ฌัก ออแฟนบัก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฌัก ออแฟนบัก (ฝรั่งเศส: Jacques Offenbach, /ɔfɛnbak/) [1] ชื่อเมื่อเกิดคือ ยาค็อบ ออฟเฟนบัค (เยอรมัน: Jacob Offenbach; 20 มิถุนายน พ.ศ. 2362 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2423) เป็นคีตกวีชาวเยอรมันที่โอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส
ประวัติ
[แก้]ออแฟนบักเข้าเรียนเชลโล ที่วิทยาลันดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งกรุงปารีส และได้เริ่มต้นอาชีพเป็นนักดนตรีเอกที่เล่นเดี่ยว ต่อมาได้เข้าร่วมวงออเคสตราของ โอเปร่า-โคมิค และที่ โรงละครชวนหัวฝรั่งเศสในกรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เข้าได้สร้างโรงละครส่วนตัวขึ้นเพื่อจะไว้เป็นที่เปิดแสดงผลงานที่เขาประพันธ์ขึ้นเอง เขาได้ทำงานกับอ็องรี เมลัก และลุดวิก อาเลวี นักประพันธ์ละครสั้น ผลงานของเขาได้แสดงถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชนในสมัยจักรวรรดิที่สองของฝรั่งเศส ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน จนแทบจะมีแต่เรื่องไร้ศีลธรรมและออกแนวอื้อฉาว (การขอโทษต่อฉากรักสามเส้าในเรื่อง ลาแบเลแลน และฉากการนอกใจในเรื่อง ออร์เฟโอซองแฟร์)
ปารี :
เมื่อเราอยู่กันสองคน เยื่อพรหมจรรย์กลายเป็นโซ่
ที่หนักเกินกว่าเราจะแบกรับไว้ได้
แต่เราแทบไม่รู้สึกน้ำหนักของมันเลย
เมื่อเรามีกันสามคน
เอเลน :
อ้า! ช่างเลิศรส! ช่างเลิศรส!
ออแฟนบักใช้แนวทางเหลวไหลพกผ่านบทประพันธ์ของไออัคที่เกี่ยวกับเทพปกรณัมกรีกเช่นเดียวกัน เช่นการทำให้เทพเจ้ากรีก และวีรบุรุษทั้งหลายกลายเป็นตัวละครเลื่อนลอย โง่เง่า หรือไม่ก็ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ยากที่จะเห็นความเป็นคนชั้นสูง หรือแสดงอารมณ์อันละเมียดละไม :
เอเลน :
เมื่อข้าเดินผ่านฝูงชน จากรถม้าของข้า ข้าจะได้ยิน คำพูดเหมือนเมื่อสักครู่ ด้วยเสียงที่ออกจากปากคนหลายพ่อพันแม่ ที่พูดว่า : « หล่อนไม่ใช่ราชินี แต่เป็นนังแพศยา !... »
และยิ่งเด่นชัดขึ้นจากฉากเต้นรำของอากาเมมนอน (องค์ที่ 3 ฉากที่ 5) :
เอ้าพวกเรา เร็ว ๆ เข้า ต้องรีบแล้ว...
จงดูรัฐกรีกให้ดี
เป็นเมืองใหญ่ของพวกขี้เหล้า
และวีนัส วีนัสเทพธิดาแห่งการเจริญพันธุ์
ทำให้ระบำแห่งโลกันต์มีชีวิตชีวา...
ทุกสิ่งเป็นความรื่นรมย์และอิ่มเอิบ !
ความดีงาม ความรับผิดชอบ เกียรติยศ และศีลธรรม
ถูกสายน้ำพัดหายไปหมดแล้ว !...
การบิดเบือนเรื่องราวของยุคโบราณเปิดโอกาสให้เขาได้วิพากษ์วิจารณ์สังคมที่ใส่หน้ากากเข้าหากัน ความเต็มไปด้วยพิธีรีตองต่าง ๆ (« ทุกอย่างทำไปเพื่อให้เป็นพิธีรีตอง ! » คำสั่งของเทพจูปิเตอร์) และความเหลวไหลของสังคมยุคนั้น ได้อย่างรุนแรง :
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงานชิ้นสำคัญ
[แก้]- โอเปร่าและโอเปอเรตตา :
- Les deux Aveugles (1855)
- Le Nuit blanche (1855)
- Ba-ta-clan (1855), (livret de Ludovic Halévy)
- La Rose de Saint-Flour (1856)
- Le Savetier et le Financier (1856)
- Dragonette (1857)
- Le Vent du Soir ou L'horrible Festin (1857)
- Une Demoiselle en loterie (1857)
- Le Mariage aux lanternes (1857)
- Les deux Pêcheurs (1857)
- Orphée aux Enfers (1858) (livret de Ludovic Halévy)
- Les Vivandières de la Grande Armée (1859)
- Geneviève de Brabant (1859)
- Daphnis et Chloé (1860)
- La Chanson de Fortunio (1861) (livret de Ludovic Halévy)
- Le Pont des soupirs (1861) (livret de Ludovic Halévy)
- Le Roman comique (1861) (livret de Ludovic Halévy)
- Les Bavards (1862)
- Lischen et Fritzchen (1863)
- Le Brésilien (1863) (livret de Ludovic Halévy)
- Jeanne qui pleure et Jean qui rit (1864)
- L'amour chanteur (1864)
- Die Rheinnixen (1864)
- La Belle Hélène (1864) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
- Les Bergers (1865)
- Barbe-Bleue (1866) (livret de Ludovic Halévy)
- La Vie Parisienne (1866) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
- La permission de dix heures (1867)
- La Grande Duchesse de Gerolstein (1867) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
- Robinson Crusœ (1867)
- L'Île de Tulipatan (1868)
- La Périchole (1868) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
- La Diva (1869) (livret de Ludovic Halévy)
- La Princesse de Trébizonde (1869)
- Les Brigands (1869) (livret de Ludovic Halévy)
- Boule de Neige (1871)
- Le Roi Carotte (1872)
- Fantasio (1872)
- Fleurette (1872)
- Les Braconniers (1873)
- Pomme d'Api (1873) (livret de Ludovic Halévy)
- Bagatelle (1874)
- Le Violoneux (1875)
- La Boulangère a des écus (1875) (livret de Ludovic Halévy)
- Madame l'Archiduc (1874)
- La Créole (1875)
- Le Voyage dans la lune (1875)
- Tarte à la Crème (1875)
- Pierrette et Jacquot (1876)
- La boîte au lait (1876)
- Le docteur Ox (1877)
- La Foire Saint-Laurent (1877)
- Madame Favart (1878)
- La Marocaine (1879)
- La fille du Tambour-Major (1879)
- Les Contes d'Hoffmann (1881, op. posth.)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำคมและคำกล่าวถึงออแฟนบัก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งานเขียนที่ศึกษาเกี่ยวกับออแฟนบัก
[แก้]- Siegfried Krackauer, Offenbach ou le secret du second Empire (Paris, 1937)
- Jean-Claude Yon, Jacques Offenbach (Paris, 2000)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค้นพบเกี่ยวกับออแฟนบัก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |