ข้ามไปเนื้อหา

แคว้นตอสคานา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตอสคานา)
แคว้นตอสคานา

Regione Toscana (อิตาลี)
ธงของแคว้นตอสคานา
ธง
ตราราชการของแคว้นตอสคานา
ตราอาร์ม
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นตอสคานา
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นตอสคานา
ประเทศอิตาลี
เมืองหลักฟลอเรนซ์
การปกครอง
 • ประธานแคว้นเอนรีโค รอสซี
พื้นที่
 • ทั้งหมด22,990.18 ตร.กม. (8,876.56 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2558)
 • ทั้งหมด3,749,430 คน
 • ความหนาแน่น160 คน/ตร.กม. (420 คน/ตร.ไมล์)
ความเป็นพลเมือง[1]
 • อิตาลีร้อยละ 90
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
จีดีพี (ตัวเงิน)106.1[2] พันล้านยูโร (2551)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)28,500[3] ยูโร (2551)
เว็บไซต์www.regione.toscana.it

ตอสคานา[4] (อิตาลี: Toscana) หรือ ทัสคานี[4] (อังกฤษ: Tuscany) เป็นแคว้นหนึ่งของประเทศอิตาลี มีเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) เป็นเมืองหลัก มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,990 ตารางกิโลเมตร และมีผู้คนอาศัยอยู่ 3.6 ล้านคน แคว้นตอสคานามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม (เนื่องจากเป็นที่กำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม (เนื่องจากมีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนังจำนวนมาก)[5] ของประเทศอิตาลี แคว้นแห่งนี้เองที่เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซาอันโด่งดัง นอกจากนี้ แคว้นตอสคานายังขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์งดงามมาก และมีไวน์รสชาติดีเยี่ยม[6] ภาษาอิตาลีที่พูดกันในแคว้นตอสคานาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการพูดแบบชาวอิตาลีโดยแท้จริงและยอมรับให้เป็นสำเนียงราชการ

สำหรับชื่อแคว้น ชาวอิตาลีเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ตอสคานา" แต่ภาษาอังกฤษเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ทัสคานี" ในภาษาอื่น ๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก เช่น ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Toscane ในภาษาละตินเรียกว่า Toscia เป็นต้น

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ภาพบ้านสมัยยุคสำริดที่ปอปปูโลเนีย แคว้นตอสคานา
แผนที่โบราณของศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของเมืองปิซา
ปาลัซโซเวคคีโยในเมืองฟลอเรนซ์
โคซีโมที่ 1 แห่งเมดีชี ดุ๊กแห่งตอสคานา

ชนกลุ่มดั้งเดิม

[แก้]

เราไม่ทราบว่ากลุ่มชนใดเป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แคว้นตอสคานา แต่มีพบหลักฐานที่บ่งบอกว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในยุคสำริดและยุคโลหะ นอกจากนั้นยังบ่งบอกด้วยอีกว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในหลากหลายบริเวณในแคว้นนี้ ตัวอย่างหลักฐานเช่นหมู่บ้านโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

ในศตวรรษที่ 8 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมวิลลาโนวา (Villanovian) ซึ่งมีที่มาจากชื่อวิลลาโนวา (Villanova) เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในแถบบริเวณนั้น และ เจริญเติบโตงอย่างอกงาม

ชาวอีทรัสคัน

[แก้]

ในช่วงศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช นักประวัติศาสตร์ได้พบหลักฐานการอาศัยอยู่ของชาวอีทรัสคันในภาคเหนือไปจนถึงบางส่วนของภาคกลางตอนบนของประเทศอิตาลี ซึ่งแคว้นตอสคานาอยู่ในภาคกลางตอนบน (ส่วนภาคกลางเป็นที่อยู่ของชาวละติน และภาคใต้เป็นที่อยู่ของชาวกรีก ซึ่งในเวลาต่อมา ชาวละตินสามารถครอบครองดินแดนทั้งหมดของประเทศอิตาลีได้)[7] ชื่อ "แคว้นตอสคานา" นี้ มาจากชื่อของชาวอีทรัสคัน ต่อมาชาวโรมันเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาละติน ตุสกิอา (Tuscia) ตุสกานิอา (Tuscania) และสุดท้ายตอสคานา (Toscana)

