ซันเซตไรเดอส์
ซันเซตไรเดอส์ | |
---|---|
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เขดญี่ปุ่น | |
ผู้พัฒนา | โคนามิ |
ผู้จัดจำหน่าย | โคนามิ |
กำกับ | ฮิเดยูกิ สึจิโมโตะ |
แต่งเพลง | โมโตอากิ ฟูรูกาวะ |
เครื่องเล่น | อาร์เขด เมกาไดร์ฟ/เจเนซิส ซูเปอร์แฟมิคอม |
วางจำหน่าย | อาร์เคด: กันยายน ค.ศ. 1991 เมกาไดร์ฟ/เจเนซิส: ธันวาคม ค.ศ. 1992 ซูเปอร์แฟมิคอม: 8 มิถุนายน ค.ศ. 1993 |
แนว | รันแอนด์กัน |
รูปแบบ | อาร์เขด ผู้เล่นคนเดียว, 2–4 ผู้เล่น (ร่วมมือ) เมกาไดร์ฟ/เจเนซิส 1–2 ผู้เล่น (ร่วมมือ, โหมดปะทะ) ซูเปอร์แฟมิคอม 1–2 ผู้เล่น (ร่วมมือ) |
ระบบอาร์เคด | ฐานทีเอ็มเอ็นที โคนามิ |
ซันเซตไรเดอส์ (ญี่ปุ่น: サンセットライダーズ; อังกฤษ: Sunset Riders) เป็นวิดีโอเกมแนวรันแอนด์กันแบบฉายด้านข้างที่ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดยโคนามิในฐานะเกมหยอดเหรียญบนแพลตฟอร์มอาร์เขดของสมาคมเครื่องนันทนาการและการตลาดแห่งประเทศญี่ปุ่น เกมมีฉากในแบบตะวันตกเก่าอเมริกัน ที่ผู้เล่นใช้การควบคุมนักล่าเงินรางวัลที่กำลังมองหาผลตอบแทนที่นำเสนอสำหรับอาชญากรต่าง ๆ
เวอร์ชันร่วมมือได้รับการเปิดตัวในสองสาย ได้แก่ เวอร์ชันสองผู้เล่นและเวอร์ชันสี่ผู้เล่น ส่วนเวอร์ชันคอนโซลของซันเซตไรเดอส์ได้รับการเปิดตัวสำหรับเซกาเมกาไดร์ฟ (เจเนซิส) ใน ค.ศ. 1992 และสำหรับซูเปอร์แฟมิคอมใน ค.ศ. 1993 โดยได้รับการตอบรับในเกณฑ์ที่ดี
รูปแบบการเล่น
[แก้]เกมซึ่งมีฉากในเวอร์ชันที่เพ้อฝันของตะวันตกเก่าอเมริกัน เกี่ยวกับการตะลุยของสี่นักล่าเงินรางวัลชื่อสตีฟ, บิลลี, บ็อบ และกอร์มาโน ผู้ที่ออกไปล่ารางวัลที่นำเสนอสำหรับการกำจัดพวกคนที่ทำผิดกฎหมายซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดในตะวันตก ที่จุดเริ่มต้นของแต่ละด่าน ผู้เล่นจะได้เห็นใบประกาศจับคนที่ทำผิดกฎหมายซึ่งพวกเขาต้องเผชิญในตอนท้าย
ซันเซตไรเดอส์สามารถเล่นได้ถึงสองหรือสี่ผู้เล่นโดยขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของเกม ในเวอร์ชันผู้เล่นสองคนผู้เล่นแต่ละคนสามารถเลือกนักล่าเงินรางวัลได้ทั้งสี่รายในตอนเริ่มของเกม ในขณะที่เวอร์ชันผู้เล่นสี่คนแต่ละตัวละครจะถูกกำหนดไว้กับแต่ละแผงควบคุม สตีฟ และบิลลีควงปืนพกลูกโม่, บ็อบถือปืนเล็กยาว และกอร์มาโนใช้ปืนลูกซอง ตัวควบคุมประกอบด้วยก้านควบคุมแปดทิศทางสำหรับการเคลื่อนย้ายและเล็ง รวมทั้งปุ่มสองปุ่มสำหรับยิงและกระโดด ผู้เล่นสามารถกระโดดสูง/ต่ำได้ และสไลด์เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของศัตรู[1]
วัตถุประสงค์ของเกมคือการปราบแก๊งโจรกรรมในแปดด่าน กับการต่อสู้กับบอสที่แข็งแกร่งในตอนท้ายของแต่ละด่าน เมื่อมีผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า ผู้ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดกับหัวหน้าด่านจะได้รับโบนัสทั้งหมดสำหรับการเอาชนะ มีห้าด่านที่เล่นด้วยการเดินเท้า, สองด่านที่ขี่ม้า และหนึ่งด่านบนรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ ส่วนมินิเกมโบนัสได้เล่นหลังจากด่านที่สองและห้า ซึ่งผู้เล่นสามารถได้รับคะแนนเพิ่มเติมโดยการยิงคนร้ายตามที่ปรากฏขึ้น หลังจากจบทั้งแปดด่านแล้ว เกมจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความยากที่เพิ่มขึ้น
