ชัยภูมิ ป่าแส
ชัยภูมิ ป่าแส | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2543 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 17 มีนาคม พ.ศ. 2560 (17 ปี) ด่านตรวจบ้านรินหลวง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | จะอุ๊ |
การศึกษา | โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม[1] |
มีชื่อเสียงจาก | นักสิทธิส่งเสริมความชอบธรรมของชนกลุ่มน้อย |
ชัยภูมิ ป่าแส เป็นนักกิจกรรมเยาวชนสิทธิมนุษยชนชาวลาหู่จากประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสิทธิความชอบธรรมของชนกลุ่มน้อยภายในสังคม เขาถูกสังหารที่ด่านตรวจบ้านรินหลวงในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพบกในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560 กองทัพบกแถลงว่าเพื่อเป็นการสกัดชัยภูมิเนื่องจากขนส่งยาเสพติด โดยเจ้าหน้าที่ยังอ้างว่าเขาพยายามโยนระเบิดมาเพื่อประทุษร้ายต่อเจ้าหน้าที่ และหลบหนีการจับกุม เป็นเหตุทำให้เจ้าหน้าที่ทหารสังหารเขาโดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัย แม้ว่าพยานในเหตุการณ์ได้บอกว่าเขาไม่มีอาวุธและยังถูกเจ้าหน้าที่ประทุษร้ายก่อนถูกสังหาร[2][3] การสังหารเขาก่อให้เกิดเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างวงกว้างภายในประเทศ มีการเรียกร้องจากฮิวแมนไรตส์วอตช์ให้กระทำกระบวนการสืบสวนคดีเป็นไปอย่างโปร่งใส[4] แม้ว่ากองทัพบกกล่าวว่ามีพยานหลักฐานจากวีดิทัศน์ของกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในที่เกิดเหตุ แต่ไม่มีการเปิดเผยวีดิทัศน์มาเผยแพร่อย่างเป็นสาธารณะ[5]
เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องเพื่อยืนตามตามศาลชั้นต้นในคดีระหว่างนาปอย ป่าแส มารดาของชัยภูมิ กับกองทัพบก โดยพิเคราะห์ว่า "การกระทำของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นการละเมิด" เนื่องจากชัยภูมิขัดขวางการปฏิบัติงานและพยายามประทุษร้ายต่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้น อังคณา นีละไพจิตร ให้ความเห็นไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องดีเอ็นเอที่ระเบิดที่ไม่มีการนำขึ้นพิจารณา โดยศาลรับฟังเพียงคำให้การของพยานบุคคล[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2 ปีสังหาร 'ชัยภูมิ ป่าแส' ยังไม่สั่งฟ้องคดีวิสามัญฯ ภาพกล้องวงจรปิดหายไปแล้ว". ประชาไท. 18 May 2018. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020.
- ↑ "Soldier fired in 'self-defence' in Lahu death". Bangkok Post. 21 March 2017. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
- ↑ Charuvastra, Teeranai (23 March 2017). "Witness Says Soldiers Shot Lahu Activist as He Fled Beating". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
- ↑ "Thailand: Investigate Army Killing of Teenage Activist". Human Rights Watch (Press release). 20 March 2017. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
- ↑ "4 ปีรัฐประหาร: ความตายของ ชัยภูมิ ป่าแส สิทธิมนุษยชนยุคทหารที่ยังไร้คำตอบ". บีบีซี. 18 May 2018. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020.
- ↑ ยกฟ้องคดีทหารใช้ M16 ยิง ชัยภูมิ ป่าแส เสียชีวิต - อังคณาชี้ ไม่มีดีเอ็นเอชัยภูมิบนระเบิด – กระปุก
- ↑ อุทธรณ์ยืนยกฟ้อง “ครอบครัวชัยภูมิป่าแส” ฟ้องแพ่ง กองทัพบก เรียกค่าเสียหาย ลูกชายถูกวิสามัญฆาตกรรม – ผู้จัดการออนไลน์