ที่มาที่ไปและการตั้งรกรากเริ่มแรกของชาวอีทรัสคันยังคงเป็นปริศนาต่อนักประวัติศาสตร์จนถึงทุกวันนี้ เนื่องจากว่าไม่มีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ในภาษาหรือการเขียนของพวกเขาเลย อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์ตั้งสมมุติฐานเอาไว้ว่าชาวอีทรัสคันมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ลิเดียในเขตเอเชียไมเนอร์ (แถบตุรกีและบริเวณที่เชื่อมต่อทวีปเอเชียเข้ากับทวีปยุโรป) ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราชเป็นยุคทองของชาวอีทรัสคัน อารยธรรมเจริญเติบโตถึงขั้นสูงสุด บริเวณที่ชาวอีทรัสคันอาศัยอยู่มีอาณาเขตตั้งแต่หุบเขาโป ไปจนถึงคัมปาเนีย พวกเขาได้สร้างถนนหนทางและเมืองใหญ่ต่าง ๆ ไว้มากมาย เช่น อาเรซโซ ฟิลาเดลเฟีย โรเซลเล เวตูโลเนีย เป็นต้น ซึ่งเป็นหลักฐานถึงความเจริญงอกงามของอารยธรรมได้อย่างดี

ชาวอีทรัสคันได้ทิ้งสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมายให้ชาวโรมันหลังจากที่พวกเขาถูกขับไล่ออกจากประเทศอิตาลี ในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช ไม่ว่าจะเป็นในด้าน อักษรละตินที่ชาวอีทรัสคันปรับปรุงขึ้นเองจากอักษรกรีก และนำมาเผยแพร่ให้กับชาวโรมัน การตั้งชื่อที่เป็นแบบแผนของการตั้งชื่อตะวันตกในทุกวันนี้ สถาปัตยกรรมศิลปะรูปโค้ง การแสดงละครเวที ไปจนกระทั่งชุดโทกาที่ชาวโรมันใส่ ชาวอีทรัสคันนี้เองที่ทำให้อารยธรรมโรมันกำเนิดขึ้นมาได้ พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของประวัติศาสตร์แคว้นตอสคานาและประเทศอิตาลี [7]

ยุคโรมัน

[แก้]

ยุคกลาง

[แก้]

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและราชวงศ์เมดีชี

[แก้]

นวัตกรรมของลอแรน

[แก้]

การรวมประเทศอิตาลี

[แก้]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

แคว้นตอสคานาเป็นแคว้นในภาคกลางของประเทศอิตาลี มีอาณาเขตจรดแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาทางเหนือ จรดแคว้นลีกูเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ จรดแคว้นอุมเบรียและแคว้นมาร์เคทางตะวันออก และจรดแคว้นลัตซีโยทางตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนทางตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แคว้นตอสคานามีพื้นที่สองในสามส่วนเป็นที่ราบสูงและเศษหนึ่งส่วนสี่ที่เป็นภูเขา ส่วนที่เหลือเป็นที่ราบที่ก่อกำหนดหุบเขาของแม่น้ำอาร์โน

แคว้นตอสคานาแบ่งออกเป็นสิบจังหวัดด้วยกัน ดังนี้[8] :

สถิติทางภูมิศาสตร์

[แก้]

สถิติประชากร

[แก้]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 แคว้นได้ดึงดูดผู้อพยพจำนวนมาก โดยเฉพาะจากประเทศจีนและทวีปแอฟริกาเหนือ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของชาวอังกฤษและชาวอเมริกันอยู่ด้วยอย่างปรากฏเห็นได้ชัด

เมืองต่าง ๆ ของแคว้นตอสคานาที่มีประชากร 50,000 คนหรือมากกว่า :

