ซูเปอร์สปรินต์
ซูเปอร์สปรินต์ | |
---|---|
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เคด | |
ผู้พัฒนา | อาตาริเกมส์ เทนเกน (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม) |
ผู้จัดจำหน่าย | อาตาริเกมส์ เทนเกน (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, สหรัฐ) อัลทรอน (แฟมิคอม, ญี่ปุ่น) |
ออกแบบ | โรเบิร์ต เวเธอร์บี เคลลี เทอร์เนอร์ |
โปรแกรมเมอร์ | โรเบิร์ต เวเธอร์บี เคลลี เทอร์เนอร์ |
ศิลปิน | วิลล์ โนเบิล คริส โมเซอร์ แซม คอมสต็อก |
แต่งเพลง | ฮัล แคนนอน แบรด ฟูลเลอร์ (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม) |
เครื่องเล่น | |
วางจำหน่าย |
|
แนว | การแข่งความเร็ว |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
ระบบอาร์เคด | อาตาริซิสเตม 2 ฮาร์ดแวร์ |
ซูเปอร์สปรินต์ (อังกฤษ: Super Sprint) (รู้จักกันในชื่อ สปรินต์มาสเตอร์ ในอาตาริ 2600)[1] เป็นวิดีโอเกมการแข่งความเร็วที่ได้รับการเปิดตัวโดยบริษัทอาตาริเกมส์และมิดเวย์เกมส์ใน ค.ศ. 1986 โดยมีผู้เล่นสูงสุดสามคนขับรถที่เหมือนฟอร์มูลาวันบนสนามแข่งซึ่งมองจากด้านบน[2] เกมดังกล่าวเป็นเกมต่อจากแกรนแทรก 10 และซีรีส์สปรินต์ ซึ่งเป็นเกมขาวดำจากคริสต์ทศวรรษ 1970 ส่วนภาคต่ออย่างแชมเปียนชิปสปรินต์ได้รับการเปิดตัวในปีเดียวกัน
รูปแบบการเล่น
[แก้]ผู้เล่นสูงสุดสามคนขับพร้อมกันบนสนามแข่งกับฝ่ายตรงข้ามที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ วงจรเส้นสนามแข่งจะถูกมองจากด้านบนและพอดีกับหน้าจอเสมอ ดังนั้น เกมจะไม่เลื่อนฉาก หลังจากผ่านไปสามรอบ ผู้ชนะจะได้เข้าสู่สนามแข่งต่อไป เกมนี้มีทั้งหมดแปดสนาม แต่เกมจะจบลงก็ต่อเมื่อผู้เล่นสามารถเข้าเรซ 85 ที่มีการเล่นโบนัสสนามซูเปอร์สปีดเวย์[ต้องการอ้างอิง] เมื่อผู้เล่นไปถึงระดับที่สูงขึ้น สิ่งกีดขวางก็ปรากฏขึ้นบนทางมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น แอ่งน้ำมัน และพายุทอร์นาโดขนาดเล็กที่กำลังเคลื่อนที่ หากรถไปโดนสิ่งเหล่านั้น ผู้เล่นจะสูญเสียการควบคุมรถในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะกำลังไถลและหมุนติ้ว การขับรถเข้าไปในกำแพงด้วยความเร็วสูงหรือตกลงมาจากสะพานใดสะพานหนึ่ง รถจะพินาศ แต่จะมีเฮลิคอปเตอร์มาเปลี่ยนคันใหม่ให้
เกมนี้สามารถปรับแต่งรถได้โดยการรวบรวมประแจที่วางอยู่บนลู่วิ่ง ผู้เล่นสามารถสับเปลี่ยนสามคุณสมบัติเพื่อเพิ่มการยึดเกาะ, อัตราเร่งที่ดีขึ้น หรือความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า
พอร์ต
[แก้]ซูเปอร์สปรินต์ (บทวิจารณ์ที่ไม่ใช่อาร์เคด) | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แชมเปียนชิปสปรินต์ (บทวิจารณ์ที่ไม่ใช่อาร์เคด) | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ซูเปอร์สปรินต์ได้รับการพอร์ตสู่ระบบแอมสตรัด ซีพีซี, อาตาริ เอสที, คอมโมดอร์ 64 และแซดเอกซ์ สเปกตรัม[5] ส่วนพอร์ตที่ไม่มีใบอนุญาตได้รับการเผยแพร่โดยบริษัทเทนเกน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของอาตาริสำหรับนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม และได้รับการดัดแปลงโดยบริษัทอัลทรอนในฐานะเกมที่ได้รับอนุญาตสำหรับตลาดญี่ปุ่น[6]
เกมดังกล่าวได้รับการพอร์ตไปยังอาตาริ 2600 ภายใต้ชื่อสปรินต์มาสเตอร์ ซึ่งเวอร์ชันดัดแปลงนี้ได้รับการเผยแพร่ใน ค.ศ. 1988[1]
การตอบรับ
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1986 ระบุว่าซูเปอร์สปรินต์เป็นยูนิตอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับสองของเดือนนี้[7] เกมดังกล่าวกลายเป็นเกมอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ทำรายได้สูงสุดอันดับแปดของญี่ปุ่นในช่วงครึ่งหลังของ ค.ศ. 1986[8] และเกมอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับที่เก้าเมื่อ ค.ศ. 1986[9][8] ซึ่งต่อมา ได้เป็นเกมอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับที่สิบของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1987[10]
