ซิลลิโททาร์ทัน
ซิลลิโททาร์ทัน (อังกฤษ: Sillitoe tartan) เป็นแบบลวดลายตารางหมากรุก มักเป็นสีขาว-ดำหรือขาว-น้ำเงิน เดิมลวดลายนี้มีความเกี่ยวข้องกับตำรวจสกอตแลนด์[a] ต่อมามีการใช้ลวดลายนี้อย่างแพร่หลายในกรมตำรวจทั่วทั้งสหราชอาณาจักรและต่างประเทศ โดยเฉพาะในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กรมตำรวจชิคาโก และกรมตำรวจพิตต์สเบิร์ก ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งมีการใช้ลายดังกล่าวบ้างในหน่วยงานตำรวจท้องถิ่น ในสเปนและแคนาดาบางแห่ง โดยในแคนาดาลายนี้สงวนไว้เฉพาะตำรวจกองหนุน เท่านั้น
ลายซิลลิโทอาจปรับสีหรือจำนวนแถวตามบริบทของท้องถิ่น แต่ลายดังกล่าวมีหน้าที่บ่งบอกความเป็นผู้ให้บริการฉุกเฉิน ต่อสาธารณชนเมื่อลายนี้อยู่แบบเครื่องแบบหรือยานพาหนะ
ประวัติ
[แก้]แบบลวดลายนี้เดิมทีใช้เป็นสัญลักษณ์ของมุทราศาสตร์สกอตแลนด์ ปรากฏบนตราอาร์มของครอบครัวหลาย ๆ ตรา ลวดลายคาดว่ามีจุดเริ่มต้นจากการที่ทหารที่ราบสูงแห่งกองทหารสกอตแลนด์ ถักติดแถบผ้าสีขาวเข้ากับหมวกสีดำ[1] หลังจากนั้น มีการใช้แบบลวดลายนี้ในกองกำลังอาสาสมัครสกอตแลนด์ในทศวรรษ 1860 และลอวัตสกอตส์ ในช่วงต้นทศวรรษ 1900[2]
ใน ค.ศ. 1932 เซอร์ เพอร์ซีย์ ซิลลิโท ผู้บัญชาการตำรวจภูธร แห่งตำรวจนครกลาสโกว์ นำลายดังกล่าวมาใช้ในงานตำรวจเป็นครั้งแรก โดยใช้เป็นลายผ้าพันหมวก[3] เพื่อให้จำแนกตำรวจออกจากเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่สวมหมวกแบบคล้ายกัน เดิมใช้เป็นผ้าสีขาว แล้วเพิ่มสีดำเข้าไปเนื่องจากแถบผ้าแบบเดิมสกปรกเร็ว[4]
เดิมทีมีการใช้ลวดลายดังกล่าวในสกอตแลนด์เท่านั้น จากนั้นใน ค.ศ. 1961 ตำรวจรัฐเซาท์ออสเตรเลียได้นำลายดังกล่าวมาใช้ จนในช่วงทศวรรษ 1970 มีการใช้ลายดังกล่าวในรัฐอื่นของออสเตรเลียและในพื้นที่อื่นของสหราชอาณาจักร
การใช้งานในแต่ละประเทศ
[แก้]สหราชอาณาจักร
[แก้]นับแต่การนำมาใช้โดยเซอร์ เพอร์ซีย์ ซิลลิโท ใน ค.ศ. 1932 ลายดังกล่าวมีการใช้ภายในสกอตแลนด์เท่านั้น จนถึง ค.ศ. 1961 ที่มีการนำมาใช้ในเซาท์ออสเตรเลีย[5] นับแต่ ค.ศ. 1972 เริ่มมีการใช้ลายสกอตแบบสีขาว-ดำอย่างแพร่หลายในอังกฤษและเวลส์จนใช้ในหน่วยงานตำรวจทุกหน่วยในบริเตนใหญ่ โดยใช้ลายดังกล่าวบนหมวกทรงหม้อตาล หมวกแก๊ป และหมวกขี่ม้า รวมทั้งหมวกโบว์เลอร์และคราแวตของเจ้าหน้าที่สตรี
เจ้าหน้าที่ส่วนมากใช้ผ้าลายตารางหมากรุกสีขาว-ดำ ยกเว้นตำรวจนครลอนดอนที่ใช้ลายตารางหมากรุกสีขาว-แดง รวมทั้งมีการใช้โดยตำรวจแฮมสเตดฮีธ และตำรวจตลาดบิลลิงส์เกต (ตำแหน่งทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้เป็นตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่) ซึ่งทั้งสองอยู่ภายใต้การกำกับขององค์กรบริหารนครลอนดอน[6][7] ส่วนตำรวจแฮมเมอร์สมิธและฟูแลมพาร์ก ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานท้องถิ่นเดิมใช้ลายตารางหมากรุกสีขาว-แดงเพื่อให้สอดคล้องกับสีประจำสภาท้องถิ่น แล้วเปลี่ยนไปใช้ลายมาตรฐาน[8]
ขุนวังประจำอาสนวิหารที่ได้รับการรับรองซึ่งทำงานในอาสนวิหารแองกลิคันใช้ผ้าพันหมวกลายตารางหมากรุกสีขาว-น้ำเงินรอแยลบลูเพื่อจำแนกตนให้ต่างไปจากตำรวจมหาดไทย
ตำรวจรอแยลพาร์กส์ (ปัจจุบันยุบเลิกไปแล้ว) เดิมใช้ลายตารางหมากรุกสีขาว-เขียว ภายหลังใช้ลายตารางหมากสีขาว-น้ำเงินมาตรฐาน ส่วนตำรวจรอแยลพาร์กส์สกอตแลนด์ซึ่งเป็นส่วนแยกจากอังกฤษใช้ลายตารางหมากรุกสีขาว-เขียว[9]
-
ตำรวจประจำการของกองตำรวจนครบาลสหราชอาณาจักรและตำรวจนครลอนดอนที่ติดแถบลายตารางหมากรุกสีขาว-ดำและสีขาว-แดงบนหมวกขี่ม้า
-
แถบซิลลิโททาร์ัทนบนหมวกแก๊ปของตำรวจไอร์แลนด์เหนือ
-
ตัวอย่างแถบลายตารางหมากรุกสีขาว-ดำและสีขาว-แดงบนหมวกของตำรวจในลอนดอน
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ทาร์ทันเป็นการเรียกชื่อผิด เนื่องจากซิลลิโทแบบลวดลายตารางหมากรุก ไม่ใช่ทาร์ทัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Tartan Details - Sillitoe". The Scottish Register of Tartans. สืบค้นเมื่อ 2024-06-29.
- ↑ "The Sillitoe Tartan". Glasgow Police Museum (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-06-29.
- ↑ "Sillitoe Tartan". In The Line of Duty. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11.
- ↑ Kohlstedt, Kurt (2020-12-24). "Sillitoe's Tartan: The Scottish Origins of a Global Emergency Services Pattern". 99% Invisible (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Peters, Allan L. (2002). "The Chequered Band ('Silitoe Tartan')". SAPoliceHistory.org. South Australia Police Historical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2017. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
- ↑ "Hampstead Heath Constabulary - Google Search". สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
- ↑ "Hampstead Heath Constabulary - Google Search". สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
- ↑ "Photograph". Politie-Petten.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2 January 2014. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
- ↑ "Photograph" (JPG). Adintpolcol.Tripod.com. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.