ดิกนีตี้ รีเทิร์นส์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
ประเภท | เสื้อผ้า |
---|---|
อุตสาหกรรม | เสื้อผ้า และกระเป๋า |
ก่อตั้ง | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 |
ผู้ก่อตั้ง | กลุ่มโซลิดาริตี้ |
สำนักงานใหญ่ | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | บุษบา มีชัย มานพ แก้วผกา กาญจนา วงพันธุ์ จารุวรรณ พลอินทร์ ทิพวรรณ ควรสุข สุวิชา เจริญศรี ทิพวัลย์ ไชยเลิศ กันทนา บัวสอน เครือวัลย์ เวียงนนท์ อำพร ทุเรียน ไพวัน พลเรียง อำไพ เผ่ากัณหา มงคลธรรม ไชยโชติ |
ผลิตภัณฑ์ | ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง เสื้อผ้า และ กระเป๋า |
เว็บไซต์ | www.dignityreturns.com |
ดิกนีตี้ รีเทิร์นส์ (อังกฤษ: Dignity Returns) คือเครื่องหมายการค้าของโรงงานโซลิดารีตี้ กรุ๊ป (อังกฤษ: Solidarity Group) เป็นโรงงาน "ของคนงาน โดยคนงาน เพื่อคนงาน" ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ที่เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]กลุ่มโซลิดาริตี้ เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนงานบริษัท เบด แอนด์ บาธ ซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามสิทธิแรงงาน ทำให้คนงานลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเอง เป็นเวลาสามเดือนกว่าจึงมีข้อสรุปและยุติการชุมนุมลงได้ พวกเขาจึงรวมตัวกันจัดตั้งโรงงานของคนงานขึ้น ชื่อว่าโรงงานกลุ่มโซลืดาริตี้ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "โรงงานของคนงาน โดยคนงาน เพื่อคนงาน"[1][2][3]
ประวัติ
[แก้]ตุลาคม พ.ศ. 2545 - มกราคม พ.ศ. 2546 รวมเวลา 3 เดือน 10 วัน ที่คนงานบริษัทเบท แอนด์ บาธ กว่า 350 คน ซึ่งถูกนายจ้างลอยแพด้วยการปิดโรงงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยคนงานกว่า 800 คน ก่อนหนีออกนอกประเทศไทย ได้รวมตัวกันชุมนุมที่ใต้ถุนกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายของพวกเขา
ระหว่างนั้น คนงานที่ร่วมชุมนุมได้พยายามช่วยกันหารายได้มาเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งด้วยการนำดอกไม้ไปขายตามที่ประชุมต่างๆ รับจ้างเขียนป้ายผ้าให้กับงานสัมมนา และที่สำคัญคือ พวกเขาได้ตั้งโรงงานขนาดเล็กที่ใต้ถุนกระทรวงแรงงาน โดยนำเครื่องจักรเย็บผ้า 7 ตัว มาตัดเย็บเสื้อผ้าฝ้ายและกระเป๋าสะพายจำหน่ายให้แก่คนทั่วไป โดยทำการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลือกซื้อผ้า ออกแบบ ตัดเย็บ และถักลวดลายด้วยไหม อีกทั้งยังมีการสกรีนเสื้อยืดเป็นข้อความ "ดิกนีตี้ อิส น็อท ฟอร์ เซล - ศักดิ์ศรีไม่ได้มีไว้ขาย" (dignity is not for sale) และรูปภาพการเดินขบวนของคนงาน ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้ผลิตในนาม "เมด อิน ดิกนีตี้" (made in dignity) ซึ่งเป็นยี่ห้อที่พวกเขาตั้งขึ้นเอง
การชุมนุมครั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2546 การต่อสู้อันยาวนานดังกล่าวส่งผลให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต้องแก้ไขระเบียบข้อบังคับที่สำคัญ โดยได้ขยายการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็น 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (เดิมจ่ายเพียง 30 เท่า) ในกรณีค่าจ้างค้างจ่าย รวมทั้งในกรณีค่าชดเชยสำหรับคนงานที่มีอายุเกิน 60 ปี (เดิมจ่ายเพียง 30 เท่า ไม่ว่าจะทำงานมากี่ปีก็ตาม) ทำให้อดีตคนงานของบริษัทเบด แอนดฺ บาธ ได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คนละประมาณ 14,800 บาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการอีกคนละ 2,000 บาท