เมือง ประชากร (ในปี 2549)
ฟลอเรนซ์ 366,901
ปราโต 183,823
ลีวอร์โน 160,534
อาเรซโซ 95,229
ปิซา 87,737
ปิสโตยา 85,947
ลุคคา 84,422
กรอสเซโต 81,301
มัสซา 69,399
คาร์รารา 65,125
วีอาเรจโจ 63,389
ซีเยนา 54,147
สกันดิชชี 50,003

การท่องเที่ยว

[แก้]
หอศิลป์อุฟฟิตซี

การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของแคว้นตอสคานาจะเน้นไปที่พิพิธภัณฑสถาน ภาพวาดผลงานชิ้นเอก จัตุรัสต่าง ๆ ในเมืองฟลอเรนซ์ ปิซา และซีเยนาที่โด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก เช่น ชายหาด ป่าไม้ ภูเขาที่มีความสูงถึง 2,054 เมตร สปาที่ช่วยรักษาสุขภาพ หมู่บ้านที่ช่างฝีมือยังคงทำงานเกี่ยวกับหนังสัตว์ หลักสูตรกอล์ฟ เป็นต้น

ในแคว้นตอสคานามีโรงแรมทั้งหมด 11,000 กว่าแห่ง การตั้งแคมป์และการพักที่ฟาร์มดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี เนื่องจากความสวยงามและวิวทิวทัศน์ของแคว้นตอสคานา อย่างไรก็ตามทางแคว้นก็ได้ลงทุนใช้จ่ายกับการทำให้บริการต่าง ๆ มีคุณภาพมากขึ้น ผลิตสิ่งต่าง ๆ ออกมาอย่างเชี่ยวชาญและมืออาชีพมากขึ้น และพัฒนาปรับปรุงระบบการคมนาคม[9]

พิพิธภัณฑสถาน

[แก้]

ร้อยละ 13 ของพิพิธภัณฑสถานทั้งหมดในประเทศอิตาลีตั้งอยู่ที่แคว้นตอสคานา โดยรวมในประเทศอิตาลีมีพิพิธภัณฑสถานทั้งหมดประมาณ 4,120 แห่ง ในแคว้นตอสคานามี 553 แห่ง บางแห่งเป็นพิพิธภัณฑสถานที่โด่งดังระดับโลก เช่น อุฟฟิตซี ในพิพิธภัณฑ์ 553 แห่งนี้ จำนวน 246 แห่งเก็บสะสมผลงานชิ้นเอกทางศิลปะ 88 แห่งเก็บสะสมโบราณวัตถุ 48 แห่งบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของวิทยาศาสตร์ และ 40 แห่งอุทิศให้แก่ประเพณีท้องถิ่น ช่างฝืมือ และชาวนา และที่เหลือเพื่อหัวข้อพิเศษ อาทิ เช่น อุตสาหกรรมทางโบราณคดี ฟุตบอล ประวัติศาสตร์ของดินแดน เป็นต้น พิพิธภัณฑสถานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองฟลอเรนซ์ แต่หลาย ๆ แห่งก็ยังตั้งอยู่ในเมืองเล็ก ๆ ด้วย

พิพิธภัณฑ์สถานฟฟิตซีมีผลงานชิ้นเอกจากศิลปะเอกชาวอิตาลีมากมาย อาทิ จอตโต ดี บอนโดเน, ซีโมเน มาร์ตีนี, ปีเยโร เดลลา ฟรันเชสคา, ฟราอันเจลีโค, ฟีลิปโป ลิปปี, ซันโดร บอตตีเชลลี, มีเคลันเจโล, เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นต้น ซึ่งโดยลำพังแล้วภาพเหล่านี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้ 1,500,000 คนต่อปี

