ซูบารุ 1000
ซูบารุ 1000 (A12/512/522) | |
---|---|
ซูบารุ 1000 ซีดาน | |
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | ซูบารุ (ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรี) |
เริ่มผลิตเมื่อ | 1966 - 1969 |
แหล่งผลิต | โรงงาน ยาจิมะ, โอตะ, กุนมะ, ประเทศญี่ปุ่น |
ผู้ออกแบบ | ชินโรคุ โมโมเสะ |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
รูปแบบตัวถัง | 2-ประตู ซีดาน 4-ประตู ซีดาน 3- ประตู สเตชัน วากอน 5- ประตู สเตชัน วากอน |
โครงสร้าง | เครื่องยนต์วางหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | EA-52 977cc 4สูบ เรียง |
มิติ | |
ระยะฐานล้อ | 2,420 mm (95.3 in) |
ความยาว | 3,930 mm (154.7 in) |
ความกว้าง | 1,480 mm (58.3 in) |
ความสูง | 1,390 mm (54.7 in)[2] |
น้ำหนัก | 670–705 kg (1,477–1,554 lb) |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นต่อไป | ซูบารุ เอฟเอฟ-1 |
ซูบารุ 1000 เป็นรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้ารุ่นแรกที่ผลิตโดย ซูบารุ, และยังเป็นรถยนต์รุ่นแรกของซูบารุ ที่ได้ใช้เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์อีกด้วย.
ประวัติ
[แก้]ในปี 1960 ซูบารุ มีความต้องการที่จะสร้างรถยนต์รุ่นใหม่ขึ้นมาแทนที่ ซูบารุ 1500 พวกเขาจึงได้พัฒนารถยนต์ขึ้นมาหนึ่งรุ่นภายใต้รหัสโครงการ A-5 รถยนต์ต้นแบบระหว่างการพัฒนานั้นเป็นรถยนต์ขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์(Boxer engine) 4จังหวะ 4สูบ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ขนาด 1500cc ขับเคลื่อนล้อหน้า ระบบกันสะเทือนด้านหน้าแบบปีกนกคู่ จากทรัพยากรณ์ที่มีจำกัดของ FHI ซูบารุจึงต้องยุติโครงการไว้เพียงเท่านั้น ในช่วงที่ ซูบารุ 360 ถูกวางจำหน่ายอยู่นั้น ซูบารุเองต้องการรถที่นั่งสบายกว่า คันใหญ่กว่า และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้4คนโดยไม่รู้สึกคับแคบ ซึ่งดูเหมือนว่าโตโยต้า โคโรลล่า, นิสสัน ซันนี, มาสด้า แฟมิเลีย, ฮีโน่ คอนเตซซ่า, อิซูสุ เบลเลตต์, และ มิตซูบิชิ โคลต์ 1000 จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ซูบารุ 360 นอกจากจะต้องการรถยนต์ที่คันใหญ่ขึ้นนั่งสะบายขึ้นแล้วนั้น ซูบารุยังต้องการที่จะลดเสียงรบกวนและเพิ่มพื้นที่ภายในห้องโดยสาร โดยการย้ายเครื่องยนต์มาไว้ด้านหน้าของตัวรถและเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าแทนระบบขับเคลื่อนล้อหลังแบบเดิม รวมทั้งเปลี่ยนมาใช้ระบบกันสะเทือนแบบอิสระทั้ง4ล้อ ณ ขณะนั้นรถยนต์ญี่ปุ่นที่ใช้เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ วางไว้บริเวณด้านหน้าของตัวรถและใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้านั้น มีเพียงแค่ โตโยต้า พับบลิก้า ที่ใช้เครื่องยนต์ ตระกูล U เท่านั้น
