ข้ามไปเนื้อหา

ซอฟต์แวร์ทอดทิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซอฟต์แวร์ทอดทิ้ง หรือ อะแบนดันแวร์ (อังกฤษ: abandonware) คือซอฟต์แวร์ที่ถูกเจ้าของหรือผู้สร้างทอดทิ้ง และจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือผลิตภัณฑ์นั้นอีกต่อไป ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์นั้นยังอยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ แต่เจ้าของลิขสิทธิ์อาจไม่แกะรอยหรือบังคับคดีแก่การละเมิดลิขสิทธิ์ก็ได้

ซอฟต์แวร์ทอดทิ้งเป็นรูปแบบหนึ่งของมโนทัศน์ทั่วไปเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์กำพร้า (orphan works)

นิยาม

[แก้]

คำว่า "ซอฟต์แวร์ทอดทิ้ง" กินความหมายกว้างขวาง และหมายรวมถึงซอฟต์แวร์เก่าหลายประเภท เช่น

  • ซอฟต์แวร์พาณิชย์ที่ไม่สนับสนุนแล้ว แต่ยังเป็นของบริษัทที่อยู่รอดได้ ความใช้งานได้ของซอฟต์แวร์ขึ้นอยู่กับทัศนคติของบริษัทต่อซอฟต์แวร์ บริษัทอันเป็นเจ้าของสิทธิในซอฟต์แวร์ในหลาย ๆ กรณี อาจไม่ใช่บริษัทที่สร้างซอฟต์แวร์ขึ้นแต่แรก หรืออาจไม่รับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ บริษัทบางบริษัท เช่น บอร์แลนด์ (Borland) ได้เผยแพร่ซอฟต์แวร์บางชนิดในรูปแบบฟรีแวร์ทางออนไลน์ [1] ส่วนบริษัทอื่น ๆ ไม่เผยแพร่ซอฟต์แวร์รุ่นเก่าให้ใช้ประโยชน์แบบได้เปล่า และไม่อนุญาตให้สำเนาซอฟต์แวร์ด้วย
  • ซอฟต์แวร์พาณิชย์ที่เป็นของบริษัทแห่งหนึ่งแห่งใด ซึ่งเลิกทำธุรกิจแล้ว บ่อยครั้งที่ไม่มีหน่วยธุรกิจใดออกมาปกป้องลิขสิทธิ์ เมื่อซอฟต์แวร์ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ที่รวมซอฟต์แวร์ทอดทิ้งต่าง ๆ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ตัวแปลโปรแกรมพีแอล/วันรุ่นดั้งเดิมสำหรับดอส ซึ่งสร้างโดยดิจิทัลรีเสิร์ช บริษัทอื่นไม่สามารถซื้อสิทธิต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นได้ ดังนั้นจึงไม่มีหนทางที่ทำได้ในทางกฎหมาย
  • แชร์แวร์ (ซอฟต์แวร์ทดลองใช้) ที่ผู้สร้างยังคงมีไว้ให้ใช้ประโยชน์ได้
  • แชร์แวร์ที่ไม่สนับสนุนหรือบำรุงรักษาแล้ว
  • โปรแกรมโอเพนซอร์ซและฟรีแวร์ที่ถูกทอดทิ้ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "CDN » Museum". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-20. สืบค้นเมื่อ October 21, 2007.