ข้ามไปเนื้อหา

ซูโตโม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูโตโม
Sutomo
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการอดีตนักรบอินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง
12 สิงหาคม ค.ศ. 1955 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1956
ประธานาธิบดีซูการ์โน
นายกรัฐมนตรีบูร์ฮันอุดดิน ฮาราฮัป
ถัดไปดะห์ลัน อิบราฮีม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสังคม
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม ค.ศ. 1956 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1956
ประธานาธิบดีซูการ์โน
นายกรัฐมนตรีบูร์ฮันอุดดิน ฮาราฮัป
ก่อนหน้าซูดิปโย
ถัดไปฟาตะห์ ญะซิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 ตุลาคม ค.ศ. 1920(1920-10-03)
ซูราบายา,
 หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต7 ตุลาคม ค.ศ. 1981(1981-10-07) (61 ปี)
เขาอะเราะฟะฮ์,
 ซาอุดีอาระเบีย
เชื้อชาติอินโดนีเซีย
พรรคการเมือง
  • เกอะระกันระยัตบารู (ขบวนการประชาชนใหม่)
  • เปอะมูดาเรปูบลีกอินโดนีซิยะ (เยาวชนแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
อาชีพสื่อมวลชน
รางวัลวีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ อินโดนีเซีย
ยศผู้นำแนวร่วม
บังคับบัญชาแนวร่วมปฏิวัติประชาชนแห่งอินโดนีเซีย
ผ่านศึก

ซูโตโม (อินโดนีเซีย: Sutomo) (3 ตุลาคม ค.ศ. 1920 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 1981),[1] หรือรู้จักกันในชื่อ บุงโตโม (อินโดนีเซีย: Bung Tomo "สหายโตโม") เป็นนักปฏิวัติและผู้นำการที่เป็นที่รู้จักที่สุดใน การปฏิวัติแห่งชาติอินโดนีเซียซึ่งต่อต้านการปกครองของเนเธอร์แลนด์ เขามีบทบาทสำคัญในยุทธการที่ซูราบายา ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพอินโดนีเซียและบริเตนระหว่างเดือนตุลาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1945

ชีวิตตอนต้น

[แก้]
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ ค.ศ. 1955

ซูโตโมเกิดที่หมู่บ้านบลารันในใจกลางเมืองซูราบายา พ่อเป็นเสมียนชื่อการ์ตาวัน จิปโตวิโจโย (Kartawan Tjiptowidjojo) และแม่ชื่อซูบาสตียะ (Subastia) เขามีเชื้อสายชวา ซุนดา และมาดูรา เขาได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของเนเธอร์แลนด์ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเข้ายึดครอง

นอกจากงานเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว เขายังเข้าร่วมองค์กรลูกเสือแห่งอินโดนีเซีย และเมื่ออายุได้ 17 ปี เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประมุกกาการูดะ (Pramuka Garuda) ลำดับที่สอง ซึ่งเป็นยศที่มีชาวอินโดนีเซียเพียง 3 คนเท่านั้นที่ได้รับก่อนที่ญี่ปุ่นจะเข้ายึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

การยึดครองของญี่ปุ่น

[แก้]

ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครอง ซูโตโมทำงานให้กับโดเมอิสึชิน (สำนักข่าวอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิญี่ปุ่น) ในซูราบายา เขามีชื่อเสียงจากการก่อตั้งเรดิโย เปิมเบอะรนตะกัน (วิทยุปฏิวัติ) ซึ่งส่งเสริมความสามัคคีและจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ในหมู่เยาวชนอินโดนีเซีย

ในปี ค.ศ. 1944 ซูโตโมได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของเกอะระกันระยัตบารู (Gerakan Rakyat Baru - ขบวนการประชาชนใหม่) ที่สนับสนุนโดยญี่ปุ่น และเป็นเจ้าหน้าที่ของเปอะมูดาเรปูบลีกอินโดนีซิยะ (Pemuda Republik Indonesia - เยาวชนแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย)

การปฏิวัติแห่งชาติอินโดนีเซีย

[แก้]

แนวร่วมปฏิวัติประชาชนแห่งอินโดนีเซีย

[แก้]

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ซูโตโมก่อตั้งและเป็นผู้นำของแนวร่วมปฏิวัติประชาชนอินโดนีเซีย (Barisan Pemberontakan Rakyat Indonesia อักษรย่อ BPRI) เป็นกองกำลังติดอาวุธของอินโดนีเซีย โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซูราบายา [2]: 42  แนวร่วมปฏิวัติประชาชนอินโดนีเซีย มีเป้าหมายในการตระหนักและปกป้องคำประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย โดยรวบรวมกำลังต่อต้านเนเธอร์แลนด์ที่ต้องการกลับมาปกครองอินโดนีเซียหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2[3]: 122 

