ซูบารุ วิวิโอ้
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ซูบารุ วิวิโอ้ (KK3/KK4/KW3/KW4/KY3) | |
---|---|
ภาพรวม | |
เริ่มผลิตเมื่อ | ค.ศ. 1992 ถึง 1998 |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | เคย์คาร์ |
รูปแบบตัวถัง | 3 ประตู แฮทช์แบ็ค 5 ประตู แฮทช์แบ็ค 2 ประตู ทาร์ก้า |
โครงสร้าง | เครื่องยนต์วางด้าหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า / ขับเคลื่อน4ล้อ |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | 658 cc EN07 |
ระบบเกียร์ | เกียร์ธรรมดาเดินหน้า5จังหวะ เกียร์อัตโนมัติเดินหน้า3จังหวะ อัตโนมัติECVT |
มิติ | |
ความยาว | 3,295 mm (129.7 in)[1] |
ความกว้าง | 1,395 mm (54.9 in) |
ความสูง | 1,385 mm (54.5 in) |
น้ำหนัก | 650 kg (1,433 lb)-700 kg (1,543 lb) |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | ซูบารุ เรกซ์ |
รุ่นต่อไป | ซูบารุ เพลโอ |
ซูบารุ วิวิโอ้ เป็นรถประเภทเคย์คาร์ เปิดตัวในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1992 เพื่อมาทำตลาดแทนที่ ซูบารุ เรกซ์ และยุติการทำตลาดในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1998 แล้วถูกแทนด้วย ซูบารุ เพลโอ
ชื่อVivioนั้นมาจากขนาดเครื่องยนต์ 660cc ของวิวิโอ้เอง เมื่อนำมาเขียนตามแบบของเลขโรมันแล้วจะได้เป็น VI,VI,O และ ยังไปพ้องรูปกับคำว่า VIVID ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าร่าเริงสดในอีกด้วย วิวิโอ้นั้นมีทั้งตัวถังแบบ 3 และ 5 ประตูให้เลือก และยังมีตัวถังพิเศษแบบ 2 ประตูทาร์ก้า (targa) ที่มีชื่อเรียกว่า ที-ท็อป (T-top) ซึ่งผลิตจำนวนจำกัดในปี ค.ศ. 1994 เท่านั้น หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1995 ซูบารุได้เปิดตัววิวิโอ้รุ่นตกแต่งในสไตล์เรโทรทีมีชื่อว่า วิวิโอ้ บริสโตร ในช่วงยุคปี ค.ศ. 1990 รถยนต์สไตล์เรโทรเป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่น และเสื่อมความนิยมลงหลังจากเข้าสู่ยุค 2000
ข้อมูลรถยนต์ ซูบารุ วิวิโอ้
[แก้]เครื่องยนต์
[แก้]วิวิโอ้ใช้เครื่องยนต์เบ็นซิน 4 สูบขนาด 658cc (ทางการตลาดเรียกเป็น 660cc) ตระกูล EN07 มีชื่อเรียกอีกย่างนึงว่า โคลเวอร์โฟร์ (CLOVER4)
รุ่นเครื่องยนต์ | EN07A | EN07E | EN07Z | EN07X |
---|---|---|---|---|
ลักษณะเครื่องยนต์ | 4 สูบ เพลาราวลิ้นเดี่ยวเหนือฝาสูบ 8 วาล์ว | 4 สูบ เพลาราวลิ้นคู่เหนือฝาสูบ 16 วาล์ว | ||
ความจุกระบอกสูบ | 658 ซีซี | |||
ขนาดลูกสูบ X ช่วงชัก | 56 มม X 66.8 มม | |||
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง | คาร์บูเรเตอร์ | หัวฉีดอิเล็กทรอนิค | ||
ระบบอัดอากาศ | ไร้ระบบอัดอากาศ | ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ | ||
อัตราส่วนกำลังอัด | 10.0:1 | 8.5:1 | 9.0:1 | |
กำลังสูงสุด (PS) | 42 PS ที่ 7,000 รอบต่อนาที | 52 PS ที่ 7,200 รอบต่อนาที | 64 PS ที่ 6,400 รอบต่อนาที | 64 PS ที่ 7,200 รอบต่อนาที |
แรงบิดสูงสุด (kg∘m) | 5.3 kg∘m ที่ 4,500 รอบต่อนาที | 5.5 kg∘m ที่ 5,600 รอบต่อนาที | 8.6 kg∘m ที่ 4,400 รอบต่อนาที | 10.8 kg∘m ที่ 4,000 รอบต่อนาที |
ระบบกันสะเทือน และ ระบบส่งกำลัง
[แก้]วิวิโอ้ใช้ระบบกันสะเทือนแบบอิสระทั้ง4ล้อ ระบบกันสะเทือนด้านหน้าแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังแบบเซมิริลลิ่งอาร์ม และในรุ่นไมเนอร์เชนจ์ได้มีการออกแบบระบบกันสะเทือนด้านหลังใหม่ พร้อมทั้งเพิ่มเหล็กกันโคลงที่ระบบกันสะเมือนด้านหน้าอีกด้วย ระบบส่งกำลังของวิวิโอ้นั้นมี 3 แบบ ประกอบไปด้วยเกียร์ธรรมดาเดินหน้า 5 จังหวะ เกียร์อัตโนมัติ 3 จังหวะ และ เกียร์อัตโนมัติแบบ ECVT (Electro Continuously Variable Transmission) พร้อมแมนนวลโหมดปรับล็อกพูลเลย์ได้ 6 ระดับ และควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ได้ด้วยสปอร์ตชิฟท์ Sport Shift หรือที่รู้จักกันอีกชื่อคือ แพดเดิ้ลชิฟท์ paddle shift
คลังภาพ
[แก้]-
ด้านหน้า ซูบารุ วิวิโอ้ ef-s 4WD
-
ด้านหลัง ซูบารุ วิวิโอ้ ef-s 4WD
-
ซูบารุ วิวิโอ้ em-s 4WD
-
ซูบารุ วิวิโอ้ RX-R
-
ด้านหน้า ซูบารุ วิวิโอ้ el-s 5ประตู
-
ด้านหลัง ซูบารุ วิวิโอ้ el-s 5ประตู
-
ด้านหน้า ซูบารุ บิสโตร ชิฟฟ่อน
-
ด้านหลัง ซูบารุ บิสโตร ชิฟฟ่อน
-
ด้านหน้า ซูบารุ วิวิโอ้ T-Top
-
ด้านข้าง ซูบารุ วิวิโอ้ T-Top
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "1992 Subaru Vivio". carfolio.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-29.