โรงงานในฝัน
[แก้]หลังการชุมนุม คนงานที่ร่วมชุมนุมส่วนหนึ่งได้แยกย้ายไปหางานทำในโรงงานใหม่ ในขณะเดียวกัน บาดแผลที่ได้รับจาก บริษัท เบด แอนด์ บาธ ได้ทำให้อดีตคนงานหลายคนรู้สึกเข็ดหลาบเกินกว่าที่จะกลับไปใช้ชีวิตอย่างเดิมได้ กอปรกับความเบื่อหน่ายชีวิตในเมืองใหญ่ จนทำให้อดีตคนงานหลายคนตัดสินใจกลับคืนสู่ภูมิลำเนาในต่างจังหวัด
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง อดีตคนงาน บริษัทเบด แอนด์ บาธ จำนวน 40 คน ได้ร่วมกันก่อตั้ง "กลุ่มโซลิดารีตี้" (Solidarity Group) โรงงานเล็กๆ ของพวกเขาขึ้น โดยร่วมกันกู้เงินจากธนาคารออมสินจำนวน 700,000 บาท และอีกส่วนหนึ่งจากเพื่อนพ้องคนรู้จักรวมทั้งองกรณ์ที่สนับสนุน มาเป็นเงินลงทุนตั้งโรงงาน เป้าหมายคือผลิตสินค้าภายใต้ยี่ห้อ "ดิกนีตี้ รีเทิร์นส์" (Dignity Returns) ซึ่งเป็นยี่ห้อของกลุ่มเอง โดยเปิดตัวโรงงานเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
กลุ่มโซลิดาริตี้และโรงงานของพวกเขา เกิดจากประสบการณ์ของคนงานที่ถูกนายจ้างและระบบอุตสาหกรรม-ทุนนิยมกดขี่ขูดรีด จนหวาดผวาที่จะกลับไปมีชีวิตและสภาพการทำงานเช่นนั้นอีก ที่สำคัญก็คือโรงงานเล็กๆ แห่งนี้เกิดจากความใฝ่ฝันของพวกเขา ซึ่งอยากจะเห็นโรงงานที่เป็นของคนงานเอง ปราศจากการกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบ และการบังคับขู่เข็ญจากนายทุน พวกเขาฝันเอาไว้ว่า วันหนึ่งโรงงานแห่งนี้จะมีความมั่นคง และมีรายได้ดีพอจะนำไปตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ประสบปัญหา รวมทั้งสนับสนุนการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
"...ผมเข้าใจว่ามันยาก แต่ก็จะทำอย่างตั้งใจ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาให้ได้ เราจะพิสูจน์ตัวเอง..." (วิเศษ สารมะโน, สมาชิก "กลุ่มโซลิดาริตี้")
เนื่องจากโรงงานยังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงทำให้โรงงานกลุ่มโซลิดาริตี้มีงานเข้ามาไม่มาก แม้ว่าพวกเขาจะพยายามประสานงานกับองค์กรและสหภาพแรงงานต่างๆ เพื่อรับตัดเสื้อ ป้ายผ้า ผ้าคาดหัว กระเป๋า ฯลฯ ในงานรณรงค์และงานสัมมนาต่างๆ แต่รายได้จากงานเหล่านี้ยังไม่เพียงพอกับรายจ่ายของโรงงาน เช่น ค่าเช่าตึก ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งภาระหนี้ที่กู้ยืมจากธนาคาร ซึ่งต้องผ่อนส่งเดือนละหลายหมื่นบาท
ปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ความเป็นโรงงานเล็กๆ ทุนสำรองมีไม่มาก ทำให้ไม่สามารถซื้อวัตถุดิบคราวละมากๆ เพื่อให้ราคาผลิตภัณฑ์ถูกลง ซึ่งทำให้กลุ่มโซลิดาริตี้และดิกนีตี้ รีเทิร์นส์ยังไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับโรงงานใหญ่ๆ ได้ ปัจจุบัน กลุ่มโซลิดาริตี้จึงยังต้องรับงานตัดเย็บ รีด และบรรจุเสื้อผ้าจากโรงงานอื่น ซึ่งบางครั้งก็เป็นงานที่ส่งต่อกันมาหลายทอด และแน่นอนว่าค่าจ้างย่อมถูกหัก-ถูกลดลงตามจำนวนครั้งที่ส่งทอดงาน
"...เสื้อผ้าที่เรารับจากโรงงานอื่นมาทำ รับต่อกันมาหลายทอด ตัวหนึ่งทำ 20-30 ขั้นตอน แต่เราได้ค่าแรงตัวละ 16 บาท ซึ่งมันน้อยมาก ถ้าเรารับเองทำเอง ไม่ต้องผ่านใคร ชีวิตความเป็นอยู่ของเราน่าจะดีกว่านี้..." (สุนี นามโส, สมาชิก"กลุ่มโซลิดาริตี้")
