ตัวสำรอง (ฟุตบอล)
ในฟุตบอล ตัวสำรอง (อังกฤษ: substitute) คือผู้เล่นที่ได้รับการพาลงสนามระหว่างการแข่งเพื่อสับเปลี่ยนกับนักฟุตบอลที่มีอยู่ โดยทั่วไปการเปลี่ยนตัวจะทำเพื่อทดแทนผู้เล่นที่เหนื่อยล้าหรือได้รับบาดเจ็บ หรือผู้ที่ทำผลงานได้ไม่ดี หรือด้วยเหตุผลทางกลยุทธ์ (เช่น การส่งสไตรเกอร์เข้ามาแทนที่กองหลัง) โดยนักฟุตบอลที่รับการเปลี่ยนตัวระหว่างการแข่งจะไม่มีส่วนร่วมในเกมอีกต่อไป ในเกมที่เล่นภายใต้กติกาฟุตบอลของคณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ
ตัวสำรองได้รับการเพิ่มอย่างเป็นทางการในกติกาฟุตบอลเมื่อ ค.ศ. 1958 ซึ่งก่อนหน้านี้เกมส่วนใหญ่เล่นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ โดยมีข้อยกเว้นเป็นครั้งคราวในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือนักฟุตบอลมาการแข่งไม่ตรงเวลา
จำนวนตัวสำรองเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เช่นเดียวกับจำนวนผู้เล่นสำรองที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการเสนอชื่อ โดยเป็นเรื่องปกติที่เกมอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวได้สูงสุด 5 คน ซึ่งการแข่งบางรายการอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวเพิ่มเติมเมื่อเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ[1] อนึ่ง มี "โอกาสในการเปลี่ยนตัว" สูงสุด 3 ครั้งให้แก่แต่ละทีมในช่วงเวลาปกติ และโอกาสพิเศษในช่วงต่อเวลาพิเศษ การเปลี่ยนตัวสามารถทำได้ในช่วงพักครึ่งเวลาระหว่างช่วงปกติและช่วงต่อเวลาพิเศษ รวมถึงช่วงพักเต็มเวลา (ก่อนเริ่มช่วงต่อเวลาพิเศษ) แต่ไม่นับเป็นโอกาสในการเปลี่ยนตัว[2] นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดในการเปลี่ยนตัวเพิ่มเติมนอกเหนือจากขีดจำกัดใด ๆ ก็ตามของแมตช์ที่กำลังดำเนินอยู่ เพื่อใช้สำหรับผู้เล่นที่สมองกระทบกระเทือนโดยเฉพาะ[3]
โดยทีมต่าง ๆ เลือกผู้เล่นสำรองจากชุดตัวสำรองที่เลือกไว้ล่วงหน้า โดยนักฟุตบอลเหล่านี้มักจะนั่งอยู่ในเขตเทคนิคร่วมกับโค้ช และว่ากันว่า "อยู่ตรงม้านั่ง" เมื่อตัวสำรองเข้าสู่สนามแข่ง จะมีการกล่าวว่าได้เข้ามาหรือพามาแล้ว ในขณะที่นักฟุตบอลที่พวกเขากำลังเปลี่ยนตัวกำลังออกมา หรือพามา หรือทดแทน กลุ่มผู้เล่นสำรองนี้ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการแข่งส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันอนุญาตให้สำรองได้ 5, 7 หรือ 9 คน ในขณะที่ในการแข่งระดับนานาชาติ เป็นเรื่องปกติที่ผู้เล่นทุกคนที่ได้รับเลือกในทีมทัวร์นาเมนต์ (ปกติจะมีผู้เล่นทั้งหมด 23 คน) จะเป็นตัวสำรองที่มีสิทธิ์ หากพวกเขาจะไม่ถูกระงับจากเกม
ทั้งนี้ ผู้เล่นที่ได้รับการกล่าวขานว่าลงสนามบ่อยครั้งหรือทำประตูสำคัญในฐานะตัวสำรอง มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ซูเปอร์ซับ" (super sub)
ประวัติ
[แก้]ต้นกำเนิดของตัวสำรองฟุตบอลย้อนกลับไปอย่างน้อยต้นคริสต์ทศวรรษ 1860 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเกมฟุตบอลโรงเรียนรัฐบาลอังกฤษ การใช้คำว่าตัวสำรองเดิมในฟุตบอลคือการอธิบายถึงการแทนที่ผู้เล่นที่ไม่มาเข้าร่วมการแข่ง ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1863 รายงานการแข่งระบุว่า: "ทีมฟุตบอลชาร์เตอร์เฮาส์ลงแข่งในวิหารคดกับคาร์ทูเซียนส์เก่าบางคน แต่ผลจากการไม่ปรากฏตัวของบางคนที่คาดหวังไว้ จึงจำเป็นต้องจัดหาตัวสำรองสามคน"[4] การเปลี่ยนผู้เล่นที่ขาดไปเกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1850 เช่น จากวิทยาลัยอีตัน ซึ่งใช้คำว่าเหตุฉุกเฉิน[5] ทั้งนี้ การอ้างอิงถึงผู้เล่นที่ทำหน้าที่เป็น "ตัวสำรอง" จำนวนมากเกิดขึ้นในการแข่งในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1860[6] โดยไม่ได้ระบุว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการทดแทนผู้เล่นที่หายไปหรือผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างการแข่ง
แม้ว่าการเปลี่ยนตัวผู้เล่นระหว่างการแข่งจะได้รับการเพิ่มเข้าไปในกติกาฟุตบอลเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1958[7] แต่ก่อนหน้านี้ก็มีการบันทึกกรณีต่าง ๆ ที่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นเช่นกัน อย่างการแข่งกระชับมิตรระหว่างสโมสรฟุตบอลแลนเซอล็อตและสโมสรฟุตบอลครอสฮิลที่กลาสโกว์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1875 มีการพบว่าผู้เล่นของแลนเซอล็อตได้รับบาดเจ็บ และทีมครอสฮิล "อนุญาตให้พวกเขาส่งผู้เล่นใหม่ลงสนามแทน"[8] ส่วนการใช้ตัวสำรองในแมตช์การแข่งขันครั้งแรกสุดที่ทราบกันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 เมื่อสโมสรล็อกวูดบราเธอส์ใช้ตัวสำรองในการแข่งเอฟเอคัพรอบแรกนัดรีเพลย์กับสโมสรฟุตบอลนอตส์เรนเจอส์ หลังจากเอฟ. เบรียส์ ผู้เป็นกองกลางได้รับบาดเจ็บที่ขาหัก[9]
การใช้ตัวสำรองครั้งแรกในการแข่งฟุตบอลนานาชาติเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1889 ในแมตช์ระหว่างเวลส์กับสกอตแลนด์ที่เมืองเรกเซิม โดยจิม เทรนเนอร์ ผู้รักษาประตูคนแรกของเวลส์ไม่สามารถมาลงเล่นได้ ทำให้อัลฟ์ พิว ผู้รักษาประตูสมัครเล่นของเวลส์ ลงสนามเป็นตัวจริงและลงเล่นไปประมาณ 20 นาที จนกระทั่งแซม กิลลัม มาถึง และเข้ามาแทนที่เขา[10] ส่วนใน ค.ศ. 1940 ในแมตช์ระหว่างปาเลสไตน์ในอาณัติกับเลบานอน สวี ฟุคส์ ซึ่งเซ็นเตอร์ฮาล์ฟของปาเลสไตน์ในอาณัติได้รับการเปลี่ยนตัวออกในช่วงพักครึ่งจากโลเนีย ดโวริน หลังจากได้รับบาดเจ็บ[11][12] นอกจากนี้ ในช่วงคัดเลือกฟุตบอลโลก 1954 ฮอสท์ เอ็คเคิล จากเยอรมนี ยังได้รับการบันทึกว่าถูกแทนที่โดยริชชาร์ท ก็อทติงเงอร์ ในการแข่งกับซาร์ลันท์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1953[13] ส่วนการใช้ตัวสำรองในการแข่งฟุตบอลโลกนั้นไม่ได้รับอนุญาตจนกระทั่งในการแข่ง ค.ศ. 1970[14]
จำนวนตัวสำรองที่ใช้ได้ในการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากศูนย์ นั่นหมายความว่าในแต่ละทีมจะต้องลดจำนวนผู้เล่นลงหากผู้เล่นได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถลงเล่นได้ โดยใน ค.ศ. 1958 มีตัวสำรองเพียงหนึ่งคนเท่านั้น และใน ค.ศ. 1988 มีตัวสำรองสองคนจากรายชื่อผู้เล่นที่เป็นไปได้ห้าคน ครั้นเมื่อจำนวนตัวสำรองที่เพิ่มขึ้นในภายหลังทำให้จำนวนผู้เล่นสำรองที่สามารถใช้ได้เพิ่มขึ้นเป็นเจ็ดคน[15] จำนวนตัวสำรองเพิ่มขึ้นเป็นสองคนบวกหนึ่งคน (ผู้รักษาประตูที่ได้รับบาดเจ็บ) ใน ค.ศ. 1994[16] แล้วเป็นสามคนใน ค.ศ. 1995[17][18] และมีตัวสำรองคนที่สี่ในรายการแข่งขันบางรายการ (เริ่มตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016) ในช่วงต่อเวลาพิเศษ[19] ครั้นใน ค.