ชาวบาหลี
ᬳᬦᬓ᭄ᬩᬮᬶ (Ânak Bali) ᬯᭀᬂᬩᬮᬶ (Wång Bali) ᬓ᭄ᬭᬫᬩᬮᬶ (Kramâ Bali) | |
---|---|
ชาวบาหลีในพิธีสมรสแบบฮินดู | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
อินโดนีเซีย | 3,946,416[1] |
บาหลี | 3,336,065 |
นูซาเติงการาตะวันตก | 119,407 |
ซูลาเวซีกลาง | 115,812 |
ลัมปุง | 104,810 |
ซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ | 49,411 |
สุมาตราใต้ | 38,552 |
ซูลาเวซีใต้ | 27,330 |
มาเลเซีย | 5,700[2] |
ออสเตรเลีย | 5,529 |
สหรัฐอเมริกา | 200 |
ภาษา | |
บาหลี, ซาซัก, อินโดนีเซีย | |
ศาสนา | |
ฮินดูแบบบาหลี (95.22%), อิสลาม (3.24%), คริสต์ (1.26%), พุทธ (0.26%), อื่น ๆ (0.02%)[3] | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
บาหลีอากา, ชวา, ซาซัก, เติงเกอร์, ซุนดา และออสโตรนีเชียนอื่น ๆ |
บาหลี (บาหลี: ᬳᬦᬓ᭄ᬩᬮᬶ (Ânak Bali), ᬯᭀᬂᬩᬮᬶ (Wång Bali), ᬓ᭄ᬭᬫᬩᬮᬶ (Kramâ Bali); อินโดนีเซีย: Suku Bali) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรราว 4,200,000 คนหรือเป็นคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของประชากรในอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเกาะบาหลีร้อยละ 89[4] ทั้งยังมีชาวบาหลีอาศัยอยู่บนเกาะลอมบอกจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญ และพบทางตะวันออกสุดของเกาะชวา
ประวัติ
[แก้]บรรพบุรุษของชาวบาหลีในปัจจุบันมาจากการอพยพย้ายถิ่นฐานจำนวนสามครั้ง โดยครั้งแรกคือคลื่นผู้อพยพชาวโปรโตมลายูจากเกาะชวาและกาลีมันตันช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์[5] คลื่นอพยพลูกที่สองคือการอพยพของกลุ่มชนจากเกาะชวาในยุคฮินดูเรืองอำนาจในช่วงเวลาหลายปีและเป็นไปอย่างช้า ๆ และคลื่นอพยพครั้งสุดท้ายคือกลุ่มชนที่อพยพมาจากเกาะชวาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึง 16 อันเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนหันไปเลื่อมใสศาสนาอิสลาม หลังการล่มสลายของจักรวรรดิมัชปาหิต เจ้าขุนมูลนายและราษฎรทั้งหลายจึงหลบลี้อิทธิพลจักรวรรดิมาตารัมที่เปลี่ยนเป็นรัฐอิสลามมายังเกาะบาหลี ที่ทำให้วัฒนธรรมชวายุคเก่ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมือง จนทำให้บาหลีมีวัฒนธรรมพื้นเมืองที่โดดเด่นมาแต่นั้น[6]
มีการศึกษากรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิกชาวบาหลีโดยคาราเฟตและคณะ (Karafet et al.) พบว่าโครโมโซมวาย (Y chromosome) นั้น ใกล้เคียงกับชาวอินเดียร้อยละ 12 ใกล้เคียงกับชาวออสโตรนีเชียร้อยละ 84 และชาวเมลานีเซียร้อยละ 2[7]
วัฒนธรรม
[แก้]วัฒนธรรมของบาหลีเป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมฮินดู-พุทธและวัฒนธรรมพื้นเมือง โดยวัฒนธรรมบาหลีอันเป็นที่รู้จักนอกจากการเต้นระบำ นาฏกรรม และประติมากรรมก็คือการแสดง วายังกูลิต มหรสพที่ใช้แสงและเงา ที่ใกล้เคียงกับหนังตะลุงของไทย มีฉากเป็นวัดฮินดูหรือหมู่บ้าน ทั้งมีนักแสดงและนักดนตรีพื้นเมืองฝีมือดีประกอบการแสดง[8]
มีเกล โกบาร์รูเบียส (Miguel Covarrubias) กล่าวว่า งานศิลปะของชนพื้นเมืองนั้นแม้จะเป็นของมือสมัครเล่นแต่เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ และพวกเขาก็ไม่ยี่หระว่าผู้อื่นจะประเมินผลงานของเขาอย่างไร[9] นอกจากนี้ศิลปินบาหลียังมีความสามารถในการแกะสลักที่ลักษณะการแกะนั้นคล้ายเทพเจ้าตามคติจีน หรือตกแต่งยานพาหนะตามที่พบในนิตยสารต่างประเทศ[10]
ในการตั้งชื่อแบบบาหลี จะมีลำดับศักดิ์และวรรณะปรากฏอยู่ในชื่อ[11]
ศาสนา
[แก้]ชาวบาหลีส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิวารีศักดิ์สิทธิ์ (Agama Tirta) อันเป็นแนวทางหนึ่งในไศวนิกายของศาสนาฮินดู โดยมีนักบวชจากอินเดียเดินทางมาเผยแผ่ทั้งศาสนา รวมทั้งวรรณกรรมของฮินดู-พุทธในหลายศตวรรษก่อน ซึ่งชาวบาหลีได้นำมาผสานความเชื่อเข้ากับคติชนพื้นเมืองด้วย[12]
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนหนึ่งที่เรียกว่าบาหลีอากา ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่อพยพเข้ามาก่อนการอพยพครั้งที่สาม และอาศัยอยู่ในชนบทอันห่างไกลนั้นนับถือผีหาได้นับถือฮินดูอย่างชาวบาหลีไม่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Akhsan Na'im, Hendry Syaputra (2011). Kewarganegaraan, Suku Bangsa, Agama dan Bahasa Sehari-hari Penduduk Indonesia Hasil Sensus Penduduk 2010. Badan Pusat Statistik. ISBN 978-979-064-417-5.
- ↑ "Balinese in Malaysia". Joshua Project. สืบค้นเมื่อ 2016-04-25.
- ↑ Aris Ananta; Evi Nurvidya Arifin; M Sairi Hasbullah; Nur Budi Handayani; Agus Pramono (2015). Demography of Indonesia's Ethnicity. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. p. 273.
- ↑ Bali faces population boom, now home to 4.2 million residents
- ↑ Shiv Shanker Tiwary & P.S. Choudhary (2009). Encyclopaedia Of Southeast Asia And Its Tribes (Set Of 3 Vols.). Anmol Publications Pvt. Ltd. ISBN 81-261-3837-8.
- ↑ Andy Barski, Albert Beaucort and Bruce Carpenter (2007). Bali and Lombok. Dorling Kindersley. ISBN 978-0-7566-2878-9.
- ↑ Karafet, Tatiana M.; Lansing, J S.; Redd, Alan J.; and Reznikova, Svetlana (2005) "Balinese Y-Chromosome Perspective on the Peopling of Indonesia: Genetic Contributions from Pre-Neolithic Hunter- Gatherers, Austronesian Farmers, and Indian Traders," Human Biology: Vol. 77: Iss. 1, Article 8. Available at: http://digitalcommons.wayne.edu/humbiol/vol77/iss1/8
- ↑ Adrian Vickers (2012). Bali Tempo Doeloe. Komunitas Bambu. p. 293. ISBN 602-9402-07-2.
- ↑ Adrian Vickers (2012). Bali Tempo Doeloe. Komunitas Bambu. p. 296. ISBN 602-9402-07-2.
- ↑ Adrian Vickers (2012). Bali Tempo Doeloe. Komunitas Bambu. p. 298. ISBN 602-9402-07-2.
- ↑ Leo Howe (2001). Hinduism & Hierarchy In Bali. James Currey. p. 46. ISBN 1-930618-09-3.
- ↑ J. Stephen Lansing (1983). The Three Worlds of Bali. Praeger. ISBN 978-0-03-063816-9.