ซาราซีเนีย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ซาราซีเนีย | |
---|---|
Sarracenia oreophila | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Ericales |
วงศ์: | Sarraceniaceae |
สกุล: | Sarracenia L. |
สปีชีส์ | |
| |
การกระจายพันธุ์ของ Sarracenia |
ซาราซีเนีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sarracenia) เป็นสกุลของพืชกินสัตว์ ในวงศ์ Sarraceniaceae ที่บรรจุไปด้วยสกุลญาติใกล้ชิดอย่างดาร์ลิงโทเนีย และเฮเลียมโฟรา สกุลซาราซีเนียประกอบไปด้วย 8–11 ชนิด ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก, รัฐเท็กซัส, บริเวณเกรตเลกส์ และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแคนาดา ซึ่งสปีชีส์ส่วนใหญ่จะอยู่ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา (ยกเว้น S. purpurea ที่อยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น) ใบของพืชในสกุลจะมีการวิวัฒนาการเป็นรูปหลอดยาวปากแตรเพื่อที่จะดักจับแมลงและย่อยเหยื่อของมันด้วยน้ำย่อยโปรตีนและเอนไซม์อื่น ๆ
แมลงจะถูกดึงดูดด้วยน้ำคัดหลั่งอย่างน้ำต้อยที่อยู่บนขอบของหม้อ รวมถึงสีสันและกลิ่น เหยื่อจะพลัดตกลงไปในหม้อจะตายและถูกย่อยกลายเป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับพืช
อนุกรมวิธาน
[แก้]สกุลซาราซีเนีย (Sarracenia) อยู่ในวงศ์ Sarraceniaceae ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับสกุลอย่างดาร์ลิงโทเนีย หรือ ลิลลี่งูเห่า (Darlingtonia) และ เฮเลียมโฟรา (Heliamphora) ภายใต้ระบบอนุกรมวิธานแบบครอนควิสท์ (Cronquist system) วงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในอันดับ Nepenthales ร่วมกับ Nepenthaceae และ Droseraceae[1] อย่างไรก็ตาม ระบบ APG II ได้กำหนดให้ Sarraceniaceae อยู่ในลำดับ Ericales และอีกสองตระกูลตามลำดับ Caryophyllales[2]
โดยทั่วไปการระบุชนิดของสกุลซาราซีเนียขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของนักพฤกษศาสตร์แต่ละคนในเรื่องแนวคิดของการจำแนกชนิดทางชีววิทยา และรวมทั้งบรรดาชนิดย่อยและพันธุ์ปลูกต่าง ๆ ซึ่งควรได้รับการยกระดับสถานะเป็นชนิด (สปีชีส์) ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งอนุกรมวิธานย่อยของ S. rubra ออกเป็น 3 ถึง 5 สปีชีส์ ในทำนองเดียวกัน S. rosea ไม่ได้จำแนกว่าเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างจาก S. purpurea
ชนิดที่รู้จักมากที่สุดของสกุลซาราซีเนีย ได้แก่
ชนิด | ผู้ระบุสายพันธู์ | ปีที่ขื้นทะเบียนสายพันธู์ | ภาพ | แหล่งกระจายพันธู์ |
---|---|---|---|---|
Sarracenia alabamensis ซาราซีเนียแอละแบมา |
Case & R.B.Case | 2005 | แอละแบมา มิสซิสซิปปีตะวันออก และฟลอริดา | |
Sarracenia alata ซาราซีเนียหลากสี |
(Alph.Wood) Alph.Wood | 1863 | ลุยเซียนาตะวันออกข้ามมิสซิสซิปปีตอนใต้และไปทางตะวันตกของแอละแบมาและแนวตะวันตกตั้งแต่เท็กซัสตะวันออกไปจนถึงลุยเซียนาตะวันตก | |
Sarracenia flava ซาราซีเนียเหลือง |
L. | 1753 | ทางใต้ของแอละแบมา ผ่านฟลอริดาและจอร์เจีย เวอร์จิเนียตอนใต้ นอร์ทแคโรไลนา และเซาท์แคโรไลนา | |
Sarracenia jonesii | Wherry | 1929 | นอร์ทแคโรไลนาและเซาท์แคโรไลนา | |
Sarracenia leucophylla ซาราซีเนียขาว |
Raf. | 1817 | ทางตะวันตกของแม่น้ำแอพะแลชิโคลา ในภูมิภาคฟลอริดาแพนแฮนเดิล นอกจากนี้ยังพบในอลาบามา จอร์เจีย ลุยเซียนา มิสซิสซิปปี และนอร์ทแคโรไลนา | |
Sarracenia minor ซาราซีเนียแคระ |
Walt. | 1803 | ทางเหนือของฟลอริดาและในจอร์เจีย จนถึงทางตอนใต้ของนอร์ทแคโรไลนา | |
Sarracenia oreophila ซาราซีเนียเขียว |
(Kearney) Wherry | 1933 | ทางเหนือของแอละแบมา นอร์ทแคโรไลนา จอร์เจีย และในอดีตเคยพบในเทนเนสซี | |
Sarracenia psittacina ซาราซีเนียนกแก้ว |
Michx. | 1803 | ลุยเซียนา แอละแบมา มิสซิสซิปปี ฟลอริดา จอร์เจีย | |
Sarracenia purpurea ซาราซีเนียม่วง |
L. | 1753 | ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ภูมิภาคเกรตเลกส์ แคนาดา (ยกเว้นนูนาวุตและยูคอน) รัฐวอชิงตัน และอะแลสกา | |
Sarracenia rosea ซาราซีเนียชมพู |
Naczi, Case & R.B.Case | 1999 | มิสซิสซิปปี จอร์เจีย | |
Sarracenia rubra ซาราซีเนียแดง |
Walt. | 1788 | ทางใต้ของมิสซิสซิปปี ผ่านแอละแบมาตอนใต้ ฟลอริดาแพนแฮนเดิล และจอร์เจีย ไปจนถึงที่ราบชายฝั่งเวอร์จิเนียและเซาท์แคโรไลนา |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- About Sarracenia
- Botanical Society of America, Sarracenia - the Pitcher Plants
- The Carnivorous Plant FAQ
- The International Carnivorous Plant Society
- Meadowview Biological Research Station (en:Meadowview Biological Research Station)
- North American Sarracenia Conservancy
- Sarracenia culture and care[ลิงก์เสีย] on CultureSheet.org
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cronquist, Arthur. (1981). An integrated system of classification of flowering plants. New York: Columbia University Press.
- ↑ Angiosperm Phylogeny Group. (2003). An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG II. Botanical Journal of the Linnean Society, 141: 399–436.