ซิสตีอีน
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
IUPAC name
Cysteine
| |||
ชื่ออื่น
2-Amino-3-sulfhydrylpropanoic acid
| |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol)
|
|||
ตัวย่อ | Cys, C | ||
ChEBI | |||
ChEMBL | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ECHA InfoCard | 100.000.145 | ||
EC Number |
| ||
เลขอี | E920 (glazing agents, ...) | ||
KEGG | |||
ผับเคม CID
|
|||
UNII | |||
CompTox Dashboard (EPA)
|
|||
| |||
| |||
คุณสมบัติ[2] | |||
C3H7NO2S | |||
มวลโมเลกุล | 121.15 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | ผลึกหรือผงสีขาว | ||
จุดหลอมเหลว | 240 องศาเซลเซียส (464 องศาฟาเรนไฮต์; 513 เคลวิน) decomposes | ||
ละลายได้ | |||
ความสามารถละลายได้ | 1.5g/100g ethanol 19 degC [1] | ||
Chiral rotation [α]D | +9.4° (H2O, c = 1.3) | ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
ซิสตีอีน (อังกฤษ: cysteine, ตัวย่อ Cys หรือ C)[3] เป็นกรดอะมิโนที่มีสูตรเคมี C3H7NO2S มีโซ่ข้างเป็นหมู่ไธออล ซึ่งเป็นสารประกอบออร์แกโนซัลเฟอร์ ซิสตีอีนมีโครงสร้างเหมือนซีรีน แต่โซ่ข้างที่เป็นอะตอมออกซิเจนถูกแทนที่ด้วยกำมะถัน หากอะตอมกำมะถันถูกแทนที่ด้วยซีลีเนียมจะกลายเป็นซีลีโนซิสตีอีน ซิสตีอีนถูกเข้ารหัสในรหัสทางพันธุกรรมพื้นฐานเป็นโคดอน UGU และ UGC
ซิสตีอีนถูกค้นพบทางอ้อมในปี ค.ศ. 1810 โดยวิลเลียม ไฮด์ วูลลาสตัน นักเคมีชาวอังกฤษและเรียกว่าซิสติกออกไซด์ (cystic oxide) ต่อมาสารนี้รู้จักในชื่อซิสตีน (cystine)[4] ซิสตีนเป็นสารที่เกิดจากโมเลกุลของซิสตีอีนสองตัวจับกันด้วยพันธะไดซัลไฟด์[5] วูลลาสตันสกัดสารนี้จากนิ่วไตจึงตั้งชื่อตามคำในภาษากรีกโบราณ κύστις (kústis) ที่แปลว่า กระเพาะปัสสาวะ[6]
ชีวสังเคราะห์ของซิสตีอีนในสัตว์มาจากซิสตาไธโอนีน ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโนซีรีนได้รับอะตอมกำมะถันจากฮอโมซิสตีอีน กรดอะมิโนอีกชนิดที่กลายสภาพมาจากมีไธโอนีน จากนั้นซิสตาไธโอนีนจะถูกเอนไซม์ซิสตาไธโอนีนแกมมา-ไลเอสสลายกลายเป็นซิสตีอีนและกรดแอลฟา-คีโตบิวทีริก ขณะที่ในพืชและแบคทีเรียเริ่มต้นที่ซีรีนเช่นกัน โดยเปลี่ยนสภาพเป็น O-acetylserine ด้วยเอนไซม์ serine O-acetyltransferase หลังจากนั้น O-acetylserine จะจับกับอะตอมกำมะถันของไฮโดรเจนซัลไฟด์ และถูกเอนไซม์ซิสตีอีนซินเทสสลายกลายเป็นซิสตีอีนและปล่อยแอซิเตต[7]
โดยทั่วไปแล้ว ซิสตีอีนจัดเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย แต่บางครั้งจัดว่าจำเป็นต่อทารก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านเมตาบอลิซึมและการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ[8] ซิสตีอีนพบในเนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์นมและถั่ว เป็นส่วนหนึ่งของเบตา-เคราติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในผิวหนัง เส้นผม และเล็บ และเป็นหนึ่งในสารตั้งต้นของกลูตาไธโอน สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในสิ่งมีชีวิต[9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Belitz, H.-D; Grosch, Werner; Schieberle, Peter (2009-02-27). Food Chemistry. ISBN 9783540699330
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Weast, Robert C., บ.ก. (1981). CRC Handbook of Chemistry and Physics (62nd ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. p. C-259. ISBN 0-8493-0462-8..
- ↑ "Nomenclature and Symbolism for Amino, Acids and Peptides - Recommendations 1983" (PDF). IUPAC-IUB Joint Commission on Biochemical Nomenclature (JCBN). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ October 16, 2019.
- ↑ Preston, George W. "Cysteine: an Essential Inessential Amino Acid" (PDF). Semantic Scholar. สืบค้นเมื่อ October 16, 2019.
- ↑ "Cystine vs Cysteine for cellular health". Regenative. May 3, 2019. สืบค้นเมื่อ October 16, 2019.
- ↑ Diab, Mohammad (1999). Lexicon Orthopaedic Etymology. Chur, Switzerland: Harwood-Academic Publishers. p. 90. ISBN 9789057025976.
- ↑ "L-cysteine biosynthesis". BioCyc. สืบค้นเมื่อ October 16, 2019.
- ↑ Dietary Reference Intakes: The Essential Guide to Nutrient Requirements เก็บถาวร 5 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Institute of Medicine's Food and Nutrition Board. usda.gov
- ↑ Ciborowski, Pawel; Silberring, Jerzy (2012). Proteomic Profiling and Analytical Chemistry: The Crossroads. Amsterdam, Netherlands: Newnes, Elsevier. p. 19. ISBN 9780444593917.
- ↑ "The Health Benefits of L-Cysteine". Verywell Health. September 10, 2019. สืบค้นเมื่อ October 16, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซิสตีอีน
- "L-Cysteine - MSDS" (PDF). Northwest Missouri State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.