ข้ามไปเนื้อหา

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II
หน้าปกโดยทากูฮิโตะ คูซานางิ
ผู้พัฒนาฮัดสันซอฟต์
ผู้จัดจำหน่าย
อำนวยการผลิตยูจิ คุโด
ออกแบบคาซูโตชิ อูเอดะ
อุนเซ มัตสึซาวะ
โปรแกรมเมอร์มาโมรุ ชิราตานิ
โนริโอะ ซูซูกิ
ทากูยะ โคจิมะ
ศิลปินเคโกะ ซาโต
มิยูกิ ฮงมะ
ชิโนบุ จิงโนะ
เขียนบทฟูมิโตโมะ โนมูระ
แต่งเพลงโยชิโอะ สึรุ (ไม่ได้รับเครดิต)
ชุดดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์
เครื่องเล่นเทอร์โบดูโอ
วางจำหน่าย
แนวเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท, ตะลุยดันเจียน, สับและเฉือน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (มากถึงห้าผู้เล่นผ่านเทอร์โบแทป)

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II[a] (อังกฤษ: Dungeon Explorer II) เป็นวิดีโอเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่พัฒนาและเผยแพร่โดยฮัดสันซอฟต์สำหรับเทอร์โบดูโอ ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1993 และต่อมาในทวีปอเมริกาเหนือโดยเทอร์โบเทคโนโลจีส์ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[1][2] โดยเป็นภาคต่อของดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ ใน ค.ศ. 1989 และเป็นภาคที่สองในแฟรนไชส์ชื่อนี้[3]

โดยเป็นฉากหนึ่งศตวรรษหลังจากล่มสลายของราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัสในดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ภาคแรกเริ่ม ซึ่งผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในแปดตัวละครหลักที่ได้รับมอบหมายให้กู้คืนศิลาโอราจากนักเวทมนตร์ผู้ชั่วร้ายที่ชื่อฟาเดส ซึ่งขโมยมาจากกษัตริย์เอิร์ลที่ 2 เพื่อชุบชีวิตนาตัส รวมถึงในคำสั่งเพื่อช่วยดินแดนแห่งออดดีเซียจากการถูกทำลาย ในขณะเดียวกันก็ช่วยเจ้าหญิงมิเรียมแห่งโซลิส ซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันโดยเหล่ามอนสเตอร์ แม้ว่าจะมีการเปิดตัวครั้งแรกสำหรับเทอร์โบดูโอ แต่ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในภายหลังผ่านบริการดาวน์โหลดสำหรับเครื่องเล่นต่าง ๆ

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการตอบรับส่วนใหญ่ในเชิงบวกจากนักวิจารณ์ตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในเทอร์โบดูโอ โดยได้รับคำชมด้านกราฟิก, เสียง, รูปแบบการเล่น และโหมดหลายผู้เล่น

รูปแบบการเล่น

[แก้]
ภาพหน้าจอรูปแบบการเล่น

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่มีองค์ประกอบแนวตะลุยดันเจียนรวมถึงสับและเฉือนมุมมองจากบนลงล่างเช่นเดียวกับภาคก่อน โดยผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในตัวละครหลักแปดตัวที่ได้รับมอบหมายให้กู้คืนศิลาโอราจากฟาเดส นักเวทมนตร์ผู้ชั่วร้ายที่ขโมยมาจากกษัตริย์เอิร์ลที่ 2 เพื่อชุบชีวิตราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส เพื่อช่วยดินแดนแห่งออดดีเซียจากการถูกทำลาย ในขณะเดียวกันก็ช่วยเจ้าหญิงมิเรียมแห่งโซลิส ที่ถูกจับเป็นตัวประกันโดยเหล่ามอนสเตอร์ตามวัตถุประสงค์หลัก[3][4][5][6] เช่นเดียวกับภาคก่อน ตัวละครแต่ละตัวอยู่ในคลาสใดคลาสหนึ่ง และความสามารถของพวกเขาแตกต่างกันไปตามเวทมนตร์ขาวหรือดำเป็นหลัก เช่นเดียวกับสถิติ อย่างไรก็ตาม ตัวละครแต่ละตัวสามารถอัปเกรดเป็นคลาสใหม่ได้[3][4][5][6] นอกจากนี้ จะมีการแบ่งปันชีวิตระหว่างผู้เล่น และเมื่อชีวิตทั้งหมดหายไป จะเกมโอเวอร์ แม้ว่าจะสามารถได้รับมากขึ้นโดยการเล่นมินิเกมการพนันกับกริม รีปเปอร์[5][6] เช่นเดียวกับภาคแรก ที่เกมรองรับผู้เล่นห้าคนพร้อมกัน[4][5] ตลอดจนมีการใช้ระบบพาสเวิร์ดเช่นกัน

