ข้ามไปเนื้อหา

ซัมกุก ซากี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซัมกุก ซากิ)
ซัมกุกซากี
ผู้ประพันธ์Kim Bu-sik
ชื่อเรื่องต้นฉบับ삼국사기 (三國史記)
ประเทศโครยอ
ภาษาจีนคลาสสิก
หัวเรื่องประวัติศาสตร์เกาหลี
ประเภทประวัติศาสตร์โบราณ
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1145

ซัมกุก ซากี (เกาหลี삼국사기; ฮันจา三國史記; แปล พงศาวดารของสามก๊ก) เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของสามก๊กแห่งเกาหลี (อาณาจักรโคกูรยอ อาณาจักรแพคเจ และอาณาจักรชิลลา) เขียนเสร็จใน ค.ศ. 1145 โดยเป็นที่รู้จักกันดีในเกาหลีว่าเป็นพงศาวดารประวัติศาสตร์เกาหลีที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เหลือรอด

ซัมกุก ซากี เขียนด้วยภาษาจีนคลาสสิก ซึ่งเป็นภาษาเขียนในวรรณกรรมเกาหลีโบราณ และรวบรวมภายใต้พระราชกระแสรับสั่งของพระเจ้าอินจงแห่งโครยอ (ครองราชย์ ค.ศ. 1122–1146) และดำเนินการโดย Kim Bu-sik ข้าราชการและนักประวัติศาสตร์ และกลุ่มนักวิชาการชั้นรอง สถาบันประวัติศาสตร์เกาหลีแห่งชาติ (National Institute of Korean History) นำเอกสารนี้ไปแปลงเป็นดิจิทัล และเพิ่มคำแปลในภาษาเกาหลีสมัยใหม่ในอักษรฮันกึลและข้อความต้นฉบับในภาษาจีนคลาสสิก[1]

รายละเอียด

[แก้]

ซัมกุก ซากี มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เกาหลีในสมัยสามก๊กและอาณาจักรรวมชิลลาอย่างมาก ไม่เพียงเพราะผลงานนี้และ ซัมกุก ยูซา ผลงานทางศาสนาพุทธ ที่ยังคงเป็นข้อมูลเกาหลีที่ยังเหลือรอดในสมัยนี้เท่านั้น แต่ ซัมกุก ซากี มีข้อมูลและรายละเอียดจำนวนมาก เช่น ตารางแปลในหนังสือเล่มที่ 35 และ 36 ถูกใช้ในการสร้างภาษาโคกูรยอใหม่ในเบื้องต้น[2]

ภูมิหลัง

[แก้]

ที่มา

[แก้]

ซัมกุก ซากี เขียนตามแบบของ กู ซัมกุกซา (舊三國史, ประวัติศาสตร์สามก๊กเก่า) และบันทึกประวัติศาสตร์ก่อนหน้า เช่น ฮวารัง เซกี (花郞世記, บันทึกประวัติศาสตร์ฮวารัง) ที่ส่วนใหญ่หายสาบสูญ

ส่วนแหล่งข้อมูลภายนอก ไม่มีการอ้างอิงถึงพงศาวดารญี่ปุ่น อย่างโคจิกิ (古事記) หรือนิฮงโชกิ (日本書紀) ที่เผยแพร่เมื่อ ค.ศ. 712 และ 720 ตามลำดับ โดยมีความเป็นไปได้ที่ Kim Busik เพิกเฉยต่อสิ่งนี้หรือรังเกียจที่จะอ้างแหล่งข้อมูลจากญี่ปุ่น ในทางตรงกันข้าม เขาหยิบยกข้อมูลจากพงศาวดารราชวงศ์จีนและแม้แต่บันทึกประวัติศาสตร์จีนอย่างไม่เป็นทางการขึ้นมาอย่างไม่เห็นแก่ตัว โดยเรื่องอ้างอิงที่โดดเด่นที่สุดได้แก่ เว่ย์ชู (魏書), จดหมายเหตุสามก๊ก (三國志), จิ้นชู (晉書), จิ้วถังชู (舊唐書, ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังเก่า), ซินถังชู (新唐書, ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังใหม่) และ จือจื้อทงเจี้ยน (資治通鑑)[3]

ข้อโต้แย้ง

[แก้]

แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่วิจารณ์ว่า ซัมกุก ซากี นั้นยกให้ อาณาจักรชิลลาเป็นศูนย์กลางของสามก๊กเกาหลี และเน้นยอมรับความสัมพันธ์ที่ยอมให้จีนเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่า ข้อโต้แย้งนี้มาจากมูลเหตุที่ Kim Busik ผู้เรียบเรียงบันทึกดังกล่าว ระบุว่าอาณาจักรชิลลาให้ความสำคัญต่อลัทธิขงจื๊อ มากกว่า พุทธศาสนา อันเป็นการนำเสนอเพื่อเอาใจจักรพรรดิจีน และยังลดความสำคัญของอาณาจักรโคกูรยอลงจากหน้าประวัติศาสตร์เกาหลี ขณะที่ไปเน้นความสำคัญทางอาณาจักรชิลลาแทนเพื่อป้องกันการขัดแย้งกับประเทศจีน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "삼국사기". 한국사 데이터베이스. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.
  2. Beckwith 2007
  3. Busik, Kim (1145). Samguk Sagi.

ข้อมูล

[แก้]

หนังสือ

[แก้]
  • Beckwith, Christopher (2007). Koguryo: The Language of Japan's Continental Relatives. Brill's Japanese Studies Library. Brill. p. 296. ISBN 9789047420286.
  • Kim, Kichung (1996). "Chap 4. Notes on the Samguk Sagi and Samguk yusa". An Introduction to Classical Korean Literature. Routledge. p. 256. ISBN 978-1563247866.
  • Lee, Peter H. (1992). Sourcebook of Korean Civilization. New York: Columbia University Press. p. 750. ISBN 978-0231079129.
  • Lee, Ki-baik; Wagner, Eward W. (1984). A new History of Korea. Harvard University Press. p. 518. ISBN 978-0674615762.
  • Sin, Chaeho (1931). "조선상고사" [History of Ancient Korea, 2 vols]. Reprinted in 단재 신 채호 전집 [Collected works of Danjae Sin Chaeho] (ภาษาเกาหลี). ed: 단재 신 채호 전집 편찬 위원회 (Compilation Committee), Seoul, Munjangsa, 1982.

เอกสาร

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]