ข้ามไปเนื้อหา

ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รศ. ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง

รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง[แก้]

ปัจจุบัน ปี 2567 ตำรงตำแหน่ง รองหัวหน้า พรรครวมไทยสร้างชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยยังคงทำงานด้านการศึกษาในการเป็น รองประธานกรรมาธิการการศึกษา และกรรมาธิการ กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้มีความหลากหลายทางเพศ

รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง (ดร๊าฟ) เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 เป็นบุตรของ  ศาสตราจารย์ ดร. บังอร เบ็ญจาธิกุล

การศึกษา[แก้]

ระดับปริญญาเอก: รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

- หลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.) รุ่น4 สถาบันพระปกเกล้า

- หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐ และกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่น17 สถาบันพระปกเกล้า

- หลักสูตรนักบริหารยุคใหม่เพื่องานพิทักษ์สันติราษฎร์ (บพส.)  รุ่น1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ประวัติการทำงาน[แก้]

ด้านการศึกษา[แก้]

· ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีโพลีกรุงเทพ

· ผู้อำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษากรุงเทพธนบุรี

· ตำแหน่งรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา และ คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

· คณบดี คณะรัฐศาสตร์

เมื่อครั้งเป็นหัวหน้าทีมกีฬาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ก็คว้าแชมป์กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 5 สมัยซ้อน

ด้านการเมือง[แก้]

·  ปี พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 25 ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้น ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์สุดท้ายแล้วได้ถึงลำดับที่ 36

· ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน

· เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

· โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

· คณะทำงานกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

หลังจากที่ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไปร่วมงานกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน และเลขาธิการพรรครวมพลังประชาชาติไทย ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนกระทรวงโดยการดูแลของพรรค เป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และโฆษกกระทรวง จนจบสมัยรัฐบาล

บทบาทสำคัญในด้านต่างๆ[แก้]

บทบาทสำคัญทางการเมือง[แก้]

· สร้างและสนับสนุน Soft Power เพื่อเพิ่มศักยภาพและมูลค่าให้กับสังคม สนับสนุนและส่งเสริมการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

· สนับสนุนและส่งเสริมและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

· วางแผนกลยุทธ์ในรูปแบบนวัตกรรมการสื่อสาร

บทบาทด้านการผลักดันความเท่าเทียมด้านการศึกษา[แก้]

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง นำทีมบรรยายพิเศษทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏฺบัติ ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในหัวข้อ Branding of the organization และ How to give a speech in the public แหล่งอ้างอิง

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เปิดเผยข้อมูลในสภาเกี่ยวกับการขาดโอกาสทางการศึกษาเข้าไม่ถึงสิทธิด้านการศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษา ของเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งขาดแคลนด้านโอกาสในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมและด้านเงินทุน แหล่งอ้างอิง

เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ อภิปรายในสภา เรื่องให้มีการจัดงบประมาณด้านการศึกษาให้ตรงกับความต้องการในพื้นที่ ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ และตรงกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอันเป็นส่วนสำคัญของประเทศ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แหล่งอ้างอิง

รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ ในฐานะโฆษกกระทรวง ได้จัดรายการ "ออน เดอะ เวย์" ตอนแรกออกอากาศเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565 โดยการนำศิลปินนักแสดงรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง นำมาเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยให้ศิลปินนักแสดงคืนสู่มหาวิทยาลัยที่ตนเองเคยศึกษาและทำภารกิจในการค้นหาความคิดสร้างสรรค์จากความทรงจำที่ประทับใจในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนิสิตนักศึกษาผ่าน Soft Power นั่นคือศิลปินและศิลปะการแสดงนั่นเอง แหล่งอ้างอิง

บทบาทด้านการผลักดันความเท่าเทียมทางเพศ[แก้]

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงฤทธิ์ อภิปรายในสภาได้เห็นถึงความเท่าเทียมทางกฎหมายที่ต้องปฏิบัติให้เท่าเทียมและเป็นธรรมโดยไม่จำกัดเพศ สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพย์สินระหว่างใช้ชีวิตคู่ LGBTQ+ ควรได้รับสิทธิเท่าเทียมเท่าคู่สมรสตามกฎหมายปกติ แหล่งอ้างอิง

บทบาทด้านการพัฒนาสังคม[แก้]

โครงการ อว.พารอด เมื่อวันที่ 26 มค. 64 ที่ผ่านไปนั้น เป็นอีกหนึ่งโครงการในสมัยที่ รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ ยังดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการนี้จัดขึ้นมาเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความต้องการยารักษาโรคและกำลังใจในการรักษาตนเองให้หายป่วยจากโรค Covid-19 ด้วยการให้จิตอาสาส่งยาสมุนไพรและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับผู้ป่วย ด้วย "กล่อง อว.พารอด" รวมถึงโทรศัพท์พูดคุยกันใน Community Isolation นอกจากเอาไว้สอบถามอาการประจำวันแล้ว ยังพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วยได้ด้วย โดยเริ่มนำร่องจากโรงพยาบาลในเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) ก่อนและจะขยายไปสู่โรงพยาบาลในภาคส่วนอื่นต่อไป แหล่งอ้างอิง

28 มี.ค. 65 รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ ได้เป็นประธานเปิดงาน "โฆษกกระทรวง อว. รุ่น 3" ณ พิพิธภัณฑ์พระราม 9 จ.ปทุมธานี มีเยาวชนเข้าร่วมอบรม 100 คน ตามจุดประสงค์ของการจัดโครงการอบรมให้ความรู้ นั่นคือ สนับสนุนให้มีความรู้ในการสร้างรายได้หรือสร้างอาชีพในอนาคต เป็นนักการสื่อสารที่ดี มีความรู้เท่าทันข่าวปลอม และส่งมอบองค์ความรู้นี้สู่สังคมเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา ผ่านการให้ความรู้ด้านการอบรมการสื่อสารของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยมีพิธีกรรายการตลอดจนถึงผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ผู้มีความรู้มาอบรมให้ความรู้กับเยาวชน และที่เยาวชนจะได้นำความรู้จากโครงการนี้เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมต่อไป แหล่งอ้างอิง