ชิงร้อยชิงล้าน
ชิงร้อยชิงล้าน | |
---|---|
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | ชิงร้อยชิงล้าน ท็อปซีเคร็ท ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว ชิงร้อยชิงล้าน เดอะบิ๊ก ชิงร้อย เดอะสตอรี่ |
ประเภท | เกมโชว์ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2566) วาไรตี้โชว์ (พ.ศ. 2566) |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
พิธีกร | ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ |
แสดงนำ | เท่ง เถิดเทิง โหน่ง ชะชะช่า แจ๊ส สปุ๊กนิก มงคล สะอาดบุญญพัฒน์ บอล เชิญยิ้ม |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอช่อง 7HD (2533 - 2540) สตูดิโอกรุงเทพฯ (2541 - 2549) เวิร์คพอยท์สตูดิโอ (2549 - 2566) |
ความยาวตอน | 45 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7HD |
ออกอากาศ | 17 มกราคม 2533 11 มกราคม 2549 – 31 ธันวาคม 2540 (ครั้งที่ 1) 27 ธันวาคม 2554 (ครั้งที่ 2) |
เครือข่าย | ช่อง 3 เอชดี |
ออกอากาศ | 7 มกราคม 2541 1 มกราคม 2555 – 30 กันยายน 2541 (ครั้งที่ 1) 28 มิถุนายน 2558 (ครั้งที่ 2) |
เครือข่าย | ททบ.5 เอชดี |
ออกอากาศ | 7 ตุลาคม 2541 – 28 ธันวาคม 2548 |
เครือข่าย | ช่องเวิร์คพอยท์ |
ออกอากาศ | 5 กรกฎาคม 2558 – 31 ธันวาคม 2566 |
ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ประเภทเกมโชว์และวาไรตี้โชว์ ที่ออกอากาศบนหน้าจอโทรทัศน์ยาวนานที่สุด โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทาง ช่อง 7HD และออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทางช่องเวิร์คพอยท์ ผลิตโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ประวัติ
[แก้]ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม 2533 ทางช่อง 7 สี โดยรูปแบบรายการเป็นรายการรูปแบบเกมโชว์ที่คัดผู้เข้าแข่งขันแบบคู่เพื่อที่จะลุ้นในรอบชิงล้าน และได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมและตัวรายการ รวมไปถึงระยะเวลาการออกอากาศตามยุคสมัยความนิยม
ชื่อรายการ
[แก้]ชิงร้อยชิงล้าน (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2536)
[แก้]ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบแรก เป็นรายการรูปแบบเกมโชว์ โดยจุดเด่นคือผู้เล่นในเกมจะเล่นเป็นคู่ คู่ละ 2 คน โดยรอบเกมในแต่ละช่วงจะมี ชิงบ๊วย, ชิงดำ และ ชิงล้าน โดยเกมที่ค่อนข้างเป็นภาพจำมากที่สุดก็คือเกมรอบ ชิงดำ ที่ผู้เล่นทั้ง 2 คนในทีมจะต้องช่วยกันตอบคำถาม โดยจะต้องผลัดกันตอบ ซึ่งหากคิดคำตอบที่จะตอบไม่ได้ จะต้องพูดว่า "ชิงร้อยชิงล้าน" ซึ่งกลายมาเป็นวลีสุดฮิตว่า "ถ้าหากว่าคิดไม่ออก บอก ชิงร้อยชิงล้าน" นอกจากนี้ได้ปรับรูปแบบเกมในรายการตั้งแต่ รอบชิงบ๊วย ที่จากเดิมจะมีคลิปวิดีโอคำใบ้ปริศนาจากบุคคลทั้ง 2 คน มาเป็นทายตัวปริศนาซึ่งได้นำ หม่ำ จ๊กมก มาเป็นตัวปริศนาประจำรายการ, รอบชิงดำปรับปรุงเป็นคำถามเกี่ยวกับผู้เข้าแข่งขันและทายใจ, รอบชิงล้านที่ปรับเปลี่ยนจากเกมทายใจผู้เล่นจำนวน 4 ข้อ มาเป็นการเปิดป้ายหาเลข 0 ทั้ง 6 แทน
ชิงร้อยชิงล้าน ท็อปซีเคร็ท (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537) / ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538)
[แก้]ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (ท็อปซีเคร็ท) และ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (ครั้งหนึ่งในชีวิต)
ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 2 เป็นการปรับปรุงรูปแบบเกมรายการใหม่ทั้งหมด จุดเด่นคือเกม จริงหรือไม่ คำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความลับของดาราผู้เข้าแข่งขัน ในช่วงแรกจะมีผู้เล่นด้วยกันถึง 2 คู่ 4 คน ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นผู้เล่นเป็น 2 ทีม ทีมละ 3 คน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ได้มีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งรูปแบบของเนื้อหารายการยังคงเหมือนเดิม แต่จะมีจุดเพิ่มเติมคือเน้นไปทางนำเสนอประโยชน์เพื่อเป็นอุทาหรณ์และให้แง่คิดแก่ผู้ชม พร้อมทั้งสร้างเสียงหัวเราะให้กับนักแสดงร่วมรายการอย่างหม่ำ จ๊กมก และ เอ็ดดี้ ผีน่ารัก
ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541)
[แก้]ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 3 เป็นการปรับรูปแบบรายการครั้งใหญ่ ตั้งแต่ขยายเวลาออกอากาศเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง, ฉากรายการที่กว้างยิ่งขึ้น, รูปแบบเกมของรายการที่ได้ถูกเพิ่มมาใหม่ ทั้งเกมทายดาราปริศนา หรือในชื่อ ยังจำได้ไหม และช่วงสะสมเงินรางวัลในท้ายช่วงของรายการ รวมไปถึงการแจกเงินรางวัลในรายการที่มากยิ่งขึ้น ส่วนผู้เข้าแข่งขันได้ปรับปรุงจากทีมละ 3 คนมาเป็น คู่ละ 3 คู่ ในส่วนรอบเกมจากรูปแบบเก่าตั้งแต่จริงหรือไม่ และ ชิงดำ ได้นำกลับอีกครั้ง แต่ภายหลังไปเน้นจริงหรือไม่เป็นหลัก
ในส่วนนักแสดงร่วมรายการได้เพิ่มเท่ง เถิดเทิง มาเป็นนักแสดงสมทบร่วมกับหม่ำ จ๊กมก เมื่อปี พ.ศ. 2540
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2551) / ชิงร้อยชิงล้าน (พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554)
[แก้]ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 (ชะชะช่า) และวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (ชิงร้อยชิงล้าน)
ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 4 เป็นการปรับปรุงรูปแบบรายการอีกครั้ง ตั้งแต่ขยายฉากรายการที่ให้ใหญ่และอลังการยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เพิ่ม แก๊งสามช่า กลุ่มนักแสดงตลกที่เป็นนักแสดงร่วมประจำรายการ
ในรูปแบบแรกของเกมในรายการยังคงใช้รูปแบบของ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม บางส่วน แต่ได้มีการปรับปรุงรอบคำถามจริงหรือไม่ โดยปรับเพิ่มจากเดิมเป็นทายคำถามเกี่ยวกับผู้เข้าแข่งขันมาเพิ่มเป็นทายแก๊งสามช่าว่าสามารถทำได้หรือไม่จากผู้กล้าแก๊งสามช่า จนกระทั่งปีถัดไป พ.ศ. 2542 ได้มีการปรับรูปแบบรายการ ซึ่งได้เพิ่มละครช่วงสามช่าและมีช่วงเกมที่ปรับเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่ ทำได้หรือไม่ได้ จาก ผู้กล้าท้าแก๊งสามช่า, ใครกันหนอของสามช่ารับเชิญ
ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2545 ได้ปรับรูปแบบใหม่ให้ฉากใหญ่ขึ้นกว่าเดิมและได้มีการปรับปรุงรูปแบบเนื้อหารายการตามช่วงเวลา จนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้กลับไปใช้ชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน แต่รูปแบบเนื้อหารายการยังคงเดิม และปรับเปลี่ยนรูปแบบช่วงเกมต่างๆ หลังละครสามช่า
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552)
[แก้]ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบพิเศษ เป็นการฉลองครบรอบ 10 ปีของชิงร้อยชิงล้านและครบรอบ 20 ปี ในวงการพิธีกรของมยุรา เศวตศิลา โดยจะมีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนพิธีกรชายทุกๆ เทป ในส่วนรูปแบบของรายการยังคงเป็นชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เหมือนเดิม
ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558)
[แก้]ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 5 เป็นครั้งแรกที่มีการนำรายการมาออกอากาศในเวลากลางวัน ในช่วงแรกของการออกาอากาศยังคงใช้องค์ประกอบของ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ต่อมาได้มีการปรับปรุงเนื้อหารายการให้เน้นวาไรตี้โชว์มากขึ้น และลดส่วนในการแจกเงินรางวัลให้กับแขกรับเชิญในรายการ
อย่างไรก็ตามก็ได้มีการปรับเปลี่ยนพิธีกรหญิงเนื่องจาก มยุรา เศวตศิลา ได้ถอนตัวออกไป โดยได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิธีกรหญิงรับเชิญมาหมุนเวียนกันทุกๆ เทป จนกระทั่งได้ วรัทยา นิลคูหา มาเป็นพิธีกรหญิงประจำรายการ
ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2566)
[แก้]ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 6 เป็นการนำชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ มาปรับปรุงใหม่ โดยปรับปรุงฉากรายการและปรับรูปแบบเนื้อหาละครสามช่าให้มีความยาวมากขึ้น รวมไปถึงเพิ่มนักแสดงสมทบและรับเชิญจากละคร 3 ช่า พร้อมทั้งมีช่วงเกมท้ายรายการ
อย่างไรก็ตามได้มีการปรับปรุงรายการทั้งรูปแบบรายการ, พิธีกรและนักแสดงประจำรายการ รวมถึงความยาวและเวลาการออกอากาศ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้เปลี่ยนพิธีกรชายจากเดิม ปัญญา นิรันดร์กุล มาเป็น ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ในส่วนของพิธีกรหญิงได้ถูกลดออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2563 ต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับเปลี่ยนนักแสดงประจำรายการนำโดย แจ๊ส สปุ๊กนิก, บอล เชิญยิ้ม และ นาย มงคล ซึ่งเข้ามาแทน หม่ำ จ๊กมก, ส้มเช้ง สามช่า และ พัน พลุแตก ที่ถอนตัวจากนักแสดงประจำรายการ
ชิงร้อย เดอะสตอรี่ (พ.ศ. 2566)
[แก้]ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 7 เป็นการปรับรูปแบบเนื้อหารายการครั้งใหญ่ โดยปรับปรุงเนื้อหาของละครสามช่ามาเป็นละครจำลองชีวิตเหตุการณ์ของแขกรับเชิญที่มาในรายการ[1] ซึ่งต่อยอดมาจาก ชิงร้อยชิงล้าน เดอะบิ๊ก ที่เคยออกอากาศเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม และ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565[2] และเป็นครั้งแรกที่ไม่มีช่วงแข่งเกมในเนื้อหาของรายการ รวมทั้งชื่อรายการได้ตัดคำว่า "ชิงล้าน" ออก
ผู้ดำเนินรายการ
[แก้]พิธีกรและผู้ร่วมดำเนินรายการ
[แก้]- ปัญญา นิรันดร์กุล (17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 2 เมษายน พ.ศ. 2551, 14 เมษายน พ.ศ. 2552 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
- มยุรา เศวตศิลา (17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
- หม่ำ จ๊กมก (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565)
- เอ็ดดี้ ผีน่ารัก (พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2540)
- หนู เชิญยิ้ม (4 มีนาคม - 18 มีนาคม พ.ศ. 2541)
- เท่ง เถิดเทิง (27 สิงหาคม พ.ศ. 2540 - 24 ธันวาคม 2566)
- โหน่ง ชะชะช่า (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 - 24 ธันวาคม 2566)
- ส้มเช้ง สามช่า (7 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565)
- ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน (9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
- พัน พลุแตก (พ.ศ. 2549 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565)
- ศิวดล จันทเสวี (12 มีนาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551)
- วรัทยา นิลคูหา (29 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 13 กันยายน พ.ศ. 2563)[3]
- ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม 2566)
- แจ๊ส ชวนชื่น (7 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - 24 ธันวาคม 2566)
- นาย มงคล (7 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - 24 ธันวาคม 2566)
- บอล เชิญยิ้ม (7 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - 24 ธันวาคม 2566)
พิธีกรรับเชิญ
[แก้]
|
|
การออกอากาศ
[แก้]ชิงร้อยชิงล้านได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดังต่อไปนี้
- ช่อง 7 (17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540, 4 มกราคม พ.ศ. 2549 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
- ช่อง 3 (7 มกราคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541, 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
- ช่อง 5 (7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548)
- ช่องเวิร์คพอยท์ (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 31 ธันวาคม พ.ศ 2566)
ระยะเวลาออกอากาศ
[แก้]ระยะเวลาออกอากาศของ ชิงร้อยชิงล้าน | |||||
---|---|---|---|---|---|
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | วันออกอากาศ | เวลา | ช่วงระหว่าง | ||
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 | พุธ | 22:00 - 23:00 น. | 17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536 | ||
22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 | |||||
15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | |||||
22:15 - 00:10 น. | 3 มกราคม พ.ศ. 2539 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 | ||||
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 | 22:00 - 24:00 น. | 7 มกราคม - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 | |||
4 มีนาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2541 | |||||
สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2543 | ||||
22:00 - 23:45 น. | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | ||||
22:20 - 00:05 น. | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | ||||
22:10 - 23:40 น. | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 | ||||
22:10 - 24:00 น. | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 | ||||
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 | 22:25 - 00:20 น. | 11 มกราคม พ.ศ. 2549 - 30 มกราคม พ.ศ. 2551 | |||
22:30 - 00:25 น. | 6 กุมภาพันธ์ - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 | ||||
2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 1 เมษายน พ.ศ. 2552 | |||||
อังคาร | 7 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ||||
22:35 - 00:25 น. | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 26 เมษายน พ.ศ. 2554 | ||||
22:40 - 00:30 น. | 3 พฤษภาคม - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 | ||||
22:20 - 00:10 น. | 1 พฤศจิกายน - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | ||||
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 | อาทิตย์ | 15:00 - 17:00 น. | 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557 | ||
14:45 - 16:45 น. | 15 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557 | ||||
15:00 - 17:00 น. | 6 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ||||
14:45 - 16:30 น. | 7 กันยายน พ.ศ. 2557 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558 | ||||
ช่องเวิร์คพอยท์ | 14:30 - 17:00 น. | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 | |||
14:30 - 16:40 น. | 12 กรกฎาคม - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558 | ||||
14:30 - 16:45 น. | 10 มกราคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2559 | ||||
14:45 - 17:00 น. | 10 เมษายน พ.ศ. 2559 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | ||||
21:15 - 23:30 น. | 4 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560 | ||||
21:15 - 22:45 น. | 18 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560 | ||||
14:45 - 17:00 น. | 2 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | ||||
14:30 - 16:00 น. | 7 มกราคม พ.ศ. 2561 - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | ||||
14:15 - 15:45 น. | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | ||||
14:30 - 16:00 น. | 3 มกราคม พ.ศ. 2564 - 2 มกราคม พ.ศ. 2565 | ||||
15:00 - 16:00 น. | 9 มกราคม พ.ศ. 2565 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 |
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]ชื่องานที่มอบรางวัล | ประเภทรางวัล | ผู้ที่ได้รับรางวัล / รายการที่ได้รับรางวัล | วัน / ปีที่ได้รับรางวัล |
---|---|---|---|
WYNE BERG ACADEMY | โล่ประกาศเกียรติคุณพิธีกรยอดเยี่ยม | ปัญญา นิรันดร์กุล | 9 ธันวาคม 2533 [4] |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 10 ประจำปี 2533 | รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน | 4 มกราคม 2534 [5] |
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2534 | รายการประเภทเกมโชว์ดีเด่น | 18 มกราคม 2535 | |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 12 ประจำปี 2535 | ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น | ปัญญา นิรันดร์กุล | 22 มกราคม 2536 |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 13 ประจำปี 2536 | รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ท็อปซีเคร็ท (TOP SECRET) | 21 มกราคม 2537 |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 14 ประจำปี 2537 | ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น | มยุรา เศวตศิลา | 13 มกราคม 2538 |
รางวัล VOTE AWARDS 1994 | เกมโชว์ยอดนิยม | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) | 17 มกราคม 2538 |
พิธีกรหญิงในใจผู้ฟัง | มยุรา เศวตศิลา | ||
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2537 | ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น | 20 มกราคม 2538 | |
รางวัล VOTE AWARDS 1995 | เกมโชว์ยอดนิยม | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) | 2538 |
รางวัล VOTE AWARDS 1996 | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (SUPERGAME) | 2539 | |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 16 ประจำปี 2539 | รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น | 17 มกราคม 2540 | |
ASIAN TELEVISION AWARDS ’ 99 | HIGHLY COMMENDED | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (CHA CHA CHA) | 2542 |
รางวัลเทพทอง | บุคคลดีเด่นด้านวิทยุโทรทัศน์ | ไม่ทราบวันที่ได้รับรางวัล | |
รางวัล TOP AWARDS 2000 | พิธีกรหญิงยอดเยี่ยม | 22 ธันวาคม 2543 | |
ASIAN TELEVISION AWARDS 2002 | HIGHLY COMMENDED ประเภท BEST ENTERTAINMEMT PROGRAMME | 4 ธันวาคม 2545 | |
รางวัล TOP AWARDS 2004 | เกมโชว์ยอดเยี่ยม | 15 กุมภาพันธ์ 2548 [5] | |
รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2006 | รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม | มยุรา เศวตศิลา | 22 ธันวาคม 2549 |
ผลโหวตสูงสุดประเภทรายการยอดนิยม | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า | ||
รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2007 | ผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรชายยอดนิยม | ปัญญา นิรันดร์กุล | 28 กุมภาพันธ์ 2551 |
รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม | มยุรา เศวตศิลา | ||
ผลโหวตสูงสุดประเภทรายการยอดนิยม | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า | ||
รางวัล TOP AWARDS 2008 | เกมโชว์ยอดเยี่ยม | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน | 27 มกราคม 2552 [6] |
รางวัล TOP AWARDS 2009 | 22 มกราคม 2553 | ||
พิธีกรยอดเยี่ยม | ปัญญา นิรันดร์กุล | ||
รางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2552 STAR ENTERTAINMENT AWARDS 2009 | สาขาโทรทัศน์ รางวัลรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน | 9 พฤษภาคม 2553 |
สาขาโทรทัศน์ รางวัลพิธีกรและดำเนินรายการหญิงยอดเยี่ยม | มยุรา เศวตศิลา | ||
รางวัล TOP AWARDS 2010 ภาคบันเทิง | รายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน | 28 มกราคม 2554 |
รางวัล "พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ปี 2555 | รางวัลพิธีกรผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น | ปัญญา นิรันดร์กุล | 30 สิงหาคม 2555 |
ASIAN TELEVISION AWARDS 2012 | HIGHLY COMMENDED ประเภท BEST COMEDY PROGRAMME | รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ | 6 ธันวาคม 2555 |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 25 ประจำปี 2555 | ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่นเมขลามหานิยมแห่งปี | มยุรา เศวตศิลา | 4 พฤษภาคม 2556 [7] |
ASIAN TELEVISION AWARDS 2013 รางวัล WINNER | BEST ENTERTAIANMENT PRESENTER / HOST | ปัญญา นิรันดร์กุล | 5 ธันวาคม 2556 |
รางวัล Maya Awards 2020 (มายามหาชน ประจำปี 2563) | พิธีกรชายดีเด่น | ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ | 20 ตุลาคม 2563 [8] |
กระแสตอบรับของรายการ
[แก้]มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น ตั้งแต่วันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13 - 21 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการชิงร้อยชิงล้าน ร้อยละ 20.3 [9]
รายการย่อย
[แก้]- ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด หรือ ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด
- รายการที่ออกอากาศในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นการนำรวมไฮไลท์ของละครสามช่าและช่วงการแสดงจากคำถามในช่วง 3 ช่ารับเชิญ, แข่งเกมแก๊งสามช่า ในส่วนของผู้ดำเนินรายการ ช่วงแรกจะนำแก๊งสามช่าทั้ง 4 คนมาเป็นผู้ดำเนินรายการ จนเมื่อปี พ.ศ. 2550 ผู้ดำเนินรายการเหลือเพียงแค่ โหน่ง ชะชะช่า และ ส้มเช้ง สามช่า เท่านั้น ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7) เวลา 10.00 - 11.00 น.
- ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์
- รายการที่ออกอากาศในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในรูปแบบแรกยังคงใช้รวมไฮไลท์เช่นเดียวกับชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงเนื้อหารายการกลายมาเป็นละครสามช่าตอนพิเศษที่ฉายในเฉพาะวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งมีความยาวมากกว่าละครสามช่าในรายการหลัก และเพิ่มผู้ดำเนินรายการอีกคือ ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน และ พัน พลุแตก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 3) และ ช่องเวิร์คพอยท์ เวลา 10.00 - 11.00 น.
รายการพิเศษ
[แก้]- ชิงล้านชิง 100 ล้าน
- ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550[10] เป็นรายการพิเศษที่ได้รับความร่วมมือกับทรูมูฟซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการพิเศษนี้ โดยคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่มาจากผู้ชมทางบ้านของลูกค้าของทรูมูฟทั้ง 100 คน จากการจับรายชื่อสัปดาห์ละ 20 คน เพื่อมาร่วมเล่นเกมในรายการพิเศษ เพื่อลุ้นทองคำมูลค่า 100 ล้านบาท
- ชิงร้อยชิงล้าน บันทึกความทรงจำ
- ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 และ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นรายการพิเศษ แสดงความอาลัยในช่วงการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเป็นการนำเสนอไฮไลท์ต่างๆ ของชิงร้อยชิงล้านตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เนื้อหาของรายการและรูปแบบเกมที่ปรากฏในแต่ละยุค[11]
- ชิงร้อยชิงล้าน Star Memories
- ออกอากาศเมื่อวันที่ 12 และ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นรายการพิเศษ แสดงความอาลัยในช่วงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื้อหามีแนวทางคล้ายกับ ชิงร้อยชิงล้าน บันทึกความทรงจำ แต่จะเน้นไฮไลท์ของแขกรับเชิญที่เคยร่วมแข่งขันในรายการตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ช่วง Grand opening star ของผู้เข้าแข่งขันเทปแรกในยุคต่างๆ, ช่วงมาเต็มพิกัด เรื่องราวกลุ่มแขกรับเชิญต่างๆ ที่มาในรายการ, ช่วงบันทึกร้อยเรื่องราว รวมเรื่องราวของดารารับเชิญหรือพิธีกรที่เกิดขึ้นในรายการ และช่วงอลังการงานผู้กล้า ที่นำเสนอเรื่องราวของผู้กล้าที่นำโชว์สุดอลังการมาท้าแก๊งสามช่า[12]
- ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว ครบรอบ 32 ปี ชิงร้อยชิงล้าน
- ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นเทปพิเศษของชิงร้อยชิงล้าน ที่เล่าย้อนความเป็นมาของแก๊งสามช่ารุ่นปัจจุบัน ซึ่งเทปดังกล่าว ได้มีข่าวลือว่าเป็นเทปที่ทางรายการ เตรียมไว้ออกอากาศเป็นเทปสุดท้าย ซึ่งภายหลังทางเวิร์คพอยท์ได้เปิดเผยว่า “จะยังคงมีการออกอากาศของรายการชิงร้อยชิงล้านต่อไป โดยปกติแล้วทางรายการจะมีการปรับปรุงรูปแบบรายการไปตามปกติอยู่แล้ว ขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะยุติรายการตามกระแสข่าวแต่อย่างใด แต่จะมีการปรับใหญ่ ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา”[13]
ส่วนที่เกี่ยวข้อง
[แก้]การซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในต่างประเทศ
[แก้]ชิงร้อยชิงล้านเป็นรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในไทยและต่างประเทศ ทำให้มีการถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในแบบฉบับของประเทศนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ไป คือ เวียดนาม และ อินโดนีเซีย
ชื่อประเทศ | ชื่อรายการ | สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | จำนวนการออกอากาศ | สถานะ |
---|---|---|---|---|
เวียดนาม | Kỳ Tài Thách Đấu Wow Wow Wow | HTV7 | 4 ฤดูกาล | ยุติการออกอากาศ |
อินโดนีเซีย | Cring Cring Wow Wow Wow | SCTV | 1 ฤดูกาล / 4 ตอน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘ชิงร้อย THE STORY’ ประเดิมความฮาผ่านตำนาน ‘เชิญยิ้ม’ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
- ↑ แก๊งสามช่าส่ง BIG SURPRISE กับเรื่องราวของแขกรับเชิญสุดบิ๊ก ‘วงคาราบาว’ ใน ‘ชิงร้อย ชิงล้าน THE BIG’ 21 ธ.ค.นี้
- ↑ ก่อนหน้านี้เป็นพิธีกรรับเชิญในชิงร้อยชิงล้าน ซันไซน์เดย์ เทปวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555, 23 มิถุนายน 2556, 23 กุมภาพันธ์ 2557, 4 พฤษภาคม 2557 และ 1 มิถุนายน 2557
- ↑ "WYNE BERG ACADEMY" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
- ↑ 5.0 5.1 watchlakorn,ชิงร้อยชิงล้านย้อนหลัง 11 มกราคม 2554, วันที่สืบค้น 10 เมษายน 2559 จาก www.watchlakorn.in
- ↑ ท็อปอวอร์ด 2008
- ↑ ประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 25
- ↑ "สรุปผลรางวัล MAYA AWARDS 2020 เวทีแห่งเกียรติยศคนบันเทิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
- ↑ "โจ๋กรุงเทใจ "ชิงร้อยชิงล้าน-คลื่นซี้ด" สุดยอดความนิยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2009-08-31.
- ↑ ปัญญา ย้ำ! อย่าพลาดวินาทีสำคัญ “ชิงล้าน ลุ้นชิง 100 ล้านกับทรูมูฟ”
- ↑ ชิงร้อย ชิงล้าน เปิดบันทึกแห่งความทรงจำ กับความสำเร็จที่ผ่านมา ตลอด 18 ปี
- ↑ ร่วมถวายอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ในชิงร้อย ชิงล้าน Star Memories ตอนที่ 2
- ↑ ‘เวิร์คพอยท์’แจงแล้วปมข่าวลือสะพัด ‘ชิงร้อยชิงล้าน’จ่อปิดตำนานความฮา 31 ปี
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ชิงร้อยชิงล้าน
- รายการโทรทัศน์โดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
- รายการโทรทัศน์ช่อง 7
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2533
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- รายการโทรทัศน์ช่อง 3
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการโทรทัศน์ช่อง 5
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2566