ไอเทมพาวเวอร์อัพและโบนัสสามารถได้โดยการเข้าไปในประตู, การเอาชนะโจรที่ถือถุงบางราย หรือเปิดกระสอบที่วางอยู่บนพื้น ไอเทมพาวเวอร์อัพสองแบบที่สามารถหาได้ ได้แก่ เครื่องหมายนายอำเภอสีทองที่ได้จะทำให้มีการยิงเต็มรูปแบบโดยอัตโนมัติ และเครื่องหมายของนายอำเภอสีเงินจะทำให้ผู้เล่นมีปืนกระบอกที่สอง ซึ่งไอเทมพาวเวอร์อัพทั้งสองสามารถติดตั้งได้พร้อมกัน อาวุธอื่น ๆ ที่สามารถใช้โดยผู้เล่นรวมถึงระเบิดที่ถือมาโดยโจรผู้หญิง (ซึ่งต้องโยนกลับก่อนที่จะระเบิด), หินที่แขวนอยู่/ถังไม้/คบเพลิงสามารถทำให้ตกใส่ศัตรู และปืนแก็ตลิงที่ติดตั้งอยู่จะใช้ได้เฉพาะในด่านสุดท้าย ส่วนความลับในเกมที่เกี่ยวข้องกับความพ่ายแพ้ของบอสในด่านที่ห้า หากมีการใช้กอร์มาโน ณ จุดนี้ เขาจะคว้าซอมเบรโรของบอสและสวมใส่ตลอดส่วนที่เหลือของเกม
หนึ่งชีวิตจะสูญหายไปเมื่อผู้เล่นถูกโจมตีจากศัตรู, เหยียบย่ำโดยวัว, โดนไฟหรือระเบิด หรือโดนก้อนหินหรือเครื่องกีดขวางมาปะทะ แล้วพาวเวอร์อัพที่ผู้เล่นได้มาก็หายไปด้วย หลังจากจำนวนชีวิตหมดไป ผู้เล่นสามารถเล่นเกมต่อได้โดยการทำให้จำนวนเครดิตมากขึ้น
การเปิดตัว
[แก้]เดมทีซันเซตไรเดอส์ได้รับการเปิดตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 สองปีต่อมา เวอร์ชันอาร์เขดได้รับการเขียนโปรแกรมใหม่สู่ระบบคอนโซลสองเวอร์ชัน โดยเวอร์ชันสำหรับเล่นตามบ้านได้รับการเผยแพร่เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป
เมกาไดร์ฟ
[แก้]ซันเซตไรเดอส์เวอร์ชันเมกาไดร์ฟ/เจเนซิส มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในเกมระหว่างสองเวอร์ชันประจำบ้าน โดยสี่ตัวละครหลักจากเกมอาร์เขด จะมีเพียงบิลลีและกอร์มาโนเท่านั้น สองตัวละครในเวอร์ชันเมกาไดร์ฟจะมีการเพิ่มนามสกุลซึ่งเดิมไม่มีในเวอร์ชันอาร์เคด (ได้แก่ บิลลี คูล และกอร์มาโน ไวลด์)[2][3] การควบคุมจะเหมือนกับรุ่นอาร์เคดนอกเหนือจากการเพิ่มปุ่มยิงสองปุ่มแทนที่จะเป็นปุ่มเดียว ปุ่มหนึ่งช่วยให้ผู้เล่นสามารถเดินและยิงได้ในเวลาเดียวกัน ขณะที่ปุ่มยิงอื่น ๆ ยังช่วยให้ตัวละครยังคงยิงเมื่อกดลง เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนจุดเล็งได้เท่านั้น[4]
มีบอสเพียงสี่ในแปดตัวจากเวอร์ชันอาร์เคดเท่านั้น (ไซมอน กรีดเวล, ปาโก โลโก, ชีฟ สกัลเปม, และเซอร์ ริชาร์ด โรส) และแต่ละสี่ด่านจะแบ่งออกเป็นสองช่วง บทสนทนาของหัวหน้าแต่ละคนจะมีการออกเสียงในฟองอากาศแบบข้อความแทนการเปล่งเสียง ไอคอนพาวเวอร์อัพยังถูกแทนที่ด้วยเช่นกัน ไม่เหมือนกับเวอร์ชันอื่น ๆ ที่ผู้เล่นสามารถทำให้แท่งไดนาไมต์ระเบิดโดยการยิงได้ ในการเข้าด่านโบนัส ผู้เล่นต้องเก็บไอเทมรูปดาวที่มีอยู่ในแต่ละด่านของแต่ละช่วง ด่านโบนัสยังแตกต่างจากที่อยู่ในเวอร์ชันอาร์เคด โดยผู้เล่นบนหลังม้าจะไล่ตามเกวียนที่เคลื่อนที่ ในขณะที่หญิงสาวในเกวียนจะโยนเหรียญโบนัสและชีวิตพิเศษไปบนเส้นทาง[5][6][7]
