ข้ามไปเนื้อหา

ดาเมียตตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาเมียตตา

دمياط
เมือง
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
สะพานเก่า, ทางเข้ามัสยิด Maeini, Damietta Cornich, โดมมัสยิด Maeini, ที่ตกปลาในดาเมียตตา
ตราอย่างเป็นทางการของดาเมียตตา
ตรา
ดาเมียตตาตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
ดาเมียตตา
ดาเมียตตา
ที่ตั้งในประเทศอียิปต์
พิกัด: 31°25′N 31°49′E / 31.417°N 31.817°E / 31.417; 31.817
ประเทศ อียิปต์
เขตดาเมียตตา
ความสูง5 เมตร (16 ฟุต)
ประชากร
 (2012)
 • เมือง337,303 คน
 • รวมปริมณฑล1,100,000 คน
เขตเวลาUTC+2 (EST)
รหัสพื้นที่(+20) 57
การยึดเมืองดาเมียตตาโดยนักรบครูเสด

ดาเมียตตา (อังกฤษ: Damietta หรือ Damiata หรือ Domyat) หรือ ดุมยาฏ (อาหรับ: دمياط) เป็นเมืองท่าและเมืองหลักของเขตผู้ว่าการดาเมียตตาในประเทศอียิปต์ ดาเมียตตาตั้งอยู่ที่จุดที่แม่น้ำไนล์ไหลออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนราว 200 กิโลเมตรทางตอนเหนือของกรุงไคโร

ประวัติ

[แก้]

ในสมัยอียิปต์โบราณดาเมียตตามีชื่อว่า “ทามิยัด” (Tamiat) และลดความสำคัญลงในสมัยการปกครองของกรีกหลังจากการสร้างเมืองอเล็กซานเดรีย

อับบาซียะฮ์ใช้อเล็กซานเดรีย, ดาเมียตตา, อาเดน และ ซิราฟเป็นเมืองท่าสำหรับการเดินทางไปอินเดียและจีน[1]

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ดาเมียตตากลายมามีความสำคัญระหว่างสงครามครูเสดในปี ค.ศ. 1169 กองเรือจากราชอาณาจักรเยรูซาเลมพร้อมด้วยกองหนุนจากจักรวรรดิไบแซนไทน์พยายามโจมตีแต่พ่ายแพ้ต่อเศาะลาฮุดดีน

ระหว่างการเตรียมตัวทำสงครามครูเสดครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1217 ก็เป็นที่ตกลงกันว่าควรจะยึดเมืองดาเมียตตา การควบคุมดาเมียตตาได้หมายถึงการควบคุมแม่น้ำไนล์และจากที่นั่นนักรบครูเสดก็มีความเชื่อว่าจะสามารถพิชิตอียิปต์ได้ และจากอียิปต์ก็สามารถดำเนินการรบต่อไปยังปาเลสไตน์และยึดเยรูซาเลมคืน เมื่อดาเมียตตาถูกล้อมและยึดโดยนักรบครูเสดฟริเซียในปี ค.ศ. 1219 นักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิก็เดินทางมาเจรจาต่อรองสงบศึกกับประมุขของมุสลิม ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1218 กองหนุนจากอังกฤษก็มาถึง[2] ในปี ค.ศ. 1221 นักรบครูเสดพยายามเดินทัพไปยังไคโรแต่ไม่สำเร็จเพราะแพ้ธรรมชาติและกองกำลังป้องกันของมุสลิม

ต่อมาดาเมียตตาก็เป็นเป้าของสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ที่นำโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส กองเรือของพระองค์มาถึงในปี ค.ศ. 1249 และสามารถยึดเมืองได้อย่างรวดเร็จ แต่พระองค์ไม่ทรงยอมยกให้กษัตริย์แต่ในนามของเยรูซาเลมที่ได้สัญญากันไว้ตั้งแต่สงครามครูเสดครั้งที่ 5 แต่พระเจ้าหลุยส์เองต่อมาก็ทรงถูกจับและพ่ายแพ้และทรงถูกบังคับให้ยกเลิกการยึดดาเมียตตา

ความสำคัญของดาเมียตตาต่อนักรบครูเสดทำให้สุลต่านมามลุคไบบาร์ทำลายเมืองและสร้างใหม่สองสามกิโลเมตรจากแม่น้ำให้มีป้อมปราการที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของดาเมียตตา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.2
(63)
18.1
(64.6)
19.9
(67.8)
23.2
(73.8)
27.3
(81.1)
28.8
(83.8)
29.9
(85.8)
30.3
(86.5)
28.9
(84)
27.3
(81.1)
23.8
(74.8)
19.2
(66.6)
24.49
(76.09)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 13.2
(55.8)
13.8
(56.8)
15.4
(59.7)
18.4
(65.1)
22.2
(72)
24.2
(75.6)
25.9
(78.6)
26.3
(79.3)
24.8
(76.6)
23.3
(73.9)
19.8
(67.6)
15.2
(59.4)
20.21
(68.38)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.2
(48.6)
9.6
(49.3)
11.0
(51.8)
13.6
(56.5)
17.1
(62.8)
19.7
(67.5)
22.0
(71.6)
22.3
(72.1)
20.7
(69.3)
19.3
(66.7)
15.8
(60.4)
11.3
(52.3)
15.97
(60.74)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 26
(1.02)
18
(0.71)
13
(0.51)
5
(0.2)
2
(0.08)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
7
(0.28)
15
(0.59)
25
(0.98)
111
(4.37)
แหล่งที่มา: climate-data.org[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Donkin, Robin A. (2003). Between East and West: The Moluccas and the Traffic in Spices Up to the Arrival of Europeans. Diane Publishing Company. ISBN 0871692481.
  2. Remfry, P.M., (1997). Buckenham Castles, 'The Aubignys and the Fifth Crusade, 1218 to 1221'. ISBN 1-899376-05-4.
  3. "Climate: Dumiat - Climate graph, Temperature graph, Climate table". climate-data.org. สืบค้นเมื่อ 13 August 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]