ในปี 1963 ซูบารุได้พยามยามที่จะเริ่มต้นโครงการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่อีกครั้ง ภายใต้รหัสโครงการ A-4 ด้วยความยาวตัวถัง 3,885 mm (153.0 in), ความยาวฐานล้อ of 2,400 mm (94 in), ความกว้างฐานล้อหน้า 1,230 mm (48 in), ความกว้างฐานล้อหลัง 1,220 mm (48 in), น้ำหนักรวม 500 kg (1,100 lb) จากขนาดของตัวรถ A-4 จึงถูกจัดไว้ในรถขนาดเล็ก. เพื่อที่จะลดเสียงรบกวนและแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์ ทั้งยังต้องการที่จะให้เครื่องยนต์มีขนาดเล็กลงอีกด้วย รถยนต์ต้นแบบ A-4 จึงถูกติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ขนาด 923cc ระบายความร้อนด้วยน้ำ แทนที่เครื่องยนต์ 1500cc ระบายความร้อนด้วยอากาศ ที่ถูกติดตั้งในรถต้นแบบ A-5 รถยนต์ต้นแบบถูกทดลองผลิตออกมาทันทีในรหัสสายการผลิต A-63 และถูกเปิดตัวในชื่อ ซูบารุ 1000
ในวันที่ 21 ตุลาคม ปี 1965 ซูบารุได้ทำการเปิดตัว ซูบารุ 1000 ครั้งแรกที่ โรงแรม ฮิลตัน โฮเตล โตเกียว(Hilton Hotel Tokyo) ในปัจจุบันรู้จักในชื่อ โฮเตล โตคิว แคปปิตอล(Hotel Tokyu Capitol) ในวันที่ 29 ตุลาคม หลังจากเปิดตัวได้ 8 วัน ซูบารุได้นำ ซูบารุ 1000 ไปแสดงที่งาน โตเกียว มอเตอร์โชว์ ครั้งที่12 (12th Tokyo Motor Show) แต่กว่าที่จะเปิดจำหน่ายก็เป็นเวลากว่า 1 ปีหลังจากงานเปิดตัว ซูบารุเริ่มจำหน่าย ซูบารุ 1000 ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปี 1966
ซูบารุ 1000 ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากรถยนต์ส่วนใหญ่ทีมีจำหน่ายในขณะนั้น ด้วยเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ 4 สูบ โอเวอร์เฮดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ วิศวกรของซูบารุได้เริ่มจากการศึกษาเครื่องยนต์ของ พอร์เช่, ดีเคดับบลิว และ เชฟโรเลต คอร์แว วิศวกรของซูบารุมีความเห็นว่าควรจะนำเครื่องยนต์ชนิดนี้มาจับคู่กับระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ปัญหาหลักที่วิศวกรได้พบคือ การใช้ยูนิเวอร์แซลจอยท์(Universal joints)หรือลูกปืนกากบาทกับเพลาขับหน้านนั้น ส่งผลให้มีการสั่งสะเทือนค่อนข้างมาก แต่ปัญหานั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ผลิตลูกปืนแบริ่งชื่อดังอย่าง โตโย แบริ่ง (Toyo Bearing) ปัจจุบันรู้จักในชื่อ เอ็นทีเอ็น(NTN) วิศวกรจากซูบารุและโตโยแบริ่งได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า ดับเบิ้ลออฟเซ็ตจอยท์(Double offset joint)ขึ้นมา และได้นำมาใช้งานแทนยูนิเวอร์แซลจอยท์เดิม ในปัจจุบันเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ได้กลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของรถยนต์ซูบารุไปแล้ว
ข้อมูลรถยนต์ ซูบารุ1000
[แก้]
|
|
|
|
- ระบบบังคับเลี้ยว และ ระบบกันสะเทือน
- ประเภทระบบบังคับเลี้ยว : แร็คแอนด์พิเนี่ยน(Rack and Pinion)
- รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด : 4.8 เมตร
- ประเภทระบบกันสะเทือน : ด้านหน้าแบบ อิสระปีกนกคู่(Double Wishbone) ด้านหลังแบบ อิสระเทรลลิ่งอาร์ม(Trailling Arm)
- ระบบห้ามล้อ : ดรัมเบรกทั้ง4ล้อ คู่หน้าใช้แบบ ดูโอ้เซอโว(Duo Servo) คู่หลังใช้แบบหลีดดิ้ง (Leading)
- ขนาดยาง : 5.50-13-4PR
- ราคาจำหน่าย ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1966
- ซูเปอร์เดอลุกซ์(Super Deluxe) : 580,000 ¥, เดอลุกซ์(Deluxe) : 535,000 ¥, สแตนดาร์ด(Standard) : 495,000 ¥.
