ข้ามไปเนื้อหา

ชาลส์ ไลทอลเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาลส์ ไลทอลเลอร์

ไลทอลเลอร์ในปี ค.ศ. 1920
เกิดชาลส์ เฮอร์เบิร์ต ไลทอลเลอร์
30 มีนาคม ค.ศ. 1874(1874-03-30)
ชอร์ลีย์, แลงคาเชอร์, อังกฤษ
เสียชีวิต8 ธันวาคม ค.ศ. 1952(1952-12-08) (78 ปี)
ริชมอนด์, ลอนดอน, อังกฤษ
คู่สมรสไอโอวา ซิลเวเนีย ซิลลาห์ ฮอว์ลีย์-วิลสัน (สมรส 1903)
บุตร5
รางวัล

นาวาโท ชาลส์ เฮอร์เบิร์ต ไลทอลเลอร์, DSC & Bar, RD, RNR (อังกฤษ: Charles Herbert Lightoller; 30 มีนาคม ค.ศ. 1874 – 8 ธันวาคม ค.ศ. 1952) เป็นนักเดินเรือและนายทหารเรือชาวบริติชผู้ดำรงตำแหน่งต้นหนของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) ระหว่างที่เรือกำลังจม และในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการอพยพผู้โดยสารขึ้นเรือชูชีพด้านซ้ายของเรือ ไลทอลเลอร์ได้บังคับใช้กฎอย่างเคร่งครัดในการให้สิทธิผู้หญิงและเด็กขึ้นเรือชูชีพก่อน โดยไม่อนุญาตให้ผู้ชายคนใดขึ้นเรือชูชีพเว้นแต่จะจำเป็นต้องใช้เป็นลูกเรือเสริม[1][2] เขาเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสที่สุดที่รอดชีวิตจากภัยพิบัติครั้งนั้น ไลทอลเลอร์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการในราชนาวีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และถึงแม้จะสั่งการให้กระทำการที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรรมสงครามขณะปฏิบัติการปราบเรือดำน้ำ[3] เขาก็ได้รับเหรียญกล้าหาญถึงสองครั้ง[4][5] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังเกษียณอายุ เขาได้บริจาคเรือยอช์ตส่วนตัวชื่อซันดาวเนอร์ (Sundowner) ให้ใช้ในการถอนทัพที่เดิงแกร์ก โดยอาสาขับเรือลำนี้ร่วมกับเรือลำเล็กอื่น ๆ[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lord, Walter (1955). A Night to Remember (PDF). p. 40.
  2. Barczewski, Stephanie L. (2006). Titanic: A Night Remembered. Palgrave Macmillan. p. 21.
  3. Lightoller, Charles, Herbert (1935). Titanic and Other Ships. Gutenberg Australia. pp. Chapter 44.
  4. Lightoller, Charles, Herbert (1935). Titanic and Other Ships. Gutenberg Australia. pp. Chapter 38.
  5. "London Gazette, 2 May 1917".
  6. "Dunkirk: A Personal Perspective - CH Lightoller". BBC News (Archives). 1950.