ดอกดิน (พืช)
หน้าตา
ดอกดิน | |
---|---|
ดอกดิน Aeginetia indica | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Orobanchaceae |
สกุล: | Aeginetia |
สปีชีส์: | A. indica |
ชื่อทวินาม | |
Aeginetia indica Linnaeus, 1753 |
ดอกดิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aeginetia indica) ชื่ออื่นๆคือ ดอกดินแดง ซอซวย ปากจะเข้ สบแล้ง หญ้าดอกขอ เป็นพืชขนาดเล็ก ไม่มีใบ มีชีวิตอยู่แบบกาฝาก ต้นเป็นปุ่มปมเบียนอยู่กับรากไม้หรือหญ้า ลำต้นเกาะอยู่ตามรากไม้ใต้ดิน เช่นรากไผ่หรือรากหญ้าคา ก้านดอกสีขาวนวล ดอกโผล่มาเหนือดิน กลีบดอกเป็นหลอด สีม่วงเข้ม ตอนปลายเป็นแฉก พบในที่ร่มและชื้นช่วงฤดูฝน
ในดอกมีสารสีดำชื่อออคิวบิน ใช่แต่งสีดำในขนมบางชนิดเช่นขนมดอกดิน โดยนำดอกสดไปผึ่งแดดพอหมาด แล้วสับรวมกับแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า และกะทิ ขนมนี้ถ้าใส่ดอกดินอย่างเดียว จะไม่เป็นสีดำ แต่เป็นสีน้ำตาลคล้ายกาแฟ ใส่มากขึ้นทำให้ขนมขื่น จึงแต่งสีดำด้วยกาบมะพร้าวเผาไฟ แล้วนำไปนึ่งให้สุก
อ้างอิง
[แก้]- วันดี กฤษณพันธ์. สมุนไพรสารพัดประโยชน์. กทม. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538
- เส้นทางขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2553. หน้า 93 - 95