ซูบารุ 1000 เอสเอส
[แก้]รุ่นสปอร์ทของ ซูบารุ 1000 ถูกเปิดตัวออกมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปี 1967 ซูบารุ 1000 เอสเอส มีพื้นฐานมาจาก ซูบารุ 1000 ที่ได้ถูกปรับปรุงแก้ไขในหลายจุด, เครื่องยนต์ EA52 ถูกปรับแต่งในหลายชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็น เพลาราวลิ้น ฝาสูบ และ เพลาข้อเหวี่ยง รวมทั้งเปลี่ยนไปใช้คาร์บูเรเตอร์คู่จาก มิคูนิ-โซเล็ก(Mikuni-Solex)ส่งผลให้อัตราส่วนกำลังเพิ่มเป็น 10:1 และซูบารุเรียกเครื่องยนต์ที่ถูกปรับแต่งในครั้งนี้ว่า EA53 ตัวอักษรย่อ เอสเอส(SS) มาจากคำว่า สปอร์ทซีดาน (Sport Sedan)
จากเครื่องยนต์ที่ถูกปรับแต่งแล้วจับคู่กับระบบขับเคลื่อนล้อหน้าและน้ำหนักตัวรถที่เบา ส่งผลให้ซูบารุ 1000 เอสเอส เปรียบได้ดั่ง "อาวุธร้าย" ในเดือนกันยายนปี 1968 ซูบารุ 1000 เอสเอส สามารถคว้าแชมป์ในรายการแข่งขัน แจแปนิส อัลไพน์ แรลลี่ ครั้งที่10 (10th Japanese Alpine Rally)ได้สำเร็จ
ข้อมูลรถยนต์ ซูบารุ 1000 เอสเอส
[แก้]
|
|
|
|
- ระบบบังคับเลี้ยว และ ระบบกันสะเทือน
- ประเภทระบบบังคับเลี้ยว : แร็คแอนด์พิเนี่ยน(Rack and Pinion)
- รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด : 4.8 เมตร
- ประเภทระบบกันสะเทือน : ด้านหน้าแบบ อิสระปีกนกคู่(Double Wishbone) ด้านหลังแบบ อิสระเทรลลิ่งอาร์ม(Trailling Arm)
- ระบบห้ามล้อ : คู่หน้าใช้แบบดิสก์เบรก(Disk Brake) คู่หลังใช้ดรัมเบรกแบบหลีดดิ้ง(Leading)
- ขนาดยาง : 145 SR13 เรเดียล(Radial)
- ส่วนที่แตกต่างจาก ซูบารุ 1000
- ระบบบังคับเลี้ยว : ปรับลดอัตราทดพวงมาลัยจาก 18.43 เหลือ 14.8 ส่งผลให้พวงมาลัยตอบสนองเร็วขึ้น
- เครื่องยนต์ : เพลาข้อเหวี่ยง, เพลาราวลิ้น, ฝาสูบ, สปริงวาล์ว ถูกเปลี่ยนใหม่ และ เปลี่ยนไปใช้ท่อไอเสียปลายคู่
- ภายนอก : เสาอากาศปริเวณหลังคาเหนือผู้ขับขี่, ชุดแต่งสปอร์ท, กระจังหน้า-ไฟท้าย และ ฝาครอบล้อ แบบพิเศษ
- ภายใน : คอนโซลหน้าใหม่, แผงไมล์ใหม่แบบ3ช่อง, เบาะนั่งทรงสปอร์ตพร้อมเข็มขัดนิรภัยแบบ3จุดยึด
- ราคาจำหน่าย : 620,000 ¥
การเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงอายุ ซูบารุ 1000 รหัสตัวถัง A12/512/522 (ปี1966 ถึง ปี1969)
