชนบท ปท.3011 สายแยกทางหลวงหมายเลข 305 (กม.ที่ 34+000) – บ้านคลองสิบสี่หกวา
- ทางหลวงท้องถิ่น ปท.ถ 55-001 สายแยกทางหลวงหมายเลข 3312 – บ้านคลองสิบสาม ตอนที่ 2
- ทางหลวงท้องถิ่น ปท.ถ 55-002 สายแยกทางหลวงหมายเลข 3312 – บ้านคลองสิบสาม ตอนที่ 1
- ทางหลวงท้องถิ่น ปท.ถ 55-003 สายแยกทางหลวงหมายเลข 3312 – หนองจอก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 องค์การบริหารส่วนตำบลพืชอุดม. "ข้อมูลสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://pheutudomsao.go.th/public/list/data/index/menu/1144 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 3 กันยายน 2563.
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอลำลูกกา". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): 72–76. 15 กันยายน 2532.
- ↑ คมชัดลึก. "'วัดพืชอุดม' บอกบุญซื้อที่ดินขยายวัด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/146360 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 3 กันยายน 2563.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. 30 มกราคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-09-03.