ข้ามไปเนื้อหา

ซิมบ็อกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกตเวย์จีเอสเอ็มวอยซ์โอเวอร์ไอพี ของบริษัท AddPac Technology ที่มีซิมบ็อกซ์อยู่ภายใน

ซิมบ็อกซ์ (อังกฤษ: SIM box เรียกอีกอย่างว่า อังกฤษ: SIM bank) คืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งเกตเวย์วอยซ์โอเวอร์ไอพี โดยจะประกอบด้วยซิมการ์ดจำนวนหนึ่งซึ่งเชื่อมต่อกับเกตเวย์แต่จะถูกติดตั้งในกล่องแยกจากกัน ซิมบ็อกซ์สามารถติดตั้งซิมการ์ดของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลายราย ซึ่งทำให้สามารถทำงานร่วมกับเกตเวย์จีเอสเอ็มหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ได้[ต้องการอ้างอิง]

การใช้งานและการตรวจจับ

[แก้]
ผังการโทรด้วยบริการวอยซ์โอเวอร์ไอพีผ่านซิมบ็อกซ์และเกตเวย์

ผู้ให้บริการซิมบ็อกซ์สามารถกำหนดเส้นทางการโทรผ่านการเชื่อมต่อวอยซ์โอเวอร์ไอพี และเชื่อมต่อการโทรเป็นเสมือนการสื่อสารในท้องถิ่น ทำให้ผู้ให้บริการซิมบ็อกซ์ไม่ต้องจ่ายอัตราค่าบริการการโทรระหว่างประเทศที่สูงและลดราคาที่ถูกเรียกเก็บโดยผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในท้องถิ่น (MNO)[1][2] โดยทั่วไปแล้ว ในการสื่อสารด้วยเสียงจะใช้ชุมสายส่วนตัวเพื่อรับข้อมูลการสื่อสารภายในท้องถิ่น แล้วสายจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังซิมบ็อกซ์ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล รูปแบบการดำเนินงานทางธุรกิจนี้มักใช้เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมการโทรทางไกลที่สูงกว่าสำหรับบริการการโทรทางไกลที่ไม่ใช่โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโทรในประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า

ซิมบ็อกซ์มักใช้บริการวอยซ์โอเวอร์ไอพีที่มีอัตราค่าบริการต่ำกว่าไปยังปลายสายบนเครือข่ายมือถือในท้องถิ่น (MNO) รวมถึงการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมที่สูงของผู้ให้บริการ จากการโทรซึ่งขัดต่อนโยบายการใช้งานที่ยอมรับได้ และการส่งข้อความขยะผ่านมือถือ

ผู้ให้บริการบางรายพยายามตรวจจับและปฏิเสธการให้บริการซิมบ็อกซ์ ผ่านวิธีการต่าง ๆ รวมถึงการยกเลิกหรือการจำกัดการให้บริการเฉพาะกับซิมการ์ดที่มีการระบุตัวตน ผู้ให้บริการซิมบ็อกซ์มักจะทำการสลับซิมการ์ดเพื่อแทนที่ซิมที่ถูกจำกัดการใช้งาน พวกเขาอาจทำการเขียนรหัสสากลประจำอุปกรณ์เคลื่อนที่ (IMEI) ของซิมบ็อกซ์ใหม่ โดยมักจะใช้ IMEI แบบสุ่มเป็นช่วง หรือ IMEI ที่กำหนดให้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไปเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ

การใช้ซิมบ็อกซ์มักจะถูกกฎหมาย แต่การใช้ดังกล่าวอาจถือเป็นการละเมิดสัญญาผู้ให้บริการ หลายบริษัทเช่น เวอไรซอน พยายามโน้มน้าวรัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐอย่างหนักเพื่อห้ามการใช้ซิมบ็อกซ์ อีกเหตุผลคือการขาดการควบคุมผู้ใช้เช่น การรับรู้ว่าใครกำลังโทรหาใคร สิ่งนี้สร้างความท้าทายอย่างมากต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นต้องการทราบว่าใครโทรหาใครและจากที่ไหน ตัวอย่างหนึ่งคือในประเทศกานา ซึ่งรัฐบาลได้มีมาตรการที่เข้มงวดกับการใช้งานซิมบ็อกซ์[2][3]

ในประเทศออสเตรเลียนักหลอกลวง (scammer) ใช้ซิมบ็อกซ์จำนวนมากในการส่งข้อความนับล้านข้อความที่แอบอ้างว่ามาจาก ATO, Centrelink, Medicare, Australia Post, Commonwealth Bank, Transurban และ Linkt ซึ่งการรายงานนักหลอกลวงผ่านทางบริการสารสั้น (SMS) ไปยังหน่วยอำนวยการสัญญาณออสเตรเลีย (Australian Signals Directorate, ASD) ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปิดระบบของนักหลอกลวงเหล่านี้[4]

คุณภาพการโทร

[แก้]

เนื่องจากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไปมักใช้ตัวเข้ารหัส/ถอดรหัสเสียงที่ล้าสมัยและมีคุณภาพต่ำ (เช่น โคเดก GSM HR และ FR) ซิมบ็อกซ์สามารถทำการเชื่อมต่อในท้องถิ่นด้วยคุณภาพเสียงที่เหนือกว่าได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "How Bypass Fraud Works". PurgeFraud.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2015.
  2. 2.0 2.1 "Ghana loses 33million dollars through SIM BOX fraud". vibeghana.com. 26 มกราคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2015.
  3. "Former GREDA boss Tweneboah arrested for SIM box fraud". MyJoyOnline.com. 26 มกราคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2015.
  4. "Recognise and report scams". Australian Signals Directorate's Australian Cyber Security Centre.