ข้ามไปเนื้อหา

ซิลเวอร์แฮไลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผลึกของซิลเวอร์คลอไรด์

ซิลเวอร์แฮไลด์ (อังกฤษ: Silver halide) เป็นผลึกไวแสงจะไวต่อแสงคลื่นสั้น เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตและแสงในช่วงคลื่นสีน้ำเงิน ฟิล์มประเภทนี้เรียกว่า ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน (blue-sensitive) ดังนั้น จึงมีการเติมสีย้อม (color dyes) เพื่อขยายช่วงความไวแสงของฟิล์มออกไป ฟิล์มที่มีการเติมสีย้อมลงไปในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว (orthochromatic) และฟิล์มที่ไวต่อแสงทุกสี (panchromatic) ดังนั้น การแบ่งประเภทของฟิล์มตามความไวแสงจึงแบ่งได้เป็นสามประเภท ได้แก่ ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว และฟิล์มที่ไวต่อแสงทุกสี

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในช่วงปี ค.ศ. 1727 - ค.ศ. 1777 ช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสาขาเคมีโดย โยฮัน ไฮน์ริช ชุลท์เซอ ชาวเยอรมัน พบว่าสารผสมของชอล์กกับเกลือเงินไนเตรทเมื่อถูกแสง แล้วจะทำให้เกิดภาพสีดำ ในปี ค.ศ. 1771 นักเคมีชาวสวีเดนชื่อ คาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอได้ค้นพบว่าเกลือเงินเปลี่ยนเป็นโลหะเงินโดยปฏิกิริยาของแสง ซึ่งนำไปสู่การค้นพบสารละลายใหม่ เขาค้นพบครั้งนี้โดยทำการทดลองกับเกลือเงินไนเตรด และเงินคลอไรด์ อีกทั้งยังได้ให้ข้อสักเกตไว้ด้วยว่า แสงสีม่วงของสเปคตรัม มีผลแรงมากที่สุดที่ทำให้เกลือเงินเป็นสีดำ ดังนั้นจึงต้องผลิตสารละลายในการถ่ายรูปให้ไวต่อแสงสีม่วงและสีน้ำเงิน

ต่อมาในปี ค.ศ. 1777 วิลเลี่ยมพบว่าแสงสีน้ำเงินและสีม่วงของ Positive มีผลทำให้เกลือเงินไนเตรทและเกลือเงินคลอไรด์ เปลี่ยนเป็นสีดำได้มากกว่าแสงสีแดง จนเมื่อ ค.ศ. 1826 นีเซฟอร์ เนียปส์ ชาวฝรั่งเศส ได้ใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารไวแสงบีทูเมน ซึ่งมีสีขาว ใส่ในกล้อง ออบสคิวรา ถ่ายภาพทิวทัศน์จากหน้าต่างบ้านเขาเองที่เมืองแกรส โดยใช้เวลานานถึง 8 ชั่วโมงเมื่อนำแผ่นดีบุกไปล้างด้วยน้ำมันจากต้นลาเวนเดอร์ทำให้ส่วนที่ถูกแสงที่เป็นส่วนโพสิทีฟแข็งตัว ส่วนที่ไม่ถูกแสงจะถูกล้างออกไปหมด เหลือแต่ส่วนที่เป็นสีดำ ต่อมา วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต และ หลุยส์ ดาแกร์ คิดค้นวิธีบันทึกภาพได้ในเวลาไล่เลี่ยกับการถ่ายภาพด้วยวิธีดาแกร์เลิกใช้กันแล้ว แต่เทคนิคที่ทัลบอตพัฒนาขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ยังใช้ต่อมาถึงปัจจุบัน ทัลบอตใช้วิธีจุ่มกระดาษลงในสารละลายเกลือเงินซิลเวอร์คลอไรด์ ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่องถูกแสงตกสู่กระดาษก็จะได้ภาพเนกาทีฟที่กลับดำเป็นขาวและขาวเป็นดำ ทัลบอตใช้กระบวนการเช่นเดียวกันนี้ในการอัดภาพโพซิทีฟหรือภาพเหมือนจริงได้มากเท่าที่ต้องการ

จากภาพโพสิทีฟ ที่ไม่สามารถไปอัดขยายเพิ่มได้อีก จึงได้มีการพัฒนามาเป็นการค้นพบภาพเนกาทีฟ โดย วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต โดยใช้กระดาษไวแสงเคลือบละลายเงินไนเตรดและกรดแกลลิก เมื่อนำไปถ่ายภาพแล้วนำไปล้างในน้ำยาเงินไนเตรตและโพแทสเซียมไอโอไดด์ จะทำให้ภาพค่อยปรากฏให้เห็นเป็น ภาพเนกาตีฟ ซึ่งสามารถนำไปอัดขยายต่อได้

อ้างอิง

[แก้]