เรื่องย่อ

[แก้]

โครงเรื่อง

[แก้]

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II เกิดขึ้นในหนึ่งศตวรรษหลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นในดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ภาคแรก[3][4][5][6] หลังจากการตายของราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส ศิลาโอราได้อยู่ในมือของชาวออดดีเซียอีกครั้ง โดยได้ฟื้นฟูความสงบสุขทั่วแผ่นดิน และป้องกันความชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาหลายปี จนกระทั่งฟาเดส สาวกผู้ซื่อสัตย์ของนาตัสได้ชุบชีวิตมันอีกครั้งหลังจากปลงพระชนม์กษัตริย์เอิร์ลที่ 2 รวมถึงขโมยศิลาโอราไปจากพระองค์ อันส่งผลให้ออดดีเซียไปสู่หนทางแห่งหายนะ ในช่วงเวลาเดียวกัน เจ้าหญิงมิเรียมแห่งโซลิสได้ถูกจับเป็นตัวประกันโดยมอนสเตอร์ที่ชื่อมายนอส ซึ่งเป็นมนุษย์วัว ขณะที่เยือนอาร์ดีน กลุ่มตัวละครแปดตัวได้รับมอบหมายให้นำศิลาโอรามาเพื่อช่วยดินแดนแห่งออดดีเซีย ขณะที่ช่วยเจ้าหญิงมิเรียมจากการถูกจองจำ

ตัวละคร

[แก้]

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II เริ่มแรกมีตัวละครที่สามารถเล่นได้แปดตัวในตอนเริ่มต้น ในขณะที่ตัวละครที่สามารถเล่นได้มากกว่านี้สามารถปลดล็อกได้ด้วยภารกิจบางอย่างระหว่างการเล่นเกม:[3][4][5][6]

  • อเล็กซ์: นักรบที่มีพลังโจมตีสูง
  • เซปี: โจรที่ขโมยสิ่งของจากศัตรู
  • เอเฟรม: พ่อมดผู้เชี่ยวชาญเวทย์มนตร์
  • ซอร์น: เคลริกที่ขาดทั้งพละกำลังและความเร็ว
  • ไรเอิต: นักดนตรีที่ขาดประสบการณ์การต่อสู้
  • อาร์ดิน: นักติดตามนักล่า
  • ดอร์ซ: คนแคระที่มีพละกำลังและพลังโจมตีสูง
  • ฟีนา: เอลฟ์ที่ต้านทานพิษ
  • เกว็น: แม่มดที่ต้านทานพิษสูง
  • มิเรียม: นักรบและเจ้าหญิงแห่งโซลิส

การพัฒนาและการตลาด

[แก้]

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการแสดงตัวอย่างครั้งแรกผ่านนิตยสารวิดีโอเกมใน ค.ศ. 1992[4][7] ในขณะที่วันวางจำหน่ายถูกเลื่อนออกไปหลายครั้งก่อนการเปิดตัว[8][9][10][11] ส่วนซาวด์แทร็กนี้แต่งโดยโยชิโอะ สึรุ แห่งคอมโพซิลลา แม้ว่าจะไม่มีชื่อดังกล่าวในเครดิตของเกมก็ตาม[12][13] ทั้งนี้ บริษัทเทอร์โบเทคโนโลจีส์ได้จัดการการแปลและปรับให้เข้ากับท้องถิ่นภาษาอังกฤษ ในขณะที่เวิร์กกิงดีไซส์ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายสัญชาติอเมริกันมีหน้าที่รับผิดชอบในการพากย์เสียงภาษาอังกฤษ[14]

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II เผยแพร่ครั้งแรกโดยฮัดสันซอฟต์สำหรับเทอร์โบดูโอในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1993 และในทวีปอเมริกาเหนือโดยเทอร์โบเทคโนโลจีส์ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[1][2] กระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม อัลบั้มที่มีแทร็กเพลงจากเกมได้รับการเผยแพร่เฉพาะในญี่ปุ่นโดยฮัดสันซอฟต์[12][13] เนื่องจากการเปิดตัวในช่วงสิ้นสุดวงจรชีวิตของส่วนเสริม การเปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือจึงกลายเป็นหนึ่งในเกมที่มีราคาแพงกว่าแพลตฟอร์มดังกล่าว พร้อมกอปปีซึ่งน่าดึงดูดใจกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐในตลาดสะสมวิดีโอเกมสำรอง[15] เกมดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ซ้ำหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในแพลตฟอร์มการเผยแพร่ทางดิจิทัลต่าง ๆ เช่น เวอร์ชวลคอนโซล, เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก และนินเท็นโด อีชอป[16][17]