เพื่อที่จะปกป้อง อนุรักษ์ และรักษาภาพต่าง ๆ เจ้าหน้าที่จะต้องคอยดูแลมิให้ผู้ใดมาทำลายภาพเสมอ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศอิตาลีมีนโยบายจำกัดนักท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑสถานต่าง ๆ เนื่องจากการรักษาอุณหภูมิเป็นการรักษาภาพด้วย[10] รายได้ของพิพิธภัณฑสถานในแต่ละปีได้ประมาณ ค่าเข้าพิพิธภัณฑสถานจะอยู่ประมาณที่ 2.58 ยูโร และรายได้ร้อยละ 26.9 จากการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานของอิตาลีได้มาจากแคว้นตอสคานา ซึ่งโดยรวมทั้งหมดประเทศอิตาลีมีรายได้ 22 ล้านยูโรจากการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานต่อปี ผู้คนจำนวนมากกว่า 6 ล้านคนเดินทางมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานของรัฐในแคว้นตอสคานาในแต่ละปี[11]

การขึ้นทะเบียนมรดกโลก

[แก้]

เขตต่าง ๆ ในเมือง 6 แห่งในแคว้นตอสคานาได้รับเลือกจากองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก :

คำกล่าวถึง

[แก้]

โจซูแอะ คาร์ดุชชี ได้กล่าวถึงแคว้นตอสคานา ความว่า

Dolce paese, onde portai conforme l'abito fiero e lo sdegnoso canto e il petto ov'odio e amor mai non s'addorme, pur ti rivedo, e il cuor mi balza in tanto. Ben riconosco in te le usate forme con gli occhi incerti tra il sorriso e il pianto.

— โจซูแอะ คาร์ดุชชี[18]

ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า

แคว้นอันงดงาม ที่ที่ฉันใส่ชุดนั้นที่ฉันภูมิใจและที่ที่ฉันเอาบทเพลงอันสูงส่งนั้นติดไปด้วย และที่ที่ฉันเอาหัวใจที่ที่ความเกลียดชังและความรักไม่เคยนอนหลับ ตอนนี้ฉันเห็นเธออีกครั้ง หัวใจของฉันเริ่มที่จะกระโดดโลดเต้น ฉันจดจำเธอได้อย่างดีในรูปแบบที่ฉันคุ้นเคย กับดวงตาที่ไม่แน่นอนระหว่างยิ้มกับร้องไห้

ภาพยนตร์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Statistiche demografiche ISTAT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
  2. "Eurostat - Tables, Graphs and Maps Interface (TGM) table". Epp.eurostat.ec.europa.eu. 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-11-07.
  3. "European Commission - PRESS RELEASES - Press release - Regional GDP per inhabitant in 2008 GDP per inhabitant ranged from 28% of the EU27 average in Severozapaden in Bulgaria to 343% in Inner London".
  4. 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  5. Blogth (ไทย)
  6. Tuscany Travel เก็บถาวร 2008-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  7. 7.0 7.1 รี วอนบก. ชุด การ์ตูนสนุกตะลุยประวัติศาสตร์นานาประเทศ : อิตาลี. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2551. 260 หน้า. ธนวดี บุญล้วน, ผู้แปล
  8. The Tuscan Provinces (อังกฤษ)
  9. Regione Toscana : Turismo : la guida เก็บถาวร 2008-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อิตาลี)
  10. สุจินดา ขันตยาลงกต. ดวงดาวแห่งทะเลทราย อิตาลี. 2540. สนพ.บ้านหนังสือ, กรุงเทพฯ.
  11. Regione Toscana : Musei[ลิงก์เสีย] (อิตาลี)
  12. UNESCO : World Heritage Site : Historic center of Florence (อังกฤษ)
  13. UNESCO : World Heritage Site : Piazza del Duomo (อังกฤษ)
  14. UNESCO : World Heritage Site : Historic Center of San Gimignano (อังกฤษ)
  15. UNESCO : World Heritage Site : Historic center of Sienna (อังกฤษ)
  16. UNESCO : World Heritage Site : Historic Center of Pienza (อังกฤษ)
  17. UNESCO : World Heritage Site : Val d'Orcia (อังกฤษ)
  18. Traversando la maremma toscana
  19. HBO Asia เก็บถาวร 2008-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  20. แคททาลิสท์ อัลลายแอนซ์[ลิงก์เสีย] (ไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

สมุดภาพ

[แก้]