ญิฮาดี จอห์น
มุฮัมมัด เอ็มวาซี | |
---|---|
เอ็มวาซีซึ่งสวมหน้ากากในวิดีโอการสังหาร | |
เกิด | มุฮัมมัด จัสซิม อับดุลคาริม โอลายัน อัซซอฟิรี 17 สิงหาคม ค.ศ. 1988[1] ประเทศคูเวต[2] |
เสียชีวิต | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 (27 ปี) อัรร็อกเกาะฮ์ ประเทศซีเรีย |
สาเหตุเสียชีวิต | โดรนโจมตี |
ชื่ออื่น | "มุฮัมมัด เอ็มวาซี"[3] "จอห์นเดอะบีเทิล"[4] "จอห์นผู้คุม"[5] อะบู อับดุลลอฮ์ อัล-บริทานี[6] อะบู มูฮาริบ อัล-เยเมนี[7] มุฮัมมัด อัล-เอยาน[8] มุฮัมมัด อิบน์ มูอัสซัม[9] มุฮัมมัด อัล-ซูฮารี[10] อะบู มูฮาริบ อัล-มูฮาจีร์[11] |
พลเมือง | อังกฤษ[12] |
การศึกษา | วท.บ. (เกียรตินิยมอันดับสองระดับล่าง) ในสาขาระบบสารสนเทศกับการจัดการธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 2009)[13][14] |
มีชื่อเสียงจาก | การตัดศีรษะ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | แนวร่วมอัลนุสเราะ (ค.ศ. 2012–13)[7] ไอเอส (ค.ศ. 2013–15)[7] |
ประจำการ | ค.ศ. 2013–2015[15] |
การยุทธ์ | ประเทศซีเรีย |
มุฮัมมัด เอ็มวาซี (ชื่อเกิด มุฮัมมัด จัสซิม อับดุลคาริม โอลายัน อัซซอฟิรี; อาหรับ: محمد جاسم عبد الكريم عليان الظفيري; 17 สิงหาคม ค.ศ. 1988 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015) เป็นชาวอังกฤษอาหรับ ที่เชื่อว่าเป็นบุคคลที่ปรากฎในหลายวิดีโอที่ทำขึ้นโดยกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงไอเอส ด้วยการอวดการตัดศีรษะของเชลยจำนวนหนึ่งในปี ค.ศ. 2014 และ 2015 กลุ่มตัวประกันเรียกชื่อเขาว่า "จอห์น" เนื่องจากเขาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มก่อการร้ายสี่คนที่มีสำเนียงอังกฤษ ซึ่งพวกเขาถูกเรียกในนาม "เดอะบีเทิล" และภายหลังทางหนังสือพิมพ์ได้เรียกเขาในชื่อ "ญิฮาดี จอห์น"[3]
ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 เจ้าหน้าที่สหรัฐรายงานว่าเอ็มวาซีถูกโจมตีด้วยโดรนโจมตีในอัรร็อกเกาะฮ์ ประเทศซีเรีย[16] การตายของเขาได้รับการยืนยันโดยกลุ่มไอเอสในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016[11]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]เอ็มวาซีมีชื่อแรกเกิดคือมุฮัมมัด จัสซิม อับดุลคาริม โอลายัน อัซซอฟิรี[17] เขาเกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ที่ประเทศคูเวต[1] ในฐานะลูกคนโตของพี่น้องรวมห้าคน[18] โดยเป็นบุตรของจัสเซ็ม และกาเนยะฮ์ เอ็มวาซี[15] ครอบครัวของเขามาจากประเทศอิรักโดยไม่มีสัญชาติ[15] ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองอัลยะฮ์รออ์[19] ก่อนที่จะย้ายไปสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1994 เมื่อเขาอายุหกขวบ[20] พวกเขาตั้งรกรากอยู่ในลอนดอนฝั่งตะวันตก โดยย้ายทรัพย์สมบัติมาอยู่ในไมดาเวล[18] ต่อมาได้อยู่ในเซนต์จอห์นสวูดและควีนส์พาร์กในที่สุด[18][21] เอ็มวาซีเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมแห่งประเทศอังกฤษเซนต์แมรีแม็กดาลีนเชิร์ช และต่อมาที่โรงเรียนควินติน คีนาสตัน[12]
ในปี ค.ศ. 2006 เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ สาขาระบบสารสนเทศและการจัดการธุรกิจ โดยได้รับวิทยาศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับสองระดับล่างเมื่อสำเร็จการศึกษาในสามปีต่อมา[12] ขณะอายุ 21 ปี เขาทำงานเป็นพนักงานขายของบริษัทไอทีในประเทศคูเวต และได้รับการพิจารณาจากเจ้านายว่าเป็นพนักงานที่ดีที่สุดของบริษัทเท่าที่เคยมีมา[15]
นามสมญา
[แก้]เอ็มวาซีได้รับฉายา "จอห์น" โดยกลุ่มตัวประกันของเขา ตัวประกันกล่าวว่าเขาได้เตรียมตัวประกันชาวตะวันตกไว้ในขณะที่จัดการสื่อสารกับครอบครัวของพวกเขา และเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ได้รับการเรียกในนาม 'เดอะบีเทิล' เพราะสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีสำเนียงอังกฤษ[22] ฉายาของเขาอิงมาจากจอห์น เลนนอน แห่งวงเดอะบีเทิลส์ โดยสมาชิกกลุ่มอีกสามคนที่เหลือได้รับการตั้งชื่อตามสมาชิกวงเดอะบีเทิลส์เช่นกัน
นามสมญา "ญิฮาดี จอห์น", "จอห์นผู้คุม" และ "จอห์นเดอะบีเทิล" ได้รับการตั้งขึ้นโดยนักข่าว[3] ชื่อ "ญิฮาดี จอห์น" ถูกนำมาใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ในนิตยสารอนุรักษ์นิยมของอังกฤษอย่างเดอะสเปกเตเตอร์ ในหัวข้อ "ญิฮาดี จอห์น - การส่งออกของอังกฤษโดยแท้" โดยดักลาส เมอร์เรย์ ซึ่งเป็นนักวิจารณ์ศาสนาอิสลามอยู่เป็นประจำ[23] ส่วนเดอะเดลีเมล์ ใช้ชื่อ "ญิฮาดี จอห์น" ครั้งแรกในวันที่ 21 สิงหาคม[24] ไม่นานหลังจากประสมโรงโดยบีบีซีและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ[25]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "First Photo of 'Jihadi John' As Adult Revealed". Sky News. 27 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-17. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
