ข้ามไปเนื้อหา

ชิราตามาโกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิราตามะดังโงะ (คันซาราชิจากเมืองชิมาบาระ จังหวัดนางาซากิ)
แป้งข้าวเจ้าที่ใช้ทำ

ชิราตามาโกะ (ญี่ปุ่น: 白玉粉โรมาจิshiratamako) หรือ โมจิโกนะ (もちこな) หรือยังเรียกว่า คันซาราชิ (寒晒し) หรือ คันซาราชิโกะ (寒晒し粉)[1] เป็นแป้งที่ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาแปรรูป ทำโดยการบดข้าวเหนียวให้เป็นผง ตกตะกอนในน้ำ แล้วทำให้แห้ง

ภาพรวม

[แก้]

ทำโดยซาวข้าวเหนียวแล้ว นำไปแช่น้ำ สะเด็ดน้ำ แล้วบดพร้อมกับเติมน้ำ ทำการกรองน้ำนม เอาตะกอนแห้งมาตากแดด นำมาใช้เป็นส่วนผสมในสิ่งต่าง ๆ เช่น ชิราตามะดังโงะ[2] เนื่องจากอนุภาคของแป้งมีขนาดเล็ก ชิราตามะที่เสร็จแล้วจึงมีเนื้อสัมผัสที่เรียบเนียน

มีทฤษฎีที่ว่าชิราตะมาโกะได้รับการคิดค้นขึ้นโดยพระภิกษุที่ไปยังอาณาจักรซ่งใต้ของจีนเพื่อปฏิบัติธรรมเซน ในยุคมุโรมาจิ หรือ ยุคคามากุระ หรือโดย พระภิกษุจีนที่มายังญี่ปุ่น แต่เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดจึงถือว่ายังไม่ทราบที่มีที่แท้จริง

ชิราตามาโกะได้รับความนิยมในช่วงยุคเอโดะ ซึ่งเป็นช่วงที่ขนมหวาน เช่น น้ำตาล และ อังโกะ กลายมาเป็นของว่างสำหรับคนทั่วไปและได้รับความนิยมมากขึ้น

อ้างอิง

[แก้]