ซันตาตรีนีตา
โบสถ์ซันตาตรีนีตา | |
---|---|
Santa Trinita | |
43°46′13″N 11°15′03″E / 43.77028°N 11.25083°E | |
ที่ตั้ง | ฟลอเรนซ์ ในประเทศอิตาลี |
ประเทศ | ประเทศอิตาลี |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
สถานะ | โบสถ์คริสต์ |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1092 |
ประเภทสถาปัตย์ | กางเขน |
รูปแบบสถาปัตย์ | สถาปัตยกรรมกอธิค |
โบสถ์ซันตาตรีนีตา หรือโบสถ์พระตรีเอกภาพ (อิตาลี: Santa Trinita; อังกฤษ: Church of the Holy Trinity) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ โบสถ์ซันตาตรีนีตาเป็นโบสถ์แม่คณะวัลลุมโบรซัน[1] (Vallumbrosan Order) ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1092 โดยขุนนางชาวฟลอเรนซ์
งานศิลปะที่มีชื่อเสียงและสำคัญที่สุดภายในวัดเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลซาสเซ็ตติ (Sassetti Chapel) โดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาผู้ถือกันว่าเป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ประวัติ
[แก้]ตัวโบสถ์ปัจจุบันใช้เวลาสร้างกว่า 11 ศตวรรษและมีการต่อเติมและบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา ด้านหน้าโบสถ์แบบแมนเนอริสต์ (ค.ศ. 1593–ค.ศ. 1594) ออกแบบโดยสถาปนิกแบร์นาร์โด บูออนตาเลนตี (Bernardo Buontalenti) ประติมากรรมนูน “ตรีเอกภาพ” เหนือประตูกลางสลักโดยเปียโตร แบร์นินี (Pietro Bernini) และ จิโอวานนี บาตติสตา คาซินิ (Giovanni Battista Caccini) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็เพิ่มประตูไม้ที่สลักเพื่อเป็นที่ระลึกถึงนักบุญองค์ต่างๆ ของคณะวัลลุมโบรซัน “เสาแห่งความยุติธรรม” กลางจตุรัสหน้าวัดมาจากโรงอาบน้ำคาราคาลลา (Baths of Caracalla) ที่กรุงโรมซึ่งโคสิโม เดอ เมดิชิได้รับเป็นของขวัญจากสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 4 เพื่อเป็นการฉลองชัยชนะจากยุทธการที่มอนเตมูร์โล (Battle of Montemurlo) ในปี ค.ศ. 1565
ชาเปล
[แก้]โบสถ์ซันตาตรีนีตามีชาเปลด้วยกันราว 20 ชาเปลแต่ละชาเปลก็มีงานศิลปะที่มีคุณค่า ชาเปลที่สำคัญที่สุดสองชาเปลก็เห็นจะเป็นชาเปลซาสเซ็ตติ และ ชาเปลบาร์โทลินิ-ซาลิมเลนิที่มีจิตรกรรมฝาผนังโดย โดเมนนิโค เกอร์ลันเดา และช่างเขียนตระกูลการเขียนแบบศิลปะควอตโตรเซ็นโต (Quattrocento)
Name | History & artworks |
---|---|
ชาเปลจิอันฟิกลิอัซซิ Gianfigliazzi chapel |
บูรณปฏิสังขรณ์ราว ค.ศ. 1630 โดยเกอร์อาร์โด ซิลวานิ (Gherardo Silvani) ภายในมีกางเขน “Crocifisso della Providenza” จากคริสต์ศตวรรษที่ 14 และจิตรกรรมฝาผนัง “นักบุญแมรีแห่งอียิปต์” และ “นักบุญซอสซิมัส” (St. Zosimus) (ราว ค.ศ. 1400) |
ชาเปลดาวิซซิ Davizzi chapel |
บูรณปฏิสังขรณ์ราว ค.ศ. 1642 by มัตเตโอ นิเจตติ (Matteo Nigetti) |
ชาเปลชิอาลลิ-เซอร์นิจิ Cialli-Sernigi chapel |
มีภาพ “พระแม่มารีกับนักบุญ” โดย เนริ ดิ บิชชิ (Neri di Bicci) และงานจิตรกรรมฝาผนังที่ยังเขียนไม่เสร็จ “การแต่งงานอาถรรพ์ของนักบุญแคทเธอรินแห่งเซียนนา” โดยผู้มีอิทธิพลจาก สปิเนลโล อเรติโน (Spinello Aretino) |
ชาเปลบาร์โทลินิ-ซาลิมเลนิ Bartolini-Salimbeni Chapel |
มีจิตรกรรมฝาผนัง “ประวัติของพระแม่มารี” (ราว ค.ศ. 1423) โดย โลเรนโซ โมนาโก (Lorenzo Monaco) และผู้ช่วยรวมทั้ง “การขับนักบุญโยอาคิม”, “การพบปะระหว่างนักบุญโยอาคิมและนักบุญแอนนา”, “การประสูติของพระแม่มารี” “ปาฏิหาริย์หิมะ”, “ปาฏิหาริย์หิมะ” “แม่พระถวายองค์” (Presentation of Mary), “การแต่งงานของพระแม่มารี” (Marriage of the Virgin) และ “การสิ้นพระชนม์ของพระแม่มารี” ภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” อยู่เหนือทางเข้าชาเปล |