ใน ค.ศ. 1996 นิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันได้ระบุว่าเวอร์ชันอาร์เคดนั้นอยู่ในอันดับที่ 59 ใน "100 เกมยอดนิยมตลอดกาล" พวกเขาอธิบายว่าแม้ว่าดื้อโค้งมากในเกมนั้นไม่สมจริงอย่างมาก แต่ก็เพิ่มความรู้สึกการเร่งรีบให้แก่รูปแบบการเล่น[11]
สิ่งสืบทอด
[แก้]แชมเปียนชิปสปรินต์
[แก้]ต่อมา ใน ค.ศ. 1986 แชมเปียนชิปสปรินต์ได้รับการเปิดตัว ซึ่งเกมนี้เกือบจะเหมือนกัน แต่มีทางวิ่งที่แตกต่างกัน และมีตู้สำหรับผู้เล่นสองคนขนาดมาตรฐานแทนที่จะเป็นตู้ 3 ผู้เล่นแบบกว้างของซูเปอร์สปรินต์ โดยได้รับการพอร์ตสู่ระบบแซดเอกซ์ สเปกตรัม, แอมสตรัด ซีพีซี และคอมโมดอร์ 64[12]
การเผยแพร่ใหม่
[แก้]เวอร์ชันเกมบอยอัดวานซ์ได้รับการเปิดตัวพร้อมกับสปายฮันเตอร์ในชุดเกมคู่เมื่อ ค.ศ. 2005
ซูเปอร์สปรินต์ได้รวมอยู่ในมิดเวย์อาร์เคดเทรเชอส์สำหรับเกมคิวบ์, เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์ และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ส่วนภาคต่ออย่างแชมเปียนชิปสปรินต์ ได้รับการเผยแพร่ในระบบเดียวกันในมิดเวย์อาร์เคดเทรเชอส์ 2 และเป็นเกมที่สามารถดาวน์โหลดได้สำหรับเพลย์สเตชัน 3 เกมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมิดเวย์อาร์เคดออริจินส์ ซึ่งเป็นเกมรวมสำหรับเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360 ใน ค.ศ. 2012[13]
ครั้นใน ค.ศ. 2016 ซูเปอร์สปรินต์ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในมิดเวย์อาร์เคดเลเวลแพ็กของเลโก้ ไดเมนชันส์[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Weiss, Brett (2011). Classic Home Video Games, 1972-1984 A Complete Reference Guide. McFarland, Incorporated, Publishers. p. 111. ISBN 9780786487554. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
- ↑ ซูเปอร์สปรินต์ ที่ Killer List of Videogames
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Ports to 8 bit home computers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 2022-03-24.
- ↑ "Super Sprint for NES (1989)". Moby Games. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25 - アップライト, コックピット型TVゲーム機 (Upright/Cockpit Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 290. Amusement Press, Inc. 15 August 1986. p. 21.
- ↑ 8.0 8.1 "Game Machine's Best Hit Games 25: '86 下半期" [Game Machine's Best Hit Games 25: Second Half '86] (PDF). Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 300. Amusement Press, Inc. 15 January 1987. p. 16.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25: '86 上半期" [Game Machine's Best Hit Games 25: First Half '86] (PDF). Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 288. Amusement Press, Inc. 15 July 1986. p. 28.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25: '87" (PDF). Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 324. Amusement Press, Inc. 15 January 1988. p. 20.
- ↑ "Top 100 Games of All Time". Next Generation. No. 21. Imagine Media. September 1996. p. 48.
- ↑ "Championship Sprint for Amstrad CPC (1988)". MobyGames. 2007-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-08-30.
- ↑ "Midway Arcade Origins Review". 14 November 2012.
- ↑ "Lego Dimensions: Midway Arcade Level Pack Review". Video Chums. สืบค้นเมื่อ 2016-03-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Super Sprint at Arcade History
- แม่แบบ:WoS game
- Championship Sprint at Arcade History