- ↑ "Mother recognised Mohammed Emwazi's voice on hostage videos". BBC. 2 March 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "'Jihadi John': Why do we give notorious criminals nicknames?". The Independent. 2 March 2015.
- ↑ "British doctor could lead to jihadist 'John the Beatle". New York Post. 22 August 2014.
- ↑ "The hunt for British jihadist 'Jailer John'". The Times. 21 August 2014.
- ↑ "Dozens of jihadis in fighting in Syria using the name 'al-Britani'". The Independent. 27 February 2015.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Jihadi John: A quiet man who hated Britain and was 'always ready for war'". ITV News. 25 February 2015.
- ↑ "Mohammed Emwazi Revealed As Jihad John: What We Know About Islamic State's Most Wanted Man". The Huffington Post. 2 March 2015.
- ↑ "Mohammed Emwazi: Man identified as Isis killer 'Jihadi John' 'stopped by MI5' while on safari holiday in Africa in 2010". The Independent. 26 February 2015.
- ↑ "The moment Jihadi John may have become a terrorist". The Washington Post. 2 March 2015.
- ↑ 11.0 11.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcnn_obituary
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Topping, Alexandra; Halliday, Josh (2 March 2015). "Who is Mohammed Emwazi? From 'lovely boy' to Islamic State killer". The Guardian. Guardian News & Media Limited. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ "'Jihadi John' Used To Be 'Kind And Gentle'". Sky News. 27 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
- ↑ "Jihadi John: Student record of Mohammed Emwazi leaked". The Daily Telegraph. 27 February 2015.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "'The best employee we ever had': Mohammed Emwazi's former boss in Kuwait". The Guardian. 2 March 2015.
- ↑ "'Jihadi John': high degree of certainty US airstrike killed Mohammed Emwazi, sources say". The Guardian. 13 November 2015.
- ↑ O'Neill, Sean; Tomlinson, Hugh (3 March 2015). "Spies were so much on Emwazi's case they bought his computer". The Australian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-26. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Malnick, Edward (26 February 2015). "Mohammed Emwazi timeline: from school years with Tulisa Contostavlos to becoming Jihadi John". The Telegraph. Telegraph Media Group Limited. p. 2. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ Al-Qatari, Hussain (2 March 2015). "'Jihadi John' born into stateless family in poor corner of wealthy Kuwait". CTV News. BellMedia. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ Casciani, Dominic (27 February 2015). "Islamic State: Profile of Mohammed Emwazi aka 'Jihadi John'". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ Hamilton, Fiona; O'Neill, Sean; Simpson, John; Gardham, Duncan (27 February 2015). "Pious teenager who turned intoa zealot and heartless murderer". The Times. Times Newspapers Limited. p. 2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-22. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ Levy, Megan (5 August 2014). "How London rapper L Jinny became Jihadi John, suspected of beheading James Foley". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ Murray, Douglas (20 August 2014). "Jihadi John – a very British export". The Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-24. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
- ↑ Williams, David; Marsden, Sam; Reid, Sue (21 August 2014). "Sadistic reign of 'jihadi John': British murderer brutally beat hostages and staged terrifying executions before demanding £80million ransom to free US journalist he later beheaded on video". Daily Mail. Associated Newspapers Ltd. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
- ↑ McFarlane, Andy (22 August 2014). "'Jihadi John', fears for Gazza and GCSE 'ghost of Gove' in headlines". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.