คริสตัลบีนส์ฟรอมดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์

[แก้]

ส่วนดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II เวอร์ชันดัดแปลงขนานใหญ่ในชื่อคริสตัลบีนส์ฟรอมดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการพัฒนาสำหรับซูเปอร์แฟมิคอม และวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1995[18]

การตอบรับ

[แก้]
การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ออลเกม4/5 stars[19]
คอนโซลส์ +75%[20]
แฟมิซือ19 / 40[1]
เกมแฟน340 / 400[21]
จอยแพด84 เปอร์เซ็นต์[22]
เมกาฟัน83 เปอร์เซ็นต์[23]
ดูโอเวิลด์8 / 10[2]
วิดีโอเกมส์5 / 10[24]

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักวิจารณ์ตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในเทอร์โบดูโอ[20][1][25] ส่วนการตอบรับของสาธารณชนก็เป็นไปในเชิงบวกเช่นกัน ผู้อ่านนิตยสารพีซี เอนจินแฟน โหวตให้เกมนี้ที่ 23.53 คะแนนเต็ม 30 และอยู่ในอันดับที่ 63 ในโพล โดยบ่งชี้ว่ามีผู้ติดตามจำนวนมาก[26]

นิตยสารเกมโปรได้วิพากษ์วิจารณ์กราฟิกของดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์สำหรับฉากหลังที่ซ้ำซากและสไตล์ "การ์ตูน" ตลอดจนกล่าวว่าเสียงดนตรีของเกมนั้นเหมือนออกนอกสถานที่จนแปลกใจ เปรียบเสมือนกับเสียงดนตรีงานเลี้ยงโพลกา และ "เลิฟส์ธีม" ของเดอะเลิฟอันลิมิเต็ดออร์เคสตรา พวกเขายกย่องการแสดงเสียง รวมถึงเอฟเฟกต์เสียง "คุกคาม" และกล่าวว่าแม้ว่าศัตรูและบอสจะเอาชนะได้ง่ายเกินไป แต่ความยาวของเกมก็เพียงพอแล้วที่จะตอบสนองผู้ที่ชื่นชอบเกมเล่นตามบทบาท[27] ตรงกันข้ามกับนิตยสารดูโอเวิลด์ที่กล่าวว่าเสียงดนตรี "เข้ากับโทนที่ชั่วร้ายของเกมได้ดี" และ "ดีมาก ไม่น่าเชื่อว่าคุณกำลังเล่นวิดีโอเกมอยู่" พวกเขายังยกย่องการสนับสนุนผู้เล่นห้าคนและมินิเกมการพนัน ในขณะที่เห็นด้วยว่าการต่อสู้ไม่ได้ยากเป็นพิเศษ โดยให้เหตุผลว่าการหาตัวละครที่ต้องพูดคุยเพื่อความก้าวหน้าในการผจญภัยเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก[2]

นักวิจารณ์สี่คนของนิตยสารเกมแฟนยกย่องการนำเสนอภาพและเสียง, การผสมผสานระหว่างแอ็กชันและกลยุทธ์, รูปแบบการเล่นที่น่าติดตาม และการสนับสนุนผู้เล่นห้าคน[21] ส่วนเกรกอรี เอลูต์ และฌ็อง-ฟร็องซัว โมรีส์ แห่งนิตยสารจอยแพดได้ยกย่องกราฟิก, แอนิเมชันของตัวละคร, การออกแบบเสียง, การควบคุม และผู้เล่นหลายคน แต่ติเตียนว่าไม่มีความคิดริเริ่ม[22] ขณะที่สเตฟาน เฮลเลิร์ต และมาร์ติน ไวด์เนอร์ จากเมกะฟันรู้สึกว่าภาพนั้นคล้ายกับเกมภาคแรก แต่ให้ข้อสังเกตในเชิงบวกต่อบรรยากาศเสียงและผู้เล่นหลายคน แต่ก็ติเตียนองค์ประกอบการเล่นตามบทบาทและรูปแบบการเล่นที่ซ้ำซากจำเจ[23] ส่วนนิคอส คอนสแตนต์ จากนิตยสารวิดีโอเกมส์ชอบองค์ประกอบแบบผู้เล่นหลายคน และมินิเกมการพนัน แต่ติเตียนกราฟิก, เสียง และรูปแบบการเล่น[24]

