ด่านเจี้ยนเหมิน
ด่านเจี้ยนเหมิน | |
---|---|
ด่านเจี้ยนเหมินในปี ค.ศ. 2005 โครงสร้างประตูถูกเพลิงไหม้ในปี ค.ศ. 2006 | |
เดินทางผ่าน | ฉู่เต้า G108 (อุโมงค์) |
ที่ตั้ง | ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน |
เทือกเขา | เทือกเขาหลงเหมิน |
พิกัด | 32°12′54″N 105°33′48″E / 32.21500°N 105.56333°E |
ด่านเจี้ยนเหมิน | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 劍門關 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 剑门关 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ด่านประตูกระบี่ | ||||||
|
ด่านเจี้ยนเหมิน (จีนตัวย่อ: 剑门关; จีนตัวเต็ม: 劍門關; พินอิน: Jiàn Mén Guān; แปลตรงตัว: "ด่านประตูกระบี่") เป็นด่านภูเขาที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครกว่าง-ยฺเหวียนในมณฑลเสฉวน
ที่ตั้ง
[แก้]ด่านเจี้ยนเหมินตั้งอยู่ในอำเภอเจี้ยนเก๋อ นครกว่าง-ยฺเหวียนในมณฑลเสฉวน นครเฉิงตูซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเสฉวนอยู่ห่างจากด่านเจี้ยนเหมินลงไปทางทิศใต้ไม่ถึง 200 กิโลเมตร ช่องเขาธรรมชาตินี้เกิดจากการเรียงตัวของหน้าผาตามไหล่เขา ประตูของด่านสร้างขึ้นตรงกึ่งกลางของภูเขาต้าเจี้ยน (大劍) เพื่อเป็นจุดยุทธศาสตร์
ประวัติ
[แก้]ด่านเจี้ยนเหมินเป็นส่วนหนึ่งถนนฉู่เต้า (蜀道) การสร้างประตูของด่านเกี่ยวข้องกับจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีและนักยุทธศาสตร์ของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ระหว่างที่จูกัดเหลียงให้ซ่อมแซมสะพานเลียบเขาหรือเจียงโต๋ (棧道 จ้านเต้า) ก็พบว่าภูมิประเทศในเกียมโก๊ะหรือเจี้ยนเก๋อ (劍閣) เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การสร้างตำแหน่งป้องกันให้จ๊กก๊ก จึงสั่งให้สร้างประตูด่านขึ้น[1] หลังจูกัดเหลียงเสียชีวิต เกียงอุยผู้สืบทอดอำนาจการทหารได้นำทหารมาตั้งมั่นในด่านเจี้ยนเหมิน (ด่านเกียมโก๊ะ) เพื่อต้านการบุกของรัฐวุยก๊ก ตั้งแต่นั้นมาด่านเจี้ยนเหมินได้กลายเป็นด่านที่สำคัญที่สุดในสามเส้นทางที่เข้าเสฉวน
ในปี ค.ศ. 1932 เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำลังสร้างถนนผ่านด่านเจี้ยนเหมิน จึงรื้อถอนโครงสร้างที่สร้างขึ้นในยุคราชวงศ์หมิง มีเพียงส่วนฐานที่หลงเหลืออยู่ ภายหลังในช่วงสงครามกลางเมืองจีน ด่านเจี้ยนเหมินถูกยึดโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจากกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
ด่านเจี้ยนเหมินหมดคุณค่าทางการทหารแต่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญเนื่องจากประวัติศาสตร์ของด่าน ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 รัฐบาลจีนได้สร้างโครงสร้างประตูเก่าขึ้นใหม่ โครงสร้างประตูได้รับความเสียเผาเพราะเหตุเพลิงไหม้ในปี ค.ศ. 2005 ประตูที่สร้างใหม่ได้รับความเสียหายอีกครั้งจากแผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวนในปี ค.ศ. 2008[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Renmin Park". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-10.
- ↑ Jianmen Pass strives to become top level tourism spot