ข้ามไปเนื้อหา

ช่องทางการตลาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ช่องทางการตลาด คือชุดของแนวทางปฏิบัติหรือกิจกรรมที่จำเป็นในการถ่ายโอนความเป็นเจ้าของสินค้าและการเคลื่อนย้ายสินค้า จากจุดที่เกิดการผลิตไปจนถึงจุดที่เกิดการบริโภค ซึ่งประกอบด้วยสถาบันทั้งหมดและกิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดในกระบวนการทางการตลาด ช่องทางการตลาดเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างหนึ่งสำหรับการจัดการ [1]

บทบาทของช่องทางการตลาดในกลยุทธ์การตลาดมีดังนี้

  • เชื่อมโยงผู้ผลิตไปยังผู้ซื้อ
  • ทำการขาย การโฆษณา และการส่งเสริมการตลาด
  • มีผลกับกลยุทธ์การกำหนดราคาของบริษัท
  • ส่งผลต่อกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ผ่านการกำหนดตราสินค้า นโยบาย ความสมัครใจในการคงคลัง
  • กำหนดกำไร การติดตั้ง การบำรุงรักษา การเสนอขายเชื่อ ฯลฯ

ช่องทางการตลาด หรืออาจเรียกว่าช่องทางการกระจายสินค้า คือเส้นทางหรือสายผลิตภัณฑ์ที่สินค้าและบริการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางหนึ่ง (จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค) และการชำระค่าสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นเคลื่อนย้ายไปในทิศทางตรงข้าม (จากผู้บริโภคไปยังผู้ผลิต) ช่องทางการตลาดอาจสั้นเพียงแค่ผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคโดยตรง หรืออาจมีคนกลางหลายแหล่งเชื่อมโยงระหว่างกัน เช่น ผู้ขายส่ง ผู้กระจายสินค้า ตัวแทน และผู้ขายปลีก ซึ่งโดยปกติคนกลางมักเป็นอิสระต่อกันแต่เชื่อมโยงร่วมกัน คนกลางแต่ละแหล่งจะได้รับสินค้าในจุดกำหนดราคาจุดหนึ่ง และเมื่อเคลื่อนย้ายต่อไปจุดกำหนดราคาก็จะสูงขึ้นเป็นอีกจุดหนึ่ง จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค

ในปัจจุบันการตลาดได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลโดยการเอาเทคโนโลยีต่างๆมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความสะดวกและข้อมูลแม่นยำกว่าการตลาดแบบดั้งเดิม โดยช่องทางการตลาดในยุคดิจิทัล จะเป็นในรูปแบบ Platform Online ต่าง เช่น Facebook Instagram และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ซึ่งช่องทางการตลาดออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกทำให้ผู้ประกอบการสามารถประกอบธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากอีกทั้งไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเพื่อรองรับลูกค้าแต่เปลี่ยนเป็นจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าถึงหน้าบ้าน

หากผู้ประกอบการอยากให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วอาจทำการซื้อโฆษณาจาก Partner ทางธุรกิจที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย เช่น Google เป็นต้น จึงทำให้ผู้ประการหน้าใหม่หรือธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างมากมาย เพราะคำว่า ช่องทางการตลาดออนไลน์

ประเภท[แก้]

ช่องทางการตลาดมี 4 ประเภทหลัก

ผู้ผลิต → ผู้บริโภค (ช่องทางศูนย์ระดับ)[แก้]

ช่องทางระดับศูนย์เป็นการขายโดยตรงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค โดยไม่มีคนกลาง ผู้บริโภคซื้อสินค้าจากผู้ผลิตโดยตรง เหมาะสำหรับสินค้าที่มีกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะหรือตลาดขนาดเล็ก ผู้ผลิตสามารถควบคุมราคาและกำไรได้มากกว่า แต่ต้องรับผิดชอบทุกขั้นตอนของการขายและการตลาดเอง

ผู้ผลิต → ผู้ค้าปลีก → ผู้บริโภค (ช่องทางหนึ่งระดับ)[แก้]

ช่องทางระดับเดียวประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค โดยผู้ค้าปลีกทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ช่องทางนี้เหมาะสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของเล่น ที่ผู้บริโภคต้องการเวลาในการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ

ผู้ผลิต → ผู้ค้าส่ง → ผู้ค้าปลีก → ลูกค้า (ช่องทางสองระดับ)[แก้]

ผู้ค้าส่งซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตและขายให้กับผู้บริโภค ในช่องทางนี้ ผู้บริโภคสามารถซื้อผลิตภัณฑ์จำนวนมากจากผู้ค้าส่งได้โดยตรง การซื้อสินค้าจำนวนมากจากผู้ค้าส่งทำให้ราคาสินค้าลดลง เนื่องจากผู้ค้าส่งตัดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าบริการหรือค่าพนักงานขาย ที่ลูกค้ามักจ่ายเมื่อซื้อจากร้านค้าปลีก ทำให้ราคาถูกลงสำหรับผู้บริโภค

ผู้ผลิต → ตัวแทน/นายหน้า → ผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีก → ลูกค้า (ช่องทางสามระดับ)[แก้]

ช่องทางการจัดจำหน่ายนี้มีคนกลางมากกว่าหนึ่งรายก่อนที่สินค้าจะถึงมือผู้บริโภค คนกลางที่เรียกว่าตัวแทนช่วยในการเจรจาระหว่างผู้ผลิตและผู้ขาย ตัวแทนมีบทบาทเมื่อผู้ผลิตต้องการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโดยเร็วที่สุด ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อสินค้าเป็นของสดที่เน่าเสียได้และต้องส่งถึงตลาดก่อนที่จะเริ่มเน่า

อ้างอิง[แก้]

  1. ความหมายโดยสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association)