ข้ามไปเนื้อหา

ตะพาบนกยูงพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตะพาบนกยูงพม่า
ภาพประกอบโดย Philibert land Berjeau, 1878
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: เต่า
Testudines
อันดับย่อย: อันดับย่อยเต่า
Cryptodira
วงศ์: วงศ์ตะพาบ
Trionychidae
สกุล: สกุลตะพาบนกยูง
Nilssonia
(Gray, 1869)[1]
สปีชีส์: Nilssonia formosa
ชื่อทวินาม
Nilssonia formosa
(Gray, 1869)[1]
ชื่อพ้อง[3]
  • Trionyx formosus Gray, 1869
  • Trionyx peguensis Gray, 1870
  • Nilssonia formosa Gray, 1872
  • Isola peguensis Gray, 1873
  • Trionyx grayii Theobald, 1875
  • Aspidonectes formosus Baur, 1893
  • Isola formosa Hay, 1904
  • Trionyx formosa Gadow, 1923
  • Amyda formosus Mell, 1929
  • Trionyx grayi Smith, 1931 (ex errore)
  • Amyda formosa Mertens, Müller & Rust, 1934
  • Trionyx fomosus Gosławski & Hryniewicz, 1993 (ex errore)
  • Trionyx formosanus Jenkins, 1995 (ex errore)
  • Trionix formosus Richard, 1999

ตะพาบนกยูงพม่า, ตะพาบพม่าลายตา หรือ ตะพาบพม่า (อังกฤษ: Burmese peacock softshell, Burmese softshell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nilssonia formosa) เป็นสปีชีส์ของตะพาบซึ่งอยู่ในวงศ์ตะพาบ เป็นตะพาบหนึ่งในห้าสปีชีส์ที่อยู่ในในสกุล Nilssonia[4]

ตะพาบนกยูงพม่ามีกระดองทรงกลมที่ยาวได้ถึง 65 เซนติเมตร กระดองมีสีเทามะกอกถึงน้ำตาลมะกอก มีเส้นโครงสีดำ และที่กระดองมีลักษณะคล้ายวงแหวนที่มีขอบรอบ ๆ โดยที่มีสีเข้มบริเวณตรงกลางวงแหวนและมีขอบสีอ่อน ๆ ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งขอบบริเวณรอบ ๆ จะจางหายไปตามอายุจนกระทั่งกระดองกลายเป็นสีมะกอก

ที่อยู่ทางภูมิศาสตร์

[แก้]

ตะพาบนกยูงพม่าพบได้ในประเทศพม่าและอาจรวมถึงแถบชายแดนประเทศไทยกับประเทศพม่าด้วย[1] ได้มีรายงานว่าพบตะพาบสายพันธุ์นี้ในอำเภอกาบีอังลอง (Karbi Anglong district) ของรัฐอัสสัมด้วย จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของตะพาบนกยูงพม่าที่จับได้ใกล้ชวงไป๋ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยนักวิจัยในปี ค.ศ. 2012 ชี้ให้เห็นว่าตะพาบสายพันธุ์นี้ข้ามเขตพื้นที่ลุ่มน้ำระหว่างแม่น้ำสาละวินกับแม่น้ำโขง[5]

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Horne, B.D.; Platt, K.; Praschag, P. (2021). "Nilssonia formosa". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T14765A546244. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T14765A546244.en. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Fritz 2007, p. 316
  4. "JCVI.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-09.
  5. Liebing, Nicole, et al. "Molecular phylogeny of the softshell turtle genus Nilssonia revisited, with first records of N. formosa for China and wild-living N. nigricans for Bangladesh." Vertebrate Zoology 62.2 (2012): 261-272.
บรรณานุกรม

ดูเพิ่มเติม

[แก้]
  • Alderton, D. 1988. Turtles and tortoises of the world. Facts on File, New York.
  • Anderson, J. 1875. "Description of some new Asiatic mammals and Chelonia". Ann. Mag. nat. Hist. (4) 16: 282–285.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]