ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ | |
---|---|
เกิด | 3 มีนาคม พ.ศ. 2487 จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (64 ปี) |
อาชีพ | นักเขียน, นักข่าว, นักหนังสือพิมพ์ |
สัญชาติ | ไทย |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2510 - 2551 |
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ เกิดวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2487 ที่บ้านท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นหนึ่งในนิสิตผู้เขียนหนังสือ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ในการต่อต้านการใช้อำนาจของภาครัฐจนนำมาสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ประวัติ
[แก้]- ประถมศึกษา โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประสบการณ์ด้านวิชาการ
[แก้]รับราชการที่ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่พ.ศ. 2510 ถึงพ.ศ. 2547
มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ นอกจากจะเป็นวิชาที่สอนให้ความรู้กับนิสิตแล้ว ยังมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการเพาะเห็ดให้กับเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วประเทศ
การพัฒนาในเรื่องการปลูกขนุนในประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์ จนกระทั่งอาจารย์ดีพร้อมได้มีการเขียนบทความทางด้านการเกษตรในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ภายใต้ชื่อคอลัมน์ "ทำมาหากินบนผืนแผ่นดินไทย"
ส่งเสริมและขยายผลให้มีการใช้แพคโคลบิวทราโซลเพื่อบังคับให้มะม่วงออกและติดผลนอกฤดูกาล
การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตมะขามหวาน จังหวัดเพชรบูรณ์
ประสบการณ์ด้านการเมือง
[แก้]ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2532
ประสบการณ์ด้านสังคม
[แก้]ร่วมการประท้วงศาลโลก ต่อต้านการคืนเขาพระวิหารให้กับเขมรในปี พ.ศ. 2509
ทำหนังสือประท้วงสถานทูตอเมริกาไม่ให้เครื่องบิน B52 บินผ่านแนวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รณรงค์ไม่ให้มีการซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2514
อดีตนักกลอนชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถึงแก่กรรม
[แก้]ถึงแก่กรรมวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ด้วยโรคมะเร็ง สิริรวมอายุได้ 64 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[1]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๕, ๙ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๔๘, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- บุคคลจากจังหวัดกาญจนบุรี
- นักอนุรักษ์ธรรมชาติ
- นักวิชาการจากจังหวัดกาญจนบุรี
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- คอลัมนิสต์
- หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา