ข้ามไปเนื้อหา

ซาร์มีซา บิลเชสกู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดวงตราไปรษณียากรเฉลิมฉลองซาร์มีซา บิลเชสกู ของไปรษณีย์โรมาเนียปี 2021

ซาร์มีซา บิลเชสกู (โรมาเนีย: Sarmisa Bilcescu หรือ Sarmiza หรือ ซาร์มีเซเกตูซา; Sarmisegetuza, หรือสกุลในภายหลังของชีวิต บิลเชสกู-อาลีเมอนิชเตอานู, Bilcescu-Alimănişteanu; 27 เมษายน 1867 – 26 สิงหาคม 1935) เป็นนักฎหมายชาวโรมาเนีย สตรีคนแรกที่ศึกษาวิชานิตศาสตร์ ได้รับปริญญาเอกในสาขานิติศาสตร์จากคณะนิติศาสตร์ปารีส และเป็นสตรีคนแรกของโรมาเนียที่ได้ประกอบอาชีพในสายงานกฎหมาย สามีของเธอคือวิศวกร กอนซตันติน อาลีเมอนิชเตอานู

ชีวประวัติ

[แก้]

เธอมีภูมิหลังจากครอบครัวที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับอีโยน เบรอตีอานู[1]

เธอเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสในปี 1884 และได้รับการต้อนรับที่ไม่สู้ดีนัก ตามคำบอกเล่าของ Edmond Louis Armand Colmet De Santerre ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายแพ่ง ซึ่งระบุว่า "เราลังเลที่จะให้คำยินยอมตามที่นางบิลเชสกูเรียกร้อง ไม่ฉะนั้นเราคงต้องให้มีตำรวจประจำการที่โถงสอนหนังสือ"[2] และแม้เธอจะได้รับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปารีสแล้วก็ตาม เจ้าหน้าที่หน้าประตูไม่ยอมเปิดประตูให้เธอเข้าไปภายในอาคารของมหาวิทยาลัย เธอเคยเขียนบ่นถึงพฤติกรรมนี้ว่าช่างขัดกันเหลือเกินกับคติพจน์ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ที่จารึกไว้เหนือบานประตูนั้น[2] กระนั้นหลังสิ้นสุดปีแรกของการศึกษา Colmet De Santerre ได้รายงานแก่นักศึกษาที่มารวมตัวกัน โดยกล่าวถึงบิลเชสกูว่ามี "ความมุมานะมากยิ่งไปกว่าคำเชิดชูทั้งปวง และเป็นผู้ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง" และขอขบคุณนักศึกษาชายที่ได้ "ต้อนรับเธอประดุจพี่/น้องสาวคนหนึ่ง" สุนทรพจน์นี้ของเขาได้รับการปรบมือกราวในหอประชุมจากผู้ฟัง[2]

เธอได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพในปี 1887[1][2][3] ในปี 1890 ซึ่งรายงานจำนวนนักศึกษาสตรีทั้งหมดในฝรั่งเศสมี 71% เป็นชาวต่างชาติ[3] บิลเชสกูถือเป็นหนึ่งในสตรีชาวยุโรปคนแรก ๆ ที่จบการศึกษาปริญญาเอกด้านนิติศาสตร์ เป็นรองจาก Marie Popelin ในปี 1888[1][3][4][5][6] วิทยานิพนธ์จบของเธอมีชื่อว่า De la condition légale de la mère ("ว่าด้วยสถานะทางกฎหมายของมารดา")[1][4][5] ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในทศวรรษ 1880s โรมาเนียยังได้รับสตรีโรมาเนียคนแรกที่จบการศึกษาแพทยศาสตร์ ซึ่งคือ คริสตีนา คุตซารีดา[6]

ในปี 1891 ภายใต้การสนับสนุนของกอนซตันติน ดิสเศสกู[7] เธอได้การยอมรับเข้าร่วมสถานะเต็มในสมาคมเนติบัณฑิตเทศมณฑลอิลฟอฟซึ่งมีเขตรับผิดชอบครอบคลุมเมืองหลวงบูคาเรสต์[1][5] นอกจากจะเป็นสตรีคนแรกในโรมาเนียที่ได้รับตำแหน่งเข้าสู่เนติบัณฑิตยสภาแล้ว[7] ยังถือเป็นครั้งแรก ๆ ที่เกิดก่อนหลายประเทศอื่นในยุโรป[1][5] นักกฎหมายชาวเบลเยียมและนักการเมืองเสรีนิยม ลุยส์ ฟรังค์ ยินดีกับเหตุการณ์นี้อย่างมาก และเชิดชูว่าเป็น "นวัตกรรมครั้งใหญ่"[7]

อย่างไรก็ตาม เธอไม่เคยได้ประกอบอาชีพว่าความ[1][7] ในขณะที่สตรีคนต่อมาที่สมัครเข้ายังสมาคมเนติบัณฑิตในปี 1901 (ประจำเขตเทศมณฑลอิลฟอฟเช่นกัน) เอเลนา ปอปอวีชี (Elena Popovici) ถูกปฏิเสธการเข้าร่วม[7] บิลเชสกูสมรสกับวิศวกร กอนซตันติน อาลีเมอนิชเตอานู หกปีหลังเข้าร่วมสมาคมเนติบัณฑิตและเกษียณจากอาชีพการงาน ในขณะนั้นเธอยังคงมีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิสตรี และเป็นหนึ่งในสมาชิกชุดแรกของ Societatea Domnişoarelor Române (สมาคมยุวสตรีโรมาเนีย)[1] ในปี 1915 เธอร่วมกับอานา ฮาเรต, ซาบีนา กันตากูซีโน และ มารียา ฟีลีเปสกู จัดตั้งคณะกรรมการภายใต้พระบรมราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระราชินีมารี ทำการเรียกร้องการให้การศึกษาทดแทนสำหรับสตรีที่ถูกปฏิเสธการศึกษาขั้นสูง กระนั้นข้อเรียกร้องนี้ไม่สำเร็จ[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Alin Ciupală, Femeia în societatea românească a secolului al XIX-lea ("Women in 19th Century Romanian Society"), Editura Meridiane, Bucharest, 2003, p.59-60, 85
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 (ในภาษาฝรั่งเศส) Carole Lécuyer, "Une nouvelle figure de la jeune fille sous la IIIe République: l'étudiante" ("A New Figure of Young Girls under the Third Republic: the Student"), in Clio. Femmes, genre, histoire, 4/1996
  3. 3.0 3.1 3.2 (ในภาษาฝรั่งเศส) Savoir et Recherche. La Place des Femmes ("Knowledge and Research. The Place of Women"), Université du Littoral Côte d'Opale, Working Paper Nr.16, January 2006, p.7
  4. 4.0 4.1 (ในภาษาฝรั่งเศส) Sylvie Chaperon, "Une génération d’intellectuelles dans le sillage de Simone de Beauvoir" ("A Generation of Intellectuals in the Wake of Simone de Beauvoir"), in Clio, 13/2001
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 (ในภาษาโรมาเนีย) Oana Sandu, Educaţia feminină în societatea romanească a secolului XIX ("Female Education in 19th century Romanian Society"), at miculparis.ro
  6. 6.0 6.1 (ในภาษาโรมาเนีย) Amalia Vasilescu, Imaginarul despre Femeie în Vechiul Regat între pozitv şi negativ ("The Image of Women in the Romanian Old Kingdom, between Negative and Positive") เก็บถาวร 29 มีนาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, at the University of Bucharest site
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 (ในภาษาโรมาเนีย) Andreea Ofiţeru, "Vârsta de aur a avocaturii româneşti" ("The Golden Age of Romanian Law Practice") เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in Evenimentul Zilei, 3 July 2006