ตวน
ตวน หรือ ต่วน (มลายู : Tuan) ในมลายูแปลว่า เจ้านาย เจ้าของ หรือ เจ้า เป็นยศฐานันดรเจ้านายมลายู มีใช้ในประเทศแถบมลายู เช่น มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และสามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย[1] ในพงศาวดารไทยจะเขียนว่า “ตุหวัน” เป็นพระยศเดียวกัน ซึ่ง “ตวน” นับว่าเป็นเจ้าตั้งแต่ประสูตินอกจากนี้ “ตวน” ยังอาจหมายถึงเชื้อพระวงศ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นประมุขของรัฐขนาดเล็ก หรือ เจ้าเมืองด้วย
ประวัติ
[แก้]ตวน มีมาตั้งแต่โบราณสมัยนครรัฐมลายูรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน แต่เดิมเรียกว่า “ตูแว” ต่อมาได้กล่อนเสียงเป็น “ตวน” พระยศ “ตูแว” พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำดั่งเดิมที่สุด โดยถือว่าเป็นพระยศในชั้นที่สองของชั้นยศมลายูแบบสามชั้น และนับเป็นเจ้านายในลำดับสุดท้าย ถัดจากชั้น “ตวน” ลงไป ไม่นับว่าเป็นเจ้า แม้จะมีคำนำหน้านามเป็น “นิ” หรือ “วัน” ก็ตาม
ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เจ้านายนิยมใช้พระยศ “ตวน” จนกระทั้งในปี ค.ศ.1944 ได้เปลี่ยนตามสมัยนิยมเป็นพระยศ ตนกู,เติงกู,เต็งกู ส่วนในสามจังหวัดชายแดนใต้แม้จะไม่มีระบบเจ้าแล้ว แต่ยังมีการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน และใช้พระยศ ตวน, กู ,นิ
การสืบทอดพระยศ จะสืบทอดทางฝ่ายชายเป็นหลัก เช่น ฝ่ายชายเป็นเจ้าชั้น “ตวน” โอรสประสูตรจะเป็นเจ้าชั้น “ตวน” ตามฝ่ายชายตลอดสาย และชั้นยศจะลดลงมาหนึ่งชั้นหากฝ่ายหญิงเป็นเจ้าชั้น “ตวน” เสกสมรสกับชายสามัญชน บุตรที่เกิดจะใช้ยศ “นิ” หรือ “วัน” แทน
ลำดับ | พระยศ | ตัวอย่าง | ||
---|---|---|---|---|
ชั้นที่หนึ่ง | ตวนกู[2](Tuanku) | เป็นเจ้า | ใช้ราชาศัพท์ | - ตวนกู ยะห์ยา เปตรา สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ 6 แห่งมาเลเซีย และสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน |
ชั้นที่สอง | เต็งกู, เติงกู ,ตนกู (Tengku) ตุนกู (Tunku), อังกู (Ungku),
ตวน (Tuan), ตูแว (Tuwea), รายา (Raja) หรือ กู (Ku)[1] |
เป็นเจ้า | ใช้ราชาศัพท์ | - เจ้าจอม ตนกูสุเบีย แห่งลิงกา เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เจ้าชาย ตนกูมูฮัมมัด ฟาอิซ เปตรา แห่งรัฐกลันตัน - ตวนไซนัลอาบิดิน โอรสในสุลต่านมูฮัมหมัดชาร์ที่3 แห่งรัฐกลันตัน - พระยาตรังกานู (ตวนมาโซ) หรือ สุลต่านมาโซ ชาห์ที่ 1 - พระยากลันตัน (ตวนสนิ มูโล๊ะแมเราะฮ) หรือ สุลต่านมูฮัมหมัดที่2 - ต่วนมันโซร์ เจ้าเมืองรามัน |
ชั้นที่สาม | นิ (Nik) หรือ วัน (Wan) | ไม่นับว่าเป็นเจ้า | ไม่ใช้ราชาศัพท์ | - นิดะ และ นิละไม เจ้าเมืองสายบุรี |
ยศ นิ และ วัน มีการใช้ 2 แบบ คือ
- โบราณนับว่าเป็นเจ้า หากสืบทอดยศ นิ ไม่ขาดสาย จึงจะถือว่าเป็นเจ้า และใช้ราชาศัพท์มลายู
- ปัจจุบันไม่นับว่าเป็นเจ้า แต่ใช้เพื่อให้เกียรติและบ่งบอกถึงการสืบเชื้อสายเจ้าทางฝ่ายหญิง
ความหมายอื่น
[แก้]ตวนในความหมายอื่น
1.ตวน (Tuan) แปลว่า ท่าน
2.ตวน ตวน ดัน ปวน ปวน (Tuan Tuan dan Puan Puan) แปลว่า ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
3.ตวน ตวน (Tuan Tuan) แปลว่า ท่านสุภาพบุรุษ
4.ตวนกูรู (Tuanguru) แปลว่า ท่านอาจารย์
5.ตวน แปลว่า ชื่อผ้าแพรชนิดหนึ่ง