"...บางครั้งคนภายนอกก็บอกว่า เรายังต้องทำงานหนักไม่ต่างจากที่โรงงานเดิม แต่เรารู้ว่ามันต่าง เพราะที่นี่ไม่มีใครบังคับ ไม่มีนายจ้างคอยเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีใครคอยขู่ตะคอกด่า และที่สำคัญที่สุดมันเป็นโรงงานของพวกเราเอง..."[4] (มานพ แก้วผกา, สมาชิก"กลุ่มโซลิดาริตี้")
จากวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546 - ถึงปัจจุบัน เส้นทางยาวไกลและยากลำบาก ที่สำคัญคือปัญหาจากภาระส่วนตัวรุมเร้า ทำให้สมาชิกหลายคนจำใจต้องแยกทางออกไป ปัจจุบัน สมาชิกกลุ่มโซลิดาริตี้จึงเหลือสมาชิกเพียงแค่ 16 คน
รางวัลของการทุ่มเททำงานหนักและอดออม ก็คือภาระหนี้ธนาคารรวมทั้งดอกเบี้ย เป็นเงิน 875,280 บาท ได้ถูกปลดเปลื้องลงหมดสิ้นแล้วด้วยฝีมือแรงงาน และกำลังใจของพวกเขาเอง และหนี้อีกส่วนซึ่งก้อนเล็กกว่าก็กำลังถูกปลดเปลื้องให้หมดภายในเร็ววัน
นอกเหนือจากการทุ่มเททำงานหนัก และเข้าร่วมกิจกรรมของขบวนการแรงงานทุกครั้งที่มีโอกาสแล้ว ภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของกลุ่มคือการพยายามฟัฒนาฝีมือ แม้ว่าแต่ละคนจะเป็นอดีตผู้ผลิตเสื้อผ้าให้กับแบรนด์เนมชื่อดังก้องโลก ซึ่งหมายความว่ากลุ่มโซลิดาริตี้ไม่เป็นรองใคร แต่พวกเขาไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งด้วยการค้นคว้าและเข้าร่วมการฝึกอบรมต่างๆ อุปสรรคสำคัญของพวกเขาในวันนี้คือโอกาสที่จะได้แสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์ ไปทั่วโลกก็เท่านั้นเอง
โครงการความร่วมมือระหว่างโรงงานของคนงานในอาร์เจนตินา และคนงานกลุ่มโซลิดาริตี้ในประเทศไทย
[แก้]ประวัติ
[แก้]ในวันที่ 12 มีนาคม 2009 ตัวแทนจากลา อลาเมดา (อังกฤษ: La Alameda) โรงงานของคนงานในประเทศอาร์เจนตินา[5][6] กิจการที่คนงานกอบกู้[7]เพราะรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา[8][9][10][11] ลา อลาเมดาได้พบกับสมาชิกของสหกรณ์ดิกนิตี้ รีเทิร์นส์ที่กรุงเทพมหานคร หลังจากที่มีการอภิปรายถึงวัตถุประสงค์ของโรงงานที่ยึดมั่นมาตลอดและปัญหาอื่นๆ สมาชิกทั้งสองฝ่ายตัดสินใจร่วมกันผลิตและประชาสัมพันธ์สินค้าปลอดการใช้แรงงานอย่างกดขี่ เพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตเครื่องแต่งกายที่มีความก้าวหน้าผ่านการบริหาร จัดการโดยแรงงานเอง รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการการใช้แรงงานอย่าง ป็นธรรม โดยการขยายเครือข่ายสื่อและความร่วมมือกันของผู้เคลื่อนไหว สหกรณ์ทั้งสองแห่งร่วมมือกันเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคที่ปลอดภัยและมี จิตสำนึก ขณะที่พูดถึงการกดขี่แรงงานที่เฉพาะเจาะจงไปที่ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม การผลิตสิ่งทอทั่วโลก ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกดขี่ทางเพศ การอพยพ และการใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมายในอาร์เจนตินา ประเทศไทย และทั่วทั้งบริเวณตอนใต้ของโลก[12]
วัตถุประสงค์
[แก้]รูปแบบของโครงการโน เชนส์ คือ จัดให้มีการประกวดออกแบบเสื้อยืด 4 ครั้งต่อปี ซึ่งรับความร่วมมือกันโดยตรงของศิลปิน นักออกแบบ และผู้สะสมผลงานศิลปะ กับคณะทำงานของลา อลาเมดา และ ดิกนิตี้ รีเทิร์นส์[13] การคัดเลือกครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 แรงผลักดันที่เกิดจากความร่วมมือกันผลิตสินค้านี้ซึ่งได้รับการปรับเปลี่ยน ให้ใหม่อยู่เสมอด้วยความร่วมมือของศิลปิน และพันธกิจที่สหกรณ์ทั้งสองแห่งยึดมั่นมาโดยตลอด จะทำให้โน เชนส์สามารถเป็นเวทีที่แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก เชื่อมโยงศิลปิน ผู้บริโภค และผู้สนับสนุนไว้ด้วยเป้าหมายที่สำคัญนี้ ขณะที่รักษาแรงผลักดันนี้ไว้ให้มั่นคงตลอดระยะเวลาการทำโครงการ ทั้งลา อลาเมดา และดิกนิตี้ รีเทิร์นส์ จะยังคงเปิดกว้างในแง่ของการร่วมมือกับโรงงานอันมีผู้ใช้แรงงาน เป็นเจ้าของที่อยากจะร่วมผลิตสินค้าภายใต้ตราสัญลักษณ์ โน เชนส์[14][15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศักดิ์ศรีของเรา...โรงงานของเรา[ลิงก์เสีย] กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 มกราคม 2552 01:00
- ↑ WORLD SOCIAL FORUM: Thai Factory Makes Worker-friendly Capitalism By Marwaan Macan-Markar BANGKOK, Jan 13 (IPS)
- ↑ Dignity Return - a 'sweat-free' garment operation in Thailand. January 1, 2004
- ↑ Dignity Returns – a workers’ brand is possible! Economic Literacy and Budget Accountability for Governance (ELBAG)
- ↑ ARGENTINA: Slave Labour Alive and Well By Marcela Valente เก็บถาวร 2007-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนARGENTINA: Slave Labour Alive and Well by Marcela Valente. Dec 1, 2005 (IPS)
- ↑ ARGENTINA: LABOUR-ARGENTINA: Bolivian Community Divided Over Sweatshops เก็บถาวร 2010-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนInter Press Service IPS NEWS By Marcela Valente BUENOS AIRES, Apr 6, 2006 (IPS)
- ↑ การสวนกระแสตรรกะทุนนิยม: กิจการที่คนงานกอบกู้ในอาร์เจนตินาปรากฏการณ์ใหม่ที่ลูกจ้างยึดสถานประกอบการมาบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล นักวิชาการอิสระ โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
- ↑ กมล กมลตระกูล, อย่าร้องไห้ตามอาร์เจนตินา, มติชน, กรุงเทพ, 2549, ISBN 974-323-827-1
- ↑ อาร์เจนตินาที่ลุกเป็นไฟ เก็บถาวร 2009-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอาร์เจนตินาที่ลุกเป็นไฟ (สุรพล ธรรมร่มดี, กรุงเทพธุรกิจ, วันที่ 28 พฤศจิกายน 2545)
- ↑ วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา
- ↑ Argentine economic crisis (1999–2002)
- ↑ No Chains, a collaborative project undertaken by the two worker cooperatives “20th of December” (La Alameda) in Argentina and “Dignity Returns” in Thailand, 2 กุมภาพันธ์ 2552 11:00
- ↑ Fine Art Magazine - No Chains: Call for Artists : ไร้โซ่ตรวน รับสมัครศิลปิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ CALL FOR ARTISTS, No Chains Project CALL FOR ARTISTS, No Chains Project
- ↑ Fashioning an Ethical Industry - A labour behind the label project [ลิงก์เสีย]Fashioning an Ethical Industry - A labour behind the label project
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]เว็บไซต์ ดิกนีตี้รีเทิร์นส์เก็บถาวร 2010-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน- โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เก็บถาวร 2017-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โนเชนส์ องค์กรความร่วมมือระหว่างคนงานอาร์เจนตินาและคนงานไทย เก็บถาวร 2010-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศิลปะเพื่อชีวิต คอนเฟอเรนซ์ ออฟเบิร์ดส์ ที่ โรงงานรับผลิตกระเป๋า