ช้องนาง
ช้องนาง | |
---|---|
ช้องนาง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Acanthaceae |
สกุล: | Thunbergia |
สปีชีส์: | T. erecta |
ชื่อทวินาม | |
Thunbergia erecta T. Anders |
ช้องนาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia erecta) เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) เป็นพืชล้มลุกหลายฤดูและเป็นพืชท้องถิ่นในแอฟริกาตะวันตกและเอเชีย ทรงพุ่มสูงประมาณ 2.5 เมตร กลีบดอกสีม่วงหรือฟ้าเข้ม ส่วนที่ติดกันเป็นหลอดมีเหลือง
ช้องนาง เป็นไม้พุ่มเล็ก แตกกิ่งก้านมาก สูงประมาณ 6 ฟุต ใบคล้ายใบแก้ว ใบมนปลายแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง ดอกเป็นรูปแตร ปลายดอกผายออกเป็น 5 แฉก ในดอกตรงกลางมีตาสีเหลือง ดอกสีม่วง และยังมีชนิดดอกสีขาวเรียกว่าช้องนางขาว ดอกยาวประมาณ 2 นิ้ว[1]
ถิ่นกำเนิด
[แก้]ช้องนางมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกา ในเมืองไทยมีหลายชนิด เช่น T. affinis S. Moor เรียกว่า ช้องนาง T. erecta, T. Anders เรียกช้องนางเล็ก และชนิด T.erecta var. caerulea Hort. เรียกช้องนางใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ช้องนาง เป็นไม้ที่ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและในที่ร่มรำไร ช้องนางเป็นไม้ประดับที่ให้ดอกสีม่วงหรือสีขาวสวยงามตลอดทั้งปี แต่ดอกบอบบาง ถ้าเด็ดจากต้นจะเหี่ยวเฉาเร็ว ถ้าอยู่กับต้นจะบานได้นานราวสองวัน
- ลำต้น ลำต้นแตกเป็นพุ่มกว้าง 1-2 เมตร
- ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ถึงรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ก้านใบสีแดง
- ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ใบประดับสีเขียวอ่อนรูปไข่ 2 ใบประกบกันขณะดอกตูม ใบประดับจะหุ้มดอกเกือบมิด ดอกรูปแตร โคนกลีบสีเหลืองอ่อน ปลายแยก 5 กลีบ สีม่วงอมน้ำเงินและสีขาว (พันธุ์ Alba) ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์
[แก้]ชอบดินร่วนซุยที่มีความชุ่มชื่นสม่ำเสมอ ชอบปุ๋ยใบไม้ผุยิ่งกว่าปุ๋ยคอก การขยายพันธุ์ใช้วิธีตอนหรือตัดกิ่งปักชำ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-05. สืบค้นเมื่อ 2018-09-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ช้องนาง
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Thunbergia erecta ที่วิกิสปีชีส์