ตำบลทุ่งสัง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตำบลทุ่งสัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Thung Sang |
พิกัด: 8°22′00″N 99°20′32″E / 8.366694°N 99.342233°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | ทุ่งใหญ่ |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 44 ตร.กม. (17 ตร.ไมล์) |
ประชากร (31 ธันวาคม 2563)[2] | |
• ทั้งหมด | 5,717 คน |
• ความหนาแน่น | 129.93 คน/ตร.กม. (336.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 801102 |
เทศบาลตำบลทุ่งสัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Tambon Thung Sang |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | ทุ่งใหญ่ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ว่าง |
รหัส อปท. | 05801106 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งสัง 24/1 หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80240 |
โทรศัพท์ | 075-758630 |
เว็บไซต์ | www |
ตำบลทุ่งสัง เป็นตำบลในอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลทุ่งสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งสังทั้งตำบล
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลทุ่งสังตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอทุ่งใหญ่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งใหญ่ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ 115 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอถ้ำพรรณรา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลทุ่งใหญ่
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลท่ายาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางรูป
หมู่บ้าน
[แก้]ตำบลทุ่งสังประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านโคกวัด
- หมู่ที่ 2 บ้านหน้าเขา
- หมู่ที่ 3 บ้านควนยูง
- หมู่ที่ 4 บ้านวังหิน
- หมู่ที่ 5 บ้านภูเขาหลัก
- หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งสมอ
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองเก้าวา
ประวัติ
[แก้]ตำบลทุ่งสังได้รับการจัดตั้งเป็นตำบล ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 โดยแบ่งหมู่บ้านออกเป็น 6 หมู่บ้าน โดยยังคงรวมพื้นที่ตำบลบางรูปปัจจุบันเข้าด้วยกันคือ
- หมู่ที่ 1 บ้านโคกวัดและบ้านควนสะตอ
- หมู่ที่ 2 บ้านหน้าเขาและบ้านทุ่งสมอ
- หมู่ที่ 3 บ้านควนยูง
- หมู่ที่ 4 บ้านไสหร้าและบ้านหนองหรั่ง
- หมู่ที่ 5 บ้านวังหินและบ้านภูเขาหลัก
- หมู่ที่ 6 บ้านคลองเพรียงและบางรูป
หลังจากนั้นมีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยแบ่งแยกการปกครองออกเป็นตำบลบางรูป ทำให้ตำบลทุ่งสังเหลือพื้นที่ การปกครอง ประชากร น้อยกว่าตำบลบางรูปและได้จัดสรรพื้นที่หมู่บ้านใหม่เป็น 6 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านโคกวัด
- หมู่ที่ 2 บ้านหน้าเขา
- หมู่ที่ 3 บ้านควนยูง
- หมู่ที่ 4 บ้านวังหิน
- หมู่ที่ 5 บ้านภูเขาหลัก
- หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งสมอ
และในปี พ.ศ. 2543 ได้แบ่งแยกเพิ่มขึ้นอีก 1 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองเก้าวา
ต่อมาได้มีการประกาศจัดตั้ง "องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสัง" เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา[3] และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ก็ได้รับการประกาศยกฐานะเป็น "เทศบาลตำบลทุ่งสัง"
ตำนาน
[แก้]ตำบลทุ่งสัง มีตำนานเล่าว่าเคยมีพระยาคนหนึ่ง ชื่อว่า พระยาลอ มีนิสัยชอบล่าไก่ป่า (ไก่เถื่อน) เป็นชีวิตจิตใจ วันหนึ่งท่านได้ออกล่าไก่ป่า (ต่อไก่) โดยได้นำไก่ต่อเป็นไก่ที่ใช้ต่อไก่ป่าให้มาติดกับดัก (อุปกรณ์สำหรับต่อจับไก่ป่า) แล้วท่านได้แอบซ่อนตัวอยู่ใกล้ ๆ เมื่อได้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งยังไม่ทันที่ไก่ป่าจะผ่านมา ก็ปรากฏว่าได้มีมุดสัง (มูสังหรืออีเห็น) เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเสือ แต่ตัวเล็กกว่าเสือชอบกินไก่เป็นอาหารย่องเข้ามาตะครุบไก่ต่อของพระยาลอ เพื่อหมายจะกินเป็นอาหาร พระยาลอเห็นดังนั้นก็โกรธมาก จึงหยิบเอาไม้ทัง ขว้างไปถูกมุดสัง ชักดิ้นกระเสือกกระสน ทุรนทุรายด้วยความเจ็บปวดทำให้ป่าแถบนั้นเตียนโล่งเป็นเนื้อที่กว้างขวาง กลายเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า ทุ่งสัง ส่วนไม้ทังนั้นได้กระเด็นไปกลายเป็นภูเขา เรียกว่า ภูเขาลำทัง หมู่ที่ 2 ตัวมุดสังตายและกลายเป็นภูเขา ใกล้ ๆ กับภูเขาลำทังเรียกว่า ภูเขาสังข์ ไก่ต่อของพระยาลอซึ่งผูกติดอยู่กับหลัก ตายและกลายเป็นภูเขาเรียกว่า ภูเขาหลัก และมีแนวหินจากภูเขาหลักมาถึงภูเขาหินมีลักษณะคล้ายกับหลัก ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเป็นหลักที่พระยาลอใช้ต่อไก่ ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ในปัจจุบัน ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้เป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สภาพทั่วไป". เทศบาลตำบลทุ่งสัง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-11. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ตำบลทุ่งสัง". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับ ประกาศทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 52ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539