ตะพาบคงคา
ตะพาบคงคา | |
---|---|
แม่น้ำบาไบ ประเทศเนปาล | |
ในวัยรุ่น (จุดมืดหรือลักษณะของวงแหวนบนกระดองไม่ชัดเจนและจะหายไปเมื่อโตขึ้น)[1] | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | เต่า Testudines |
อันดับย่อย: | อันดับย่อยเต่า Cryptodira |
วงศ์: | วงศ์ตะพาบ Trionychidae |
สกุล: | สกุลตะพาบนกยูง Nilssonia (Cuvier, 1825)[2] |
สปีชีส์: | Nilssonia gangetica |
ชื่อทวินาม | |
Nilssonia gangetica (Cuvier, 1825)[2] | |
ชื่อพ้อง[4] | |
|
ตะพาบคงคา หรือ ตะพาบอินเดีย (อังกฤษ: Ganges softshell turtle, Indian softshell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nilssonia gangetica) เป็นสปีชีส์ของตะพาบ ที่สามารถพบในเอเชียใต้ ในแม่น้ำต่าง ๆ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และแม่น้ำมหานที ตะพาบใกล้สูญพันธุ์นี้มีกระดองยาวได้ถึง 94 ซม. หรือ 37 นิ้ว[1] โดยส่วนใหญ่แล้วจะกินสัตว์จำพวกปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซากสัตว์ และสัตว์อื่น ๆ แต่ก็สามารถกินพืชน้ำได้ด้วย[1] เต่าชนิดนี้ถูกจัดไว้ภายใต้การคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2515 ตามหมวดที่ 1 ของส่วนที่ 2 และการได้มาซึ่งตะพาบชนิดนี้ถือเป็นการกระทำผิดอันขัดต่อกฎหมาย[5]
ลักษณะทางกายภาพ
[แก้]ตะพาบชนิดนี้สามารถระบุชนิดได้โดยอาศัยโครงสร้างของกระดองหลังและกระดองท้อง โดยมีแผ่นกระดองหลัง 8 คู่ โดยคู่สุดท้ายที่พัฒนาเต็มที่แล้วและสัมผัสกันตลอดแนวกึ่งกลางซึ่งเป็นแนวแผ่นประสาท 2 แผ่นอยู่ระหว่างแผ่นกระดองหลังคู่แรก แผ่นมีรอยบุ๋มหยาบและมีรอยเป็นลักษณะเส้นหยักโค้ง กระดูกไหปลาร้า (Epiplastra) ถูกแยกออกจากกันในแนวแคบด้านหน้าของกระดูกไหปลาร้าชั้นใน (Entoplastron) ซึ่งก่อตัวเป็นมุมป้านหรือมุมฉาก และแผ่นกระดองของกระดองท้องมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ได้แก่ แผ่นกระดองไฮโอ-ไฮโปพลาสตรัล (hyo-hypoplastral) แผ่นกระดองซิฟิพลาสตรัล (xiphiplastral) และแผ่นกระดูกไหปลาร้าชั้นใน (Ento-plastral) กระดองหลังของตะพาบชนิดนี้ตอนมีอายุน้อยจะมีสันตามยาวของตุ่มหรือวงเล็ก ๆ และที่ส่วนหัวมี จมูก (กะโหลก) ยาวเท่ากับประมาณเส้นผ่านศูนย์กลางของเบ้าตา ในบริเวณระหว่างเบ้าตาในตะพาบที่โตเต็มวัยจะแคบกว่าโพรงจมูก ส่วนโค้งบริเวณหลังเบ้าตามีขนาดเป็นหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางของเบ้าตา ขากรรไกรล่างมีขอบด้านในยกสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเกิดสันแหลมซึ่งส่งผลให้เกิดส่วนตัดสั้น ๆ ตั้งฉากบริเวณแนวประสาน (symphysis) เส้นผ่านศูนย์กลางของขากรรไกรล่างที่แนวประสานจะยาวไม่เกินเส้นผ่านศูนย์กลางของเบ้าตา กระดองเป็นสีเขียวมะกอก ตอนที่ตะพาบชนิดนี้ยังมีอายุน้อยจะมีเส้นสีดำบาง ๆ บริเวณกระดองแต่ไม่มีลักษณะของวงแหวนอยู่บนกระดอง หัวมีแถบสีดำตามยาวจากระหว่างดวงตาไปถึงท้ายทอย ตัดกับรูปตัววีคว่ำแถบสีดำ 2-3 แถบ ในส่วนล่างมีสีออกสีเหลือง ความยาวของกระดองยาวประมาณ 60 เซนติเมตร หรือ 2 ฟุต[6]
ที่อยู่ทางภูมิศาสตร์