ในช่วงที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์อินดีส (Nederlandsch-Indische Civiele Administratie - NICA) ยึดครองในช่วงแรกของการปฏิวัติแห่งชาติอินโดนีเซีย เป็นยุคแห่งการเตรียมพร้อม (Bersiap) ซูโตโมส่งเสริมการข่มเหงทารุณต่อชาวอินโดนีเซียเชื้อสายยุโรป [4][5] และได้ควบคุมดูแลการประหารชีวิตพลเรือนหลายร้อยคนด้วยตนเอง แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเขาควบคุมดูแลการประหารชีวิตด้วยตนเองหรือวางแผนก่อความรุนแรงในระดับใหญ่ สิ่งเหล่านี้คือคำให้การของพยานบุคคลซึ่งบันทึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1945 [6]

ยุทธการที่ซูราบายา

[แก้]

เขามีบทบาทสำคัญในช่วงที่เกิดการสู้รบระหว่างกลุ่มชาตินิยมอินโดนีเซียและกองกำลังอังกฤษที่สุราบายา แม้ว่าการสู้รบจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอินโดนีเซีย แต่การสู้รบครั้งนี้ก็ช่วยกระตุ้นให้ชาวอินโดนีเซียและนานาชาติหันมาสนับสนุนเอกราชมากขึ้น ซูโตโมกระตุ้นให้ชาวอินโดนีเซียหลายพันคนลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวด้วยรูปแบบการพูดที่มีเอกลักษณ์และเต็มไปด้วยอารมณ์ในการออกอากาศทางวิทยุของเขาด้วย "ดวงตาที่สดใสและมีพลัง เสียงที่แหลมคมและออกนาสิกเล็กน้อย หรือรูปแบบการพูดที่ชวนขนลุกซึ่งทรงพลังทางอารมณ์รองจากซูการ์โนเท่านั้น" [1]

เฮ้ย ทหารอังกฤษ! ตราบใดที่กระทิงอินโดนีเซีย เยาวชนอินโดนีเซีย ยังมีเลือดสีแดงที่สามารถนำมาย้อมผ้าขาวกลายเป็นผ้าแดงขาวได้ เราจะไม่มีวันยอมแพ้ มิตรสหาย นักสู้ โดยเฉพาะเยาวชนอินโดนีเซีย เราจะสู้ต่อไป เราจะขับไล่พวกนักล่าอาณานิคมออกจากดินแดนอินโดนีเซียที่เรารัก... เราทนทุกข์ ถูกเอารัดเอาเปรียบ และเหยียบย่ำมานาน ถึงเวลาแล้วที่เราจะกอบกู้อิสรภาพของเรา คติประจำใจของเรายังคงอยู่: อิสรภาพหรือความตาย อัลลอฮุอักบัร!... อัลลอฮุอักบัร!... อัลลอฮุอักบัร!... อิสรภาพ!"

คำปราศรัยของซูโตโม, 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945.[7]

วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของยุทธการที่ซูราบายา ต่อมาเรียกว่าวันวีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย (Hari Pahlawan) เพื่อรำลึกและให้เกียรติการต่อสู้ของวีรบุรุษและนักสู้ในการปกป้องเอกราชของอินโดนีเซีย

ยุทธการที่ซูราบายาเป็นยุทธการที่นองเลือดที่สุดในการปฏิวัติแห่งชาติอินโดนีเซีย และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกองกำลังชาตินิยมที่มีความเข้มแข็ง การต่อต้านอย่างเสียสละของพวกเขากลายมาเป็นสัญลักษณ์และเสียงเรียกร้องให้เกิดการปฏิวัติ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1946 กองกำลังอังกฤษชุดสุดท้ายได้ออกจากอินโดนีเซีย

หลังเอกราช

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1955 ซูโตโมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีของบูร์ฮันอุดดิน ฮาราฮัป ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1955 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1956 ซึ่งเป็นการแต่งตั้งที่ทำให้ผู้สนับสนุนคณะรัฐมนตรีพอใจเนื่องจากเขามีคุณลักษณะชาตินิยม[8] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับซูการ์โนเริ่มเสื่อมถอยลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952 หลังจากที่เขาทำให้ซูการ์โนไม่พอใจด้วยการถามถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างประธานาธิบดีกับฮาร์ตินี ซึ่งเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและต่อมาได้กลายเป็นภรรยาคนที่สี่ของซูการ์โน [9][10] ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 ซูโตโมได้ฟ้องซูการ์โน เนื่องจากซูการ์โนตัดสินใจยุบสภาตัวแทนประชาชน [11][12]