ในการวิจารณ์ย้อนหลัง เว็บไซต์ออลเกมกล่าวว่าดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II "นำเสนอเนื้อเรื่องที่ทำให้ได้สัดส่วนมหากาพย์ ซึ่งล้อมรอบเกมแอ็กชันที่สนุกมาก" พวกเขายกย่องพิสัยของความเป็นไปได้และกลยุทธ์ในการพัฒนาตัวละครโดยเฉพาะ โดยเฉพาะในระหว่างเกมที่มีผู้เล่นหลายคน[19]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ダンジョン エクスプローラー II Danjon Ekusupurōrā II

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ダンジョンエクスプローラーII (PCエンジン) - ファミ通.com". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Game Linkage. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-08. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Lacan, Jack (September–October 1993). "Reviews (Duo/TG-16) - Dungeon Explorer II". DuoWorld. No. 2. L.F.P., Inc. pp. 14–15.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Kalata, Kurt (December 17, 2008). "Dungeon Explorer II". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "TurboPreviews - Duo Data: Dungeon Explorer II". TurboForce. No. 4. Sendai Publishing. April 1993. p. 17.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Dungeon Explorer II manual (TurboGrafx-CD, US)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Hurler, Cloud (2020). "Dungeon Explorer II - RPGFan Reviews". RPGFan. RPGFan Media, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  7. "Coming Soon Information - Coming Soon!". TurboForce. No. 1. Sendai Publishing. June 1992. p. 24.
  8. Bieniek, Chris (June–July 1992). "Coming Soon..." TurboPlay. No. 13. L.F.P., Inc. p. 28.
  9. Bieniek, Chris (August–September 1992). "Coming Soon..." TurboPlay. No. 14. L.F.P., Inc. p. 30.
  10. "Coming Attractions - A Little Bit Of 1993!". TurboForce. No. 2. Sendai Publishing. September 1992. p. 28.
  11. "TurboPreview: Dungeon Explorer II". TurboForce. No. 3. Sendai Publishing. January 1993. p. 10.
  12. 12.0 12.1 "HCD-2010T | Hudson's CD Game Music Collection '93". vgmdb.net. VGMdb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-06. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  13. 13.0 13.1 "HCD-2041 | 1993 Hudson CD•ROM² Complete Music Works". vgmdb.net. VGMdb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  14. Bieniek, Chris (July–August 1993). "Coming Soon to a Duo near you! - Dungeon Explorer II". DuoWorld. No. 2. L.F.P., Inc. p. 28.
  15. Reichert, Nick (July 24, 2018). "The Rarest & Most Valuable PC Engine/TurboGrafx 16 Games". Racketboy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 5, 2018. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  16. "Wii Soft > 2008 (Virtual Console - バーチャルコンソール)" (ภาษาญี่ปุ่น). GAME Data Room. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  17. "DUNGEON EXPLORER II on PS3". PlayStation Store. Sony Interactive Entertainment. October 14, 2010. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  18. Kalata, Kurt (December 17, 2008). "Crystal Beans From Dungeon Explorer". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  19. 19.0 19.1 Knight, Kyle (1998). "Dungeon Explorer 2 [Japanese] - Review". AllGame. All Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  20. 20.0 20.1 "Top / Flop - Dungeon Explorer (Hudson Soft - PCE CD- ROM)". Consoles + (ภาษาฝรั่งเศส). No. 27. M.E.R.7. December 1993. p. 10.
  21. 21.0 21.1 Halverson, Dave; Sgt. Gamer; Stratton, Tom; Cockburn, Andrew (May 1993). "Viewpoint (Turbo) - Dungeon Explorer 2". GameFan. Vol. 1 no. 6. DieHard Gamers Club. p. 21.
  22. 22.0 22.1 Hellot, Grégoire; Morisse, Jean-François (June 1993). "Super CD Rom 2: Ou Est-Elle La Princesse?!? – Dungeon Explorer II". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 21. Yellow Media. pp. 132–133.
  23. 23.0 23.1 Hellert, Stefan; Weidner, Martin (July 1993). "Test Turbo Duo: Dungeon Explorer II - Endlich ist die lang erwartete Fortsetzung zu Dungeon Explorer von Hudson Soft erschienen". Mega Fun (ภาษาเยอรมัน). No. 33. Computec. p. 96.
  24. 24.0 24.1 Constant, Nikos (January 1994). "Reviews - Duo/TG-16 - Dungeon Explorer II". VideoGames - The Ultimate Gaming Magazine. No. 60. L.F.P., Inc. p. 647.
  25. "ダンジョン エクスプローラーII". Gekkan PC Engine (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan.
  26. "PC Engine All Catalog '93 10月号特別付録 - ダンジョンエクスプローラーII". PC Engine Fan (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 6 no. 10. Tokuma Shoten. October 1, 1993. p. 43.
  27. Lawrence of Arcadia (November 1993). "Dungeon Explorer II". GamePro. No. 62. IDG. p. 253.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]