ชาเปลอาร์ดินเกลลิ Ardinghelli chapel |
เป็นภาพลักษณะศิลปะควอตโตรเซ็นโต “พระเยซูผู้ทรงเศร้า” (Man of Sorrows) และแท่นที่สร้างโดย เบ็นเนเด็ตโต โรเวซซาโน (Benedetto da Rovezzano) (ค.ศ. 1505-ค.ศ. 1515) |
ชาเปลซาสเซ็ตติ Sassetti chapel |
เป็นจิตรกรรมฝาผนังชุดชีวประวัติของ “นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี” และ “การทำนายการประสูติของพระเยซู” (Prophecies of Christ’s Birth) (ค.ศ. 1482-ค.ศ. 1485) และแท่นบูชา “การชื่นชมของแมไจ” (ค.ศ. 1485) ที่เขียนโดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดา เหนือประตูทางเข้าเป็นฉาก “ประกาศกบอกจักรพรรดิถึงการมาประสูติของพระเยซู”[1]. |
ชาเปลโดนิ Doni chapel |
ตกแต่งระหว่างปี ค.ศ. 1608 ถึงปี ค.ศ. 1640 โดย ลุโดวิโค ชิโจลิ (Ludovico Cigoli) |
กลางบริเวณพิธิ |
แท่นบูชาโดย “ตรีเอกภาพ” โดย มาริอ็อตโต ดิ นาร์โด (Mariotto di Nardo) (ค.ศ. 1406). |
ชาเปลสตร็อซซิ Strozzi chapel |
สร้างใหม่โดย จิโอวานนี บาตติสตา คาซินิ และมีจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับความเสียหายโดย เบอร์นาร์ดิโน พอช์เช็ตติ (Bernardino Poccetti) แท่นบูชาในชาเปลปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูฟิซิ นอกจากนั้นก็มีภาพ “ชะลอร่างจากกางเขน” โดย ฟราอันเจลิโค ที่เริ่มเขียนโดยโลเรนโซ โมนาโก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซานมาร์โคในฟลอเรนซ์ |
ชาเปลบอมเบนิ Bombeni chapel |
บูรณปฏิสังขรณ์โดยมัตเตโอ นิเจตติ มีภาพ “การรหัสยธรรมของนักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา” โดย อันโตนิโอ เดล เชราอิโอโล (Antonio del Ceraiolo) และ “นักบุญเจอโรม” “[[แม่พระรับสาร]” โดย ริดอลโฟ เกอร์ลันเดา (Ridolfo Ghirlandaio) |
ชาเปลดาวานซาติ Davanzati chapel |
มีภาพ “แม่พระรับสาร” (ราว ค.ศ. 1450-60) โดย เนริ ดิ บิชชิ และจิตรกรรมฝาผนัง “การสอบสวนนักบุญกาเตรีนา” (Disputation of St. Catherine) โดยผู้ได้รับอิทธิพลจาก มาโซ ดิ บันโค (Maso di Banco) |
ชาเปลคอมปันยี Compagni chapel |
has a “การสวมมงกุฏพระแม่มารี” (Coronation of Virgin) (ราว ค.ศ. 1400) และ “นักบุญจิโอวานนิ กูอัลแบร์โตและนักบุญของคณะวัลลุมโบรซัน” (ค.ศ. 1455) โดย เนริ ดิ บิชชิ |
ชาเปลสปินิ Spini chapel |
“แมรี แม็กดาเลน” เริ่มเขียนโดย เดซิเดริโอ ดา เซ็ตติยาโน (Desiderio da Settignano) และเขียนเสร็จโดยเบ็นเนเด็ตโต ดา มาเอียโน (Benedetto da Maiano) |
ชาเปลมาดอนนาเดลโลสปาสซิโม Chapel of Maddona dello Spasimo |
“พระเยซูบนทางสู่กางเขน” โดยช่างจากตระกูลการเขียนแบบ โคสิโม รอซเซลลิ (Cosimo Rosselli) |
ชาเปลนักบุญจิโอวานนิ กูอัลแบร์โต Chapel of San Giovanni Gualberto |
ออกแบบโดยจิโอวานนี บาตติสตา คาซินิ |
มีภาพ “นักบุญแคทเธอรินและแมรี แม็กดาเลนชื่นชมตรีเอกภาพ” (ราว ค.ศ. 1485) เขียนโดย ฟรานเชสโก กรานาชชิ (Francesco Granacci) | |
ชาเปลสกาลิ Scali chapel |
เป็นจิตรกรรมฝาผนังชุดโดย จิโอวานนิ ดาล ปอนเต (Giovanni dal Ponte) และ ซเมอราลโด ดิ จิโอวานนิ (Smeraldo di Giovanni) อนุสรณ์ของบาทหลวงเบ็นน็อซโซ เฟเดอริกิ โดย ลูคา เดลลา รอบเบีย (Luca della Robbia) [2]. |
ชาเปลอูซิมบาร์ดิ Usimbardi chapel |
สร้างใหม่โดยลุโดวิโค ชิโจลิ ในปี ค.ศ. 1602 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Vallumbrosan Order (Basilica of St. John Lateran), Rome. [www.newadvent.org/cathen/15262a.htm]
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซันตาตรีนีตา
สมุดภาพ
[แก้]-
ทางเดินกลาง
-
คริพต์
-
จิตรกรรมฝาผนัง
-
ภายในชาเปลซาสเซ็ตติ