ตำบลชะโนด
ตำบลชะโนด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Chanot |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | มุกดาหาร |
อำเภอ | หว้านใหญ่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 9.494 ตร.กม. (3.666 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 2,665 คน |
• ความหนาแน่น | 280.82 คน/ตร.กม. (727.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 49150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 490604 |
เทศบาลตำบลชะโนด | |
---|---|
พิกัด: 16°40′43.8″N 104°44′51.9″E / 16.678833°N 104.747750°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | มุกดาหาร |
อำเภอ | หว้านใหญ่ |
จัดตั้ง | • 15 ตุลาคม 2542 (อบต.ชะโนด) • 30 มีนาคม 2555 (ทต.ชะโนด) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 9.494 ตร.กม. (3.666 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 2,665 คน |
• ความหนาแน่น | 280.82 คน/ตร.กม. (727.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05490602 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 120 หมู่ที่ 1 ตำบลชะโนด อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร 49150 |
โทรศัพท์ | 04 2049 7523 |
โทรสาร | 04 2049 7523 ต่อ 108 |
เว็บไซต์ | chanod |
ชะโนด เป็นตำบลในอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันมีประชากร 2,665 คน และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน
พื้นที่ตำบลชะโนดเป็นพื้นที่มีความสำคัญ แต่เดิมเป็นเมืองพาลุกากรภูมิซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นกับเมืองมุกดาหารแต่ถูกยุบเป็นหมู่บ้านใน พ.ศ. 2442 สมัยรัชกาลที่ 5 และขึ้นกับตำบลชะโนด[1] สภาพสังคมมีโรงเรียนทั้งหมดสองแห่งและมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนึ่งแห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะโนดน้อย
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในตำบลชะโนดประกอบไปด้วย วัดมโนภิรมย์ เป็นวัดริมโขงอายุกว่า 300 ปี วิหารหลังใหญ่ศิลปะล้านช้างงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงเวียงจันทน์ มีลวดลายปูนปั้นและงานแกะสลักไม้อันวิจิตร ช่วงฤดูแล้งหน้าวัดมีหาดทรายสวยงาม นอกจากนี้ก็ยังมีวัดลัฏฐิกวัน และอนุสรณ์บ้านพักอาศัยเดิมของหนูฮัก พูมสะหวัน[2]
ตำบลชะโนดทั้งตำบลอยู่ในเขตเทศบาลตำบลชะโนด เดิมมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชะโนดซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2539[3] แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2555[1] นับเป็นเทศบาลตำบลแห่งที่ 2 ของอำเภอหว้านใหญ่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติและข้อมูลสภาพทั่วไป-เทศบาลตำบลชะโนด". สืบค้นเมื่อ October 28, 2020.
- ↑ "สถานที่สำคัญ-เทศบาลตำบลชะโนด". สืบค้นเมื่อ October 28, 2020.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. 15 ตุลาคม 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.