ซ้องแมว
ซ้องแมว | |
---|---|
![]() | |
ดอกซ้องแมว | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | กะเพรา |
วงศ์: | วงศ์กะเพรา |
สกุล: | Gmelina Cham. |
สปีชีส์: | Gmelina philippensis |
ชื่อทวินาม | |
Gmelina philippensis Cham. | |
ชื่อพ้อง | |
Gmelina asiatica var. philippensis (Cham.) Bakh. |
ซ้องแมว (อังกฤษ: Wild sage; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gmelina philippensis[1]) ชื่ออื่น เช่น ซ้อแมว (ลำปาง); ซ้องแมว, ช้องแมว (ภาคกลาง, นครราชสีมา); เล็บแมว (สระบุรี); ส้มแมว (ราชบุรี); หางกระรอกแดง (ภาคกลาง); คางแมว (ภาคกลาง, ภาคใต้); จิงจาย (ภาคใต้); จิ้งจ๊อ (ปัตตานี); ปะงางอ (ڤڠاڠو, มลายู-ปัตตานี); ยวงขนุน (สุราษฎร์ธานี)[2] เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2–6 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป และมีการปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน[3]
ลักษณะ
[แก้]ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันกับคู่ มีลักษณะเป็นรูปไข่ กว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4–5 เซนติเมตร ปลายใบมน ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อตามกิ่งข้าง โดยออกจากซอกของใบประดับซึ่งเรียงซ้อนกัน และดอกจะห้อยลงกลับหัว ตัวใบประดับมีสีเขียวอมเหลืองมีสีแดงประอยู่เป็นจุด กลีบรองดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปกรวย แยกกันที่ปลายของหลอดดอก ส่วนบนโป่งเป็นรูประฆังปลายโค้ง แยกเป็น 4 แฉก แฉกบนยาวที่สุด เกสรผู้ 4 อัน อยู่ภายในหลอดดอก ผลเป็นผลสด รูปรีกลม ขนาด 1.5–2.5 เซนติเมตร ผลสุกสีเหลืองส้ม ผิวมัน ซ้องแมวจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม และติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม–กรกฏาคม[3] ขยายพันธุ์โดยวิธีตอน, ปักชำ
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Gmelina philippensis