ชายแดนไทย–อินเดีย
หน้าตา
ชายแดนไทย–อินเดีย | |
---|---|
ทะเลอันดามัน เป็นพรมแดนธรรมชาติทางทะเลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชายแดนระหว่างไทยกับอินเดีย | |
ข้อมูลจำเพาะ | |
พรมแดนระหว่าง | ไทย อินเดีย |
ความยาว | 115 ไมล์ทะเล (213 กิโลเมตร) |
ประวัติ | |
มีผลตั้งแต่ | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2521 |
พรมแดนปัจจุบัน | พ.ศ. 2536 |
สนธิสัญญา | • ความตกลงก้นทะเลไทย–อินเดีย พ.ศ. 2521 • ความตกลงจุดร่วมพม่า–อินเดีย–ไทย พ.ศ. 2536 |
ชายแดนไทย–อินเดีย เป็นเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศไทยและประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่รอบ ๆ หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ มีความยาวประมาณ 115 ไมล์ทะเล (213 กิโลเมตร)[1]
แนวพรมแดน
[แก้]หลังจากที่ได้มีการกำหนดโดยสนธิสัญญา[2] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2521 นับจากจุดไตรภาคีกับประเทศไทยและอินโดนีเซียที่จุด 7° 47′ .00″ N, 95° 31′ 48″ E สนธิสัญญาสองฝ่ายได้มีการจัดทำอย่างเป็นทางการโดยมีการแบ่งเขตเป็นแนวเส้นตรงลากตามจุด 7 จุด จากความตกลงต่าง ๆ ดังนี้
- ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดียว่าด้วยการกำหนดเขตแดนก้นทะเลระหว่างสองประเทศในทะเลอันดามัน (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Republic of India on the delimitation of the seabed boundary between the two countries in the Andaman Sea.) ลงนามในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2521 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2521[3][4]
- ความตกลงไตรภาคีระหว่างไทย อินโดนีเซีย และอินเดีย เรื่อง การกำหนดจุดสามแยกและกำหนดเขตแดนที่เกี่ยวข้องของสามประเทศในทะเลอันดามัน ลงนามในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2521 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2522[3]
- ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาร์ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย และราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยการกำหนดจุดเชื่อมต่อระหว่าง 3 ประเทศในทะเลอันดามัน (Agreement between the Government of the Union of Myanmar, the Government of the Republic of India and the Kingdom of Thailand on the Determination of trijunction points between the three Countries in the Andaman Sea.) ลงนามในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2538[3][5]
- ความตกลงระหว่างไทยกับอินเดียบนเส้นแบ่งทางทะเลระหว่างสองประเทศในทะเลอันดามัน ตั้งแต่จุดที่ 7 ถึงจุดสามแยก (จุด T) ระหว่างอินเดีย ไทย และพม่า ลงนามในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2539[3]
พิกัดขอบเขตและจุดเลี้ยวของชายแดน
[แก้]จุด | ละติจูด (N) | ลองจิจูด (E) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | 07° 48' 00" | 95° 32' 48" | จากจุดสามพรมแดนไทยและอินโดนีเซีย |
2 | 07° 57' 30" | 95° 41' 48" | |
3 | 08° 09' 54" | 95° 39' 16" | |
4 | 08° 13' 47" | 95° 39' 11" | |
5 | 08° 45' 11" | 95° 37' 42" | |
6 | 08° 48' 04" | 95° 37' 40" | |
7 | 09° 17' 18" | 95° 36' 31" | |
T | 09° 38' 00" | 95° 35' 25" | [5] |
ข้อ 7 ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดกับจุดสามพรมแดนกับประเทศพม่า นิยามของแดนระหว่างอินเดียกับพม่ากำหนดจุดที่อยู่ทางเหนือขึ้นไปที่จุด T[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "India–Thailand Maritime Boundary | Sovereign Limits". Sovereign Limits (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-01-22.
- ↑ Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand, the Government of the Republic of India and the Government of the Republic of Indonesia concerning the Determination of the Trijunction Point and the Delimitation of the Related Boundaries of the three Countries in the Andaman Sea
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Strategic Analysis: Trends in the Delimitation of India's Maritime Boundaries". ciaotest.cc.columbia.edu.
- ↑ "FAOLEX". www.fao.org.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "FAOLEX". www.fao.org.