[แก้]- 21 ตุลาคม 1965 : เปิดตัวต่อสื่อมวลชนครั้งแรกที่โรงแรม ฮิลตัน โฮเตล โตเกียว(Hilton Hotel Tokyo)ในปัจจุบันรู้จักในชื่อโรงแรม โฮเตล โตคิว แคปปิตอล(Hotel Tokyu Capitol)
- 29 ตุลาคม 1965 : นำไปจัดแสดงที่งานโตเกียว มอเตอร์โชว์ ครั้งที่12 (12th Tokyo Motor Show)
- 14 พฤษภาคม 1966 : เปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกที่โรงแรม ทาคานาวะ ปริ๊นซ์ โฮเตล(Takanawa Prince Hotel) และเริ่มจัดโร้ดโชวน์ 3 จังหวัดแรกที่ซูบารุนำรถยนต์ ซูบารุ 1000 ไปจำหน่ายคือ โตเกียว, ไอจิ และ โอซาก้า รถยนต์รุ่นแรกที่ผลิตออกมาจำหน่ายมีรหัสตัวถังคือ A522 สิ้นสุดการจัดโร้ดโชว์ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกันนั้น
- ตุลาคม 1966 : เพิ่มเข็มขัดนิรภัยแบบ3จุด เป็นอุปกรณ์เลือกติดตั้งเสริม
- 15 กุมภาพันธ์ 1967 : เปิดตัวรุ่น 2 ประตูซีดานมีรหัสตัวถังคือ A512
- 10 มิถุนายน 1967 : ปรับไมเนอร์เชนจ์ เปลี่ยนรหัสตัวถังเป็น A-12
- สิงหาคม 1967 : เพิ่มระยะรับประกันเป็น 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร
- 14 กันยายน 1967 : เปิดตัวรุ่น 5 ประตู สเตชันวากอน ราคาจำหน่าย รุ่นเดอลุกซ์(Deluxe) 525,000 ¥, รุ่นสแตนดาร์ด(Standard) 475,000 ¥.
- 1 พฤศจิกายน 1967 : เปิดตัวรุ่น สปอร์ทซีดาน ราคา620,000 ¥
- 1 กรกฎาคม 1968 : เปิดตัวรุ่น 3ประตู สเตชันวากอน รหัสตัวถัง A-41 ราคาจำหน่าย รุ่นเดอลุกซ์(Deluxe) 498,000 ¥, รุ่นสแตนดาร์ด(Standard) 448,000¥.
- 23 กันยายน 1968 : ชนะการแข่งขันรายการ แจแปนิส อัลไพน์ แรลลี่ ครั้งที่10(10th Japanese Alpine Rally)
- 1 พฤศจิกายน 1968 : เพิ่มรุ่นย่อยใหม่ ซูเปอร์เดอลุกซ์(Super Deluxe) ราคาจำหน่าย รุ่น4ประตูซีดาน 580,000 ¥, รุ่น2ประตูซีดาน 545,000¥.
- 1 มีนาคม 1969 : เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เอฟเอฟวัน(FF-1)
คลังภาพ
[แก้]-
ซูบารุ 1000 2ประตู ซีดาน
-
ซูบารุ 1000 เดอลุกซ์
-
ภาพแสดง การติดตั้งล้ออะไหล่ของ ซูบาร 1000 เอสเอส
-
ด้านหลังของ ซูบารุ 1000 สปอร์ต ซีดาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Subaru_1000
- ↑ "Autotest - Subaru 1000 Sports". Autocar. 19 December 1968. pp. 6–9.