ศ. 2020 ตามข้อเสนอของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ฝ่ายจัดการแข่งอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ชั่วคราวไม่เกินห้าคน (โดยอนุญาตให้เปลี่ยนตัวเพิ่มเติมได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ หากมี) ในการแข่งอย่างเป็นทางการในช่วงที่เหลือของปี เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาความแออัดของสถานที่จัดอันเนื่องมาจากการระบาดทั่วของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม จะมีโอกาสในการเปลี่ยนตัวผู้เล่นเพียงสามครั้งเท่านั้น (โดยอาจมีการเพิ่มได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ หากมี)[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fisher, Ben (27 July 2016). "FA announces plans to introduce fourth substitute during extra time of FA Cup". The Guardian.
- ↑ "LAW 3 – The Players". IFAB. สืบค้นเมื่อ Dec 9, 2022.
- ↑ Thompson, Jaylon. "What is FIFA concussion protocol for World Cup 2022?". USA Today. สืบค้นเมื่อ Dec 9, 2022.
- ↑ Bell's Life in London and Sporting Chronicle (London, England), Sunday, February 22, 1863; pg. 7. New Readerships
- ↑ Bell's Life in London and Sporting Chronicle (London, England), Sunday, November 11, 1855; p. 7.
- ↑ Bell's Life in London and Sporting Chronicle (London, England), Saturday, December 17, 1864; Issue 2,226.
- ↑ "History of the Laws of the Game". Fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 5 September 2017.
- ↑ "Crosshill v Lancelot". North British Daily Mail: 6. 8 November 1875.
- ↑ "English Challenge Cup", Athletic News, 10 November 1885, p. 3
- ↑ "Wales 0 Scotland 0". www.londonhearts.com. 15 April 1889. สืบค้นเมื่อ 17 December 2011.
- ↑ Shohat, Elisha (2006). 100 שנות כדורגל: 1906–2006 [100 Years of Football: 1906–2006] (ภาษาฮิบรู). Hod Hasharon. pp. 109–110.
- ↑ "Lebanon outclassed by Palestine selected". The Palestine Post. 30 April 1940. สืบค้นเมื่อ 25 March 2020.
- ↑ "Switzerland 1954 : World Cup Football Host". Topendsports.com. สืบค้นเมื่อ 2009-10-25.
- ↑ "FIFA World Cup: Milestones, facts & figures. Statistical Kit 7" (PDF). FIFA. 26 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 May 2013.
- ↑ Taylor Rash (3 July 2014). "FIFA World Cup: FIFA Considering Fourth Substitution in Extra Time". Guardian Liberty Voice. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ Mark Mitchener (17 June 2014). "World Cup 2014: Golden goals, golf carts and other innovations". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ Mitch Phillips (5 November 2007). "Substitute the subs rule?". Reuters Soccer Blog. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2007. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ History of the Laws of the Game – 1990–2000, FIFA.com.
- ↑ "Regulations in English 2017 Version" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 2017-07-13.
- ↑ "Five substitutes option temporarily allowed for competition organisers". International Football Association Board. 8 May 2020. สืบค้นเมื่อ 9 May 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ตัวสำรองฟุตบอล