[แก้]ส่วนใหญ่มักพบตะพาบชนิดนี้พบที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำปัทมา แม่น้ำเมฆนา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำยมุนา แม่น้ำนรรมทา และแม่น้ำมหานที และลำน้ำสาขาและแหล่งระบายน้ำของแม่น้ำดังที่กล่าวมาส่วนใหญ่ และในประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศบังกลาเทศ ประเทศอินเดีย (ในรัฐอัสสัม รัฐพิหาร รัฐคุชราต รัฐชัมมูและกัศมีร์ รัฐมัธยประเทศ รัฐโอฑิศา รัฐปัญจาบ รัฐราชสถาน รัฐอุตตรประเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตก) ประเทศเนปาลทางตอนใต้ และประเทศปากีสถาน[7][8]
ทางวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ
[แก้]ตะพาบชนิดนี้ส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูในสระน้ำของวัดในรัฐโอฑิศา ซึ่งถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์[9]
แกลเลอรี่
[แก้]-
บริเวณใต้กระดองของตะพาบคงคา (Nilssonia gangetica)
-
โครงสร้างกะโหลกของตะพาบคงคา (Nilssonia gangetica)
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Ernst, C.H.; Altenburg, R.G.M.; and Barbour, R.W. (1997). Aspideretes gangeticus Error in Webarchive template: Empty url., Turtles of the World. Retrieved 17 June 2014.
- ↑ 2.0 2.1 Ahmed, M.F.; Choudhury, B.C.; Das, I.; Singh, S. (2021). "Nilssonia gangetica". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T39618A2930943. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T39618A2930943.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ Fritz Uwe; Peter Havaš (2007). "Checklist of Chelonians of the World". Vertebrate Zoology. 57 (2): 310. doi:10.3897/vz.57.e30895. ISSN 1864-5755.
- ↑ "SC: Possession of 'Indian Flap Shell Turtle' not an offence under the Wildlife Protection Act [Read Judgment]". Latest Laws (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ Boulenger, G. A. 1890.
- ↑ Indraneil Das (GRA, G. a. A.; Ahmed (Aaranyak), Mohammed Firoz; Choudhury, B. C.; Singh, Shailendra (13 March 2018). "IUCN Red List of Threatened Species: Nilssonia gangetica". IUCN Red List of Threatened Species. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.
- ↑ "Nilssonia gangetica (Cuvier, 1825)". Indiabiodiversity.org. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.
- ↑ Annandale, Nelson; Shastri, Mahamahopadhyaya Haraprasad (1914). "Relics of the worship of mud-turtles (Trionychidae) in India and Burma". Journal of the Asiatic Society of Bengal: 131–138.
- Anderson,J. 1872 Note on Trionyx gangeticus, and Trionyx hurum, B. Hamilton. Ann. Mag. Nat. Hist. (4) 9: 382–383
- Anderson,J. 1872 On Trionyx gangeticus, Cuvier, Trionyx hurum, B.H. and Dr. Gray. Ann. Mag. Nat. Hist. (4) 10: 219–222
- Cuvier, G.L.C.F.D. 1825 Recherches sur les ossemens fossiles de quadrupèdes, où l'on rétablit les caractères du plusieurs espèces d'animaux que les révolutions du globe paroissent avoir détruites. Dufour & d'Ocagne, Paris. ed. 3, 5 vols. (Parts of this 5 volume edition are cited as appearing from 1821 to 1824; volume 5 appeared in 1825. It consists mostly of articles reprinted from Annales du Muséum d'Histoire Naturelle, Paris. See also Cuvier 1812.)
- Webb, R.G. 2004 Trionychid turtle miscellany. Hamadryad 28 (1&2): 119–121