นอกจากโหมดเกมมาตรฐานแล้ว เวอร์ชันเมกาไดร์ฟ/เจเนซิสมีโหมดผู้เล่นสองคนปะทะกันเอง ผู้เล่นต้องยิงกันและกันจนกว่าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะหมดพลัง[8]
ซูเปอร์แฟมิคอม
[แก้]เมื่อเปรียบเทียบกับเวอร์ชันเมกาไดร์ฟ เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมของซันเซตไรเดอส์มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย สาวบาร์ที่จูบผู้เล่นในด่านที่ 1 รวมทั้งนักเต้นในห้องขายเครื่องดื่มจากด่านที่ 4 จะสวมใส่ชุดมิดชิดมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเวอร์ชันอาร์เคด ส่วนสุนัขล่าสัตว์ ซึ่งมีอยู่ในส่วนแรกของด่านสุดท้ายในเวอร์ชันเมกาไดร์ฟ ได้ถูกลบออกไป ตัวละครที่เป็นข้าศึกอเมริกันพื้นเมืองของด่านที่ 6 ถูกลบออกและถูกแทนที่ด้วยโจรปกติ เหลือเพียงชีฟ สกัลเปม (ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชีฟ วิกแวม และทำเสียงใหม่ในเกมซูเปอร์แฟมิคอม) ผู้เป็นหัวหน้าด่าน ส่วนโจรเพศหญิงที่โยนไดนาไมต์ได้ถูกแทนที่ด้วยโจรเพศชาย
ทุกบทสนทนาของบอสและบทคัตซีนมีคำบรรยาย แม้ว่าคลิปเสียงส่วนใหญ่จะได้รับการนำมาจากระบบอาร์เคด แต่ไลน์เสียงบางส่วนก็มีคำพูดที่ทำใหม่หรือแทนที่ด้วยไลน์ที่ไม่เหมาะสมน้อยลงเพื่อวัตถุประสงค์ในการเซ็นเซอร์
การตอบรับ
[แก้]ซันเซตไรเดอส์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสื่อวิดีโอเกม นิตยสารซินแคลร์ยูสเซอร์ให้คะแนนเกมอาร์เขดนี้ที่ 82 เต็ม 100 โดยมีความคิดเห็นว่า "เล่นได้ดีมาก และควรจะพิสูจน์ความท้าทายที่น่าสนใจสำหรับทักษะการเล่นอาร์เคดที่ประณีตของคุณ"[9] ในการวิจารณืเพิ่มเติม นิตยสารซีโรได้ประเมินถึงระบบอาร์เขดต้นฉบับที่ 3 คะแนนเต็ม 5 โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่า "เป็นเกมยิงที่เร็วพอสมควร ร่วมกับการมีอารมณ์ขัน"[10] ส่วนเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมที่ "ค่อนข้างน่าทึ่ง" ได้รับคะแนนรวม 87 เปอร์เซ็นต์จากแดน เจวอนส์ ของนิตยสารซูเปอร์เพลย์ ผู้พรรณนาถึงเกมนี้ว่าเป็น "ผู้มีชัยอีกรายจากคอกม้าของโคนามิ"[11] เกมเวอร์ชันดังกล่าวยังได้รับคะแนน 88 เปอร์เซ็นต์และ 89 เปอร์เซ็นต์จากผู้ตรวจสอบในนิตยสารเอสเอ็นอีเอส ฟอร์ซ[12] ส่วนนิตยสารฮอบบีกอนโซลัส ให้คะแนน 86 เปอร์เซ็นต์สำหรับเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมและ 78 เปอร์เซ็นต์สำหรับเวอร์ชันเซกาเมกาไดร์ฟ/เจเนซิส[13][14] ในขณะที่นิตยสารมีนแมชชีนเซกาได้ให้คะแนนตอนหลังที่ 84 เปอร์เซ็นต์ โดยระบุว่า "ตื่นตาตื่นใจดี"[15]
จากการระลึกถึงความหลัง เจมี โอนีลล์ จากเว็บไซต์นินเทนโดไลฟ์ ได้มอบดาวให้แก่เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมที่แปดเต็มสิบ โดยเขียนถึงเกมนี้ว่า "มีสีสันสดใส, มีชีวิตชีวา และน่าอัศจรรย์ ด้วยดนตรีและเสียงที่เยี่ยมยอด มันเข้าใจถึงสถานที่ในฐานะเกมที่มีฉากแบบตะวันตกและอยู่ในประเภทรันแอนด์กัน โดยการผสมผสานลักษณะความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ขัน ด้วยการลำดับฉากแอคชันที่ดี รวมทั้งความหลากหลายในการเล่นเกม"[16] ด้านเว็บไซต์รีโทรเกมเอจให้คะแนนเช่นเดียวกัน โดยมีความคิดเห็นว่า "ซันเซตไรเดอส์ยังคงเล่นได้อย่างครื้นเครง ที่แสดงความท้าทายบางอย่างที่จะได้รับผ่านเกม และมีความสนุกแม้จะเล่นตอนนี้ในฐานะเกมเกือบ 20 ปีก่อน"[17] ส่วนเว็บไซต์ไอจีเอ็นได้จัดอันดับให้เป็นเกมที่ดีที่สุดอันดับที่ 88 ของซูเปอร์แฟมิคอม[18] และนิค กิบสัน จากเว็บไซต์เซกา-16 ได้ให้คะแนนสำหรับเวอร์ชันเซกาเมกาไดร์ฟ/เจเนซิสที่ 7 เต็ม 10[19] ในขณะที่เวอร์ชันอาร์เขดต้นฉบับได้รับคะแนนที่ 80 เปอร์เซ็นต์จากเว็บไซต์อาร์เขดแอทแทค[20]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Konami. Sunset Riders (Arcade). Level/area: Operator's manual, page 2.
- ↑ Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 3.
- ↑ Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 4.
- ↑ Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 7.
- ↑ Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 8.
- ↑ Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 9.
- ↑ Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 10.
- ↑ Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 05.
- ↑ Sunset Riders review. Sinclair User. December 1991. p. 62
- ↑ "Zero Magazine Issue 26". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Out-of-Print Archive • Super Nintendo reviews • Sunset Riders". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "SNES N-Force Magazine Issue 06". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Hobby Consolas 028". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Hobby Consolas 018". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Mean Machines Sega Magazine Issue 07". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ Nintendo Life. "Sunset Riders Review - SNES - Nintendo Life". Nintendo Life. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Sunset Riders (SNES)". Retro Game Age. 4 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-03. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Sunset Riders". IGN. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Sega-16 – Sunset Riders". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Sunset Riders (Mega Drive Review)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.