หลังจากปี ค.ศ. 1966 ซูโตโมได้กลับมามีบทบาทสำคัญระดับชาติอีกครั้งในช่วงที่เกิดความวุ่นวายในปี ค.ศ. 1965 ในตอนแรก เขาสนับสนุนให้ซูฮาร์โตเข้ามาแทนที่รัฐบาลซูการ์โนที่มีแนวโน้มเอียงซ้าย แต่ต่อมากลับคัดค้านบางประเด็นในช่วงระเบียบใหม่ [1]

วันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1978 เขาถูกรัฐบาลควบคุมตัวเนื่องจากวิพากษ์วิจารณ์การทุจริตและการใช้อำนาจในทางมิชอบอย่างเปิดเผย อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับการปล่อยตัวในสามปีต่อมา ซูโตโมก็ยังคงวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสียงดัง โดยบอกว่าเขาไม่ต้องการถูกฝังในสุสานวีรบุรุษเพราะสุสานแห่งนี้เต็มไปด้วย "วีรบุรุษผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา" ที่ขาดความกล้าที่จะปกป้องประเทศชาติในช่วงวิกฤต แต่พวกเขากลับปรากฏตัวต่อสาธารณชนในยามสงบสุขเพื่อต้องการให้เชิดชูเกียรติยศของพวกเขา [13]

เสียชีวิต

[แก้]

เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1981 ที่มักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ขณะกำลังเดินทางไปทำฮัจญ์ [1] ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ซูโตโมได้เขียนร่างวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับบทบาทของศาสนาในการพัฒนาระดับหมู่บ้านเสร็จเรียบร้อย ครอบครัวและเพื่อนๆ ของเขาได้ส่งร่างของเขากลับประเทศอินโดนีเซีย แม้ว่าชื่อเสียงและยศทางทหารจะทำให้เขามีสิทธิ์ฝังศพในสุสานวีรบุรุษ แต่เขาก็ถูกฝังในสุสานสาธารณะที่เขตงาเกิล เมืองซูราบายา จังหวัดชวาตะวันออก

ครอบครัว

[แก้]

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ซูโตโมแต่งงานกับซูลิสตินาในมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก [7] เขาเป็นที่รู้จักในฐานะคุณพ่อผู้เคร่งศาสนาของบุตรทั้งสี่คน ซึ่งให้ความสำคัญกับความรู้ด้านศาสนาอย่างจริงจังตลอดชีวิตของเขา

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Frederick 1982.
  2. Bung Tomo: Soerabaja di Tahun 45. Tokoh Militer (ภาษาอินโดนีเซีย). Tim Buku TEMPO. 2015.
  3. Sarip, Muhammad (2015). Samarinda Bahari, Sejarah 7 Zaman Daerah Samarinda. Samarinda: Komunitas Samarinda Bahari (ภาษาอินโดนีเซีย). ISBN 978-602-736-170-6.
  4. Sidjaja, Calvin Michel (22 October 2011). "Who is responsible for 'Bersiap'?". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-22.
  5. Meijer, Hans. 'In Indie geworteld, de Geschiedenis van Indische Nederlanders, de twintigste eeuw.' (Publisher Bert Bakker, Amsterdam, 2004) P.245 ISBN 90-351-2617-3. Note: Citing Dutch newspaper 'De Haagsche Post', article dated 4 December 1954."Extremists Run Amok Against Indische-Nederlanders | Dutch-Indonesian Community". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-10. สืบค้นเมื่อ 2011-08-31.
  6. Note: These legal testimonies formerly designated top secret have been made public and are available online. See: Van der Molen, Pia Bussemaker, Herman Archief van Tranen website (2012). Document: 125_A_B_C_D_E_F Online archive
  7. 7.0 7.1 Sulistina Soetomo 1995.
  8. Feith 2009, p. 419-420.
  9. Taufiq, Fery (2020). PEKIK TAKBIR BUNG TOMO Perjalanan Hidup, Kisah Cinta & Perjuangannya (ภาษาอินโดนีเซีย). Araska Publisher. ISBN 978-623-7537-74-8.
  10. Chairunnisa, Ninis (2017-11-12). "Bung Tomo dan Bung Karno Pernah Bertengkar Sampai Banting Piring". Tempo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
  11. Hatta, Mohammad (1986). Hati nurani melawan kezaliman: surat-surat Bung Hatta kepada Presiden Soekarno, 1957-1965 (ภาษาอินโดนีเซีย). Penerbit Sinar Harapan.
  12. MAPPAPA, Imam Wahyudiyanta, PASTI LIBERTI. "Menggugat Presiden Ala Bung Tomo". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
  13. Wahyudi, M Zaid (10 November 2007). Kompas. pp. 1 & 15. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

หนังสืออ้างอิง

[แก้]