ชาวจีนในอินเดีย
ประชากรทั้งหมด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
189,470[1] | |||||||
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |||||||
กัลกัตตา · มุมไบ | |||||||
ภาษา | |||||||
ภาษาเบงกอล · ภาษาฮินดี · ภาษาจีน (โดยเฉพาะ ภาษาฮากกา) · ภาษาอังกฤษ | |||||||
ศาสนา | |||||||
ศาสนาคริสต์ · ศาสนาฮินดู · ศาสนาพุทธ · เต๋า |
ชาวจีนในอินเดีย (Chinese in India) หรือชาวอินเดียเชื้อสายจีน เป็นกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดียเมื่อราว พ.ศ. 2313 ส่วนใหญ่เข้ามาที่กัลกัตตาซึ่งเป็นเมืองหลวงในบริติชอินเดียในขณะนั้น การเดินทางของชาวจีนจะเข้ามากับเรือสินค้าจากจีน ชาวจีนเหล่านี้ บางส่วนเข้ามาทำงานในโรงงานน้ำตาล บางส่วนเข้าไปตั้งรกรากในย่านถนนโบว์บาร์ซาร์ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 24 มีชาวจีนจากกวางตุ้ง ส่วนใหญ่เป็นช่างไม้อพยพเข้ามาอีกกลุ่มหนึ่ง ส่วนใหญ่ทำงานเป็นช่างไม้ ช่างรองเท้า และเป็นคนงานในโรงงานฟอกหนัง ยิ่งเมื่อประเทศจีนประสบปัญหาความไม่สงบ ชาวจีนจึงอพยพเข้ามามากขึ้น ส่วนใหญ่จะแบ่งแยกอาชีพอย่างชัดเจน เช่นชาวฮกเกี้ยนทำธุรกิจฟอกหนัง ชาวกวางตุ้งเป็นช่างไม้ ชาวหูเป่ยเปิดร้านทันตกรรม ชาวเซี่ยงไฮ้เปิดร้านซักรีด และชาวจีนยังเปิดโรงฝิ่นอย่างถูกกฎหมายจนถึง พ.ศ. 2490
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามจีน-อินเดียใน พ.ศ. 2505 ทำให้ชาวจีนในอินเดียถูกมองเป็นศัตรู บางส่วนถูกริบทรัพย์และส่งตัวเข้าค่ายกักกัน บางส่วนอพยพออกนอกประเทศไปตั้งหลักแหล่งในแคนาดาและออสเตรเลีย
วัฒนธรรม
[แก้]ชาวจีนเหล่านี้ยังคงพูดภาษาจีนได้ แม้ว่าจะพูดภาษาฮินดีและภาษาเบงกอลได้ด้วย แต่เด็กรุ่นใหม่จะนิยมเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีมากกว่า วัฒนธรรมโดดเด่นของชาวอินเดียเชื้อสายจีนคืออาหารจีนที่เป็นที่นิยมในท้องถิ่นด้วย เช่น ฮักกา เป็นบะหมี่ผัดลักษณะคล้ายราดหน้า เขาว์เมน เป็นบะหมี่ผัดแห้ง ซึ่งเป็นอาหารจานเด่นที่พบได้ทั่วไปในกัลกัตตา และยังคงมีการเฉลิมฉลองในวันตรุษจีน สารทจีนและวันไหว้พระจันทร์อยู่
อ้างอิง
[แก้]- ติฟาฮา มุกตาร์. อ่านอินเดีย วัดองศาธุรกิจพบชีวิตหลากวิถี. กทม. ผู้จัดการ. 2552. หน้า 103-108
- ↑ http://www.ocac.gov.tw/english/public/public.asp?selno=1163&no=1163&level=B :: Overseas Compatriot Affairs Commission, R.O.C. ::]. Ocac.gov.tw (2004-08-24). Retrieved on 2010-12-12
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kolkata Chinese Community Blog เก็บถาวร 2020-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 'Legend of Fat Mama', a 23 minute documentary on Chinatown by Rafeeq Illiyas เก็บถาวร 2019-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Interview with the Principal of Grace Ling Liang English School
- Travel article on Achipur
- Photos of Chinese New Year Celebration, Calcutta & Achipur
- Photos of Chinese Temples in Old China Town, Calcutta (Kolkata)