ชัค เฮเกล
ชัค เฮเกล | |
---|---|
Chuck Hagel | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กุมภาพันธ์ 2013 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 | |
ประธานาธิบดี | บารัค โอบามา |
ก่อนหน้า | ลีออน พาเนตตา |
ถัดไป | แอชตัน คาร์เตอร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ชาลส์ ทิโมธี เฮเกล 4 ตุลาคม ค.ศ. 1946 นอร์ทแพลตต์ รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา |
พรรคการเมือง | ริพับลิกัน |
คู่สมรส | Patricia Lloyd (1979–1982) Lilibet Ziller (1985–ปัจจุบัน) |
บุตร | 2 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกสหรัฐ |
ประจำการ | ค.ศ. 2510–2511 |
ยศ | สิบเอก |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม |
ชาลส์ ทิโมธี เฮเกล (อังกฤษ: Charles Timothy Hagel) หรือ ชัค เฮเกล (อังกฤษ: Chuck Hagel) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันซึ่งเคยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาคนที่ 24 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013–2015 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเนแบรสกา ตั้งแต่ ค.ศ. 1995 ถึง 2009
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 เฮเกลเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกมองว่า จะได้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีสหรัฐ ไม่ว่าบารัค โอบามาหรือจอห์น แมคเคนจะชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้ระหว่างการเลือกตั้งนั้น จอห์น แมคเคนเคยให้สัมภาษณ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ว่า "เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้ชัคมาอยู่ด้วย เขาจะเป็นรัฐมนตรีฯ ต่างประเทศที่เยี่ยมยอด"[1][2][3]
เมื่อเริ่มดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ต่อจากลีออน พาเนตตาในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน เขาได้เริ่มเดินทางเยือนหลายประเทศในเอเชียซึ่งในอดีตเคยเป็นฐานที่มั่นทางทหารของสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น[4][5] นี่เป็นหนึ่งในความพยายามของสหรัฐที่จะเข้าไปมีบทบาทในเอเชียหลังถอนตัวออกมานานนับทศวรรษ
ในเดือนกรกฎาคม 2013 เฮเกลแถลงข่าวผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเขา จากวิกฤติการณ์ร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณแผ่นใน ค.ศ. 2013 ก่อนหน้านั้น ทำให้เฮเกลเห็นว่าสหรัฐควรประหยัดงบประมาณด้านการทหาร หนึ่งในตัวเลือกที่เขาให้ความสำคัญ คือการลดขนาดของกองเรือบรรทุกเครื่องบินจาก 11 เหลือ 8 กองเรือ[6] เฮเกลยังได้ผลักดันบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองกำลังรักษาดินแดน (National Guard) ให้จัดสรรเงินและสิทธิประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ที่มีสถานภาพเป็นคู่ครองรักร่วมเพศ[7] ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมสหรัฐ
ระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเขา ยังเป็นช่วงเวลาที่สหรัฐนั้นขัดแย้งกับรัสเซียอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ไครเมีย นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ในภูมิภาคอาหรับมีกลุ่มก่อการร้ายอิสลามหัวรุนแรงที่เรียกตนเองว่า รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ ที่มีกำลังพลและอาวุธมาก เข้ายึดเมืองต่าง ๆ ในหลายชาติอาหรับและสังหารผู้คนอย่างโหดเหี้ยม ทำให้กองทัพสหรัฐและชาติพันธมิตรต้องออกปฏิบัติการปราบปราม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Joseph Lelyveld (February 12, 2006). "The Heartland Dissident". New York Times. สืบค้นเมื่อ February 19, 2013.
- ↑ Josh Rogin (December 27, 2012). "Republican senators were for Hagel, before they were against him". foreignpolicy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ February 19, 2013.
- ↑ Josh Avlon (January 31, 2013). "A reality check for Chuck Hagel bashers". CNN. สืบค้นเมื่อ February 19, 2013.
- ↑ Ten, Daniel. "Hagel Set for Vietnam Embrace as Wary Asia Eyes Rising China". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
- ↑ By Ernesto Londoño (2013-05-31). "Hagel visits Asia to reassure allies". M.washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
- ↑ CAVAS, CHRISTOPHER P. (26 January 2014). "Carrier Cut Could Be Back on Table". www.defensenews.com. Gannett Government Media Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-26. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
- ↑ Bentz, Leslie (November 1, 2013). "Hagel directs National Guard to press forward with same-sex benefits". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-19. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.