ซาฮา ฮาดิด
ซาฮา ฮาดิด | |
---|---|
ฮาดิดที่ศูนยืวัฒนธรรมเฮย์ดาร์อะลีเยฟ, 2013 | |
เกิด | ซาฮา โมฮัมมัด ฮาดิด 31 ตุลาคม ค.ศ. 1950 แบกแดด, ประเทศอิรัก |
เสียชีวิต | 31 มีนาคม ค.ศ. 2016 ไมอามี, รัฐฟลอริดา, สหรัฐ | (65 ปี)
สัญชาติ | อิรัก, สหราชอาณาจักร |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งเบรุต สถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์สมาคมสถาปัตยกรรม |
บิดามารดา | Mohammed Hadid Wajeeha Sabonji |
การทำงาน | ซาฮา ฮาดิด อาร์คิเท็กส์ |
ผลงานสำคัญ | สถานีดับเพลิงวีทรา, MAXXI, บริดจ์พาวิลเลียน, ศูนย์ศืลปะร่วมสมัย, ศูนย์เฮย์ดาร์ อะลีเยฟ, ริเวอร์ไซด์มิวเซียม |
เว็บไซต์ | www |
เดม ซาฮา โมฮัมมัด ฮาดิด DBE RA (อาหรับ: زها حديد Zahā Ḥadīd, โรมาเนีย: Zaha Mohammad Hadid, 31 ตุลาคม 1950 – 31 มีนาคม 2016) เป็นสถาปนิก, ศิลปิน และนักออกแบบชาวอังกฤษ-อิรัก และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของวงการสถาปัตยกรรมในปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 ฮาดิดิเกิดที่เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก และสมัครเข้าศึกษาต่อที่สถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์สมาคมสถาปัตยกรรมในปี 1972 งานออกแบบของฮาดิดมีความสนใจที่จะหาระบบมาทดแทนวิธีร่างแบบแบบดั้งเดิม ประกอบกับเธอได้รับอิทธิพลจากลัทธิซูพรีมาทิสม์และอะว็องต์-การ์แบบรัสเซีย ฮาดิดได้ใช้การละเลงสี (painting) เป็นเครื่องมือออกแบบ และใช้นามธรรมเป็นหลักการในการตรวจสอบเพื่อ "ตรวจสอบใหม่ (reinvestigate) บรรดาการทดลองที่ถูกทิ้งและไม่ได้ทดลองของลัทธิโมเดิร์นนิสม์ (Modernism) [...] เพื่อเปิดเผยสาขา (fields) ใหม่ ๆ ชองสิ่งก่อสร้าง"[1]
เดอะการ์เดียน เรียกขานเธอว่าเป็น "ราชินีแห่งเส้นโค้ง" (Queen of the curve)[2] ผู้ "ปลดปล่อยเรขนาคณิตในทางสถาปัตยกรรม และให้อัตลักษณ์เชิงแสดงออกใหม่ทั้งหมด (a whole new expressive identity)"[3]
ในปี 2004 ฮาดิดเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมพริทซ์เคอร์[4] และได้รับรางวัลด้านสถาปัตยกรรมสูงสุดของสหราชอาณาจักร รางวัลสเตอร์ลิง ในปี 2010 และ 2011 และในปี 2012 เธอได้รับสถานะเดมโดยพระราชินีเอลิซาเบธที่สอง และในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 หนึ่งเดือนก่อนเธอเสียชีวิต[5] เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชเดียรติยศทองคำจากราชวิทยาลัยสถาปนิกอังกฤษ[6][7]
ผลงานที่สำคัญ
[แก้]ผลงานชิ้นสำคัญของเธอ เช่น ลอนดอนอควาทิกเซนเตอร์ให้กับโอลิมปิกปี 2012, พิพิธภัณฑ์ศิลปะบรอด, พิพิธภัณฑ์ MAXXI ที่โรม และ โรงอุปรากรกว่างโจว[8] รางวัลของเธอบางส่วนนั้นมอบให้ภายหลังมรณกรรมของเธอ เช่น รางวัลบริทปี 2017 และขณะที่เธอเสียชีวิตยังคงมีผลงานอาคารอีกมากที่ยังก่อสร้างอยู่ เช่น ท่าอากาสยานนานาชาติต้าซิง ที่ปักกิ่ง และสนามกีฬาอัลวักรอฮ ที่กาตาร์ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่แข่งขันฟีฟ่าปี 2022[9][10][11] และยังมีงานสถาปัตยกรรมอื่นๆที่โด่งดังทั่วโลก เช่น
1. Vitra fire station, Weil am Rhein, Germany (1994)
2. Phaeno science centre, Wolfsburg, Germany (2005)
3. Bridge Pavilion, Zaragoza, Spain (2008)
4. Evelyn Grace Academy, London (2008)
5. Guangzhou opera house, Guangzhou, China (2010)
6. Dongdaemun Design Plaza (DDP), Seoul (2010)
7. Riverside museum, Glasgow (2011)
8. London aquatics centre, Stratford (2012)
9. Heydar Aliyev cultural center, Baku, Azerbaijan (2012)
10. Galaxy Soho, Beijing, China (2012)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Serrazanetti, Francesca; Schubert, Matteo, บ.ก. (2011). Zaha Hadid: Inspiration and Process in Architecture. China: Moleskine. p. 56. ISBN 9788866130048.
Technology's rapid development and our ever-changing lifestyles created a fundamentally new and exhilarating backdrop for building, and in this new world context I felt we must reinvestigate the aborted and untested experiments of Modernism – not to resurrect them, but to unveil new fields of building.
- ↑ "Queen of the curve' Zaha Hadid died at aged 65 from heart attack". The Guardian. 29 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ Kimmelman, Michael (31 March 2016). "Zaha Hadid, Groundbreaking Architect, Dies at 65". The New York Times. ISSN 0362-4331.
- ↑ Nonie Niesewand (March 2015). "Through the Glass Ceiling". Architectural Digest. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ "Zaha Hadid receives Royal Gold Medal". architecture.com.
- ↑ "Dame Zaha Hadid awarded the Riba Gold Medal for architecture". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:2
- ↑ Kamin, Blair (1 April 2016). "Visionary architect 1st woman to win Pritzker". Chicago Tribune. p. 7.
- ↑ "Dame Zaha Hadid's Brit Awards statuette design unveiled". BBC News. 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFIFA 2022 Stadium
- ↑ Johnson, Ian (24 November 2018). "Big New Airport Shows China's Strengths (and Weaknesses)". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ "รู้จัก Zaha Hadid กับ 10 สุดยอดงานของสถาปนิกหญิงระดับตำนาน! -". StyleStay เที่ยว อยู่ อย